คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญและกฎหมายแก้ไขใหม่
กฎหมายหมายแก้ไขใหม่
- ขายฝาก แก้ไขใหม่ ปี 2562
- ดอกเบี้ย แก้ไขใหม่ เมษายน ปี 2564
คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (อาญา)
- เรื่อง ลักทรัพย์ มีอายุความ 10 ปี
- เรื่อง แอบติดกล้องถ่ายใต้กระโปรง มีความผิดฐานใหน
- เรื่อง ปลอมตัวเป็นตำรวจ
- เรื่อง ปืน
- เรื่อง ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจร
- เรื่อง หลอกเอาโฉนดแล้วไปโอนให้กับบุคคลอื่น
คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (แพ่ง)
- เรื่อง รถยนต์หายในห้างสรรพสินค้า
- เรื่อง ผู้รับเหมาก่อสร้างง ผิดสัญญาจ้างทำของ
- เรื่อง สัญญาเช่าบ้าน เงินมัดจำต้องคืนหรือไม่
- เรื่อง อุบัติเหตุทางรถยนต์ จอดรถไม่ให้สัญญานเตือนภัย ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
- เรื่อง นิติบุคคลอาคารชุด
- เรื่อง กดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มถือเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว
- เรื่อง มรดก
- เรื่อง ที่ดิน
- เรื่อง ไม่มีกำหนดอายุความฟ้องคดี ในการติดตามเอาทรัพย์ที่ถูกลักไปหรือยักยอกไปคืน
- เรื่อง นิติบุคคลอาคารชุด
-
เรื่อง บังคับคดี
กฎหมายแก้ไขใหม่
1. เรื่อง ขายฝากที่ดินอย่างไร (ผู้ขาย) ไม่เสียเปรียบ
กฎหมายขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเมื่อปี 2562 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างคู่สัญญา เพื่อไม่ให้เอาเปรียบซึ่งกันและกันครับ เหตุที่มีการแก้กฎหมายเพราะมีข้อพิพาทขึ้นสู้ศาลเยอะซึ่งศาลก็จะพิจารณาและพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย แต่เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สส.ก็จะนำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเข้าสู้สภาผู้แทน ผ่านกระบวนการต่างจนมีการแก้ไขเป็น พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัย พศ.2562 สรุปได้ใจความตามนี้
* สัญญาขายฝากต้องมีระยะเวลาไถ่ถอน 1-10 ปี
* ผู้ขายฝากสามารถใช้ประโยชน์หรืออยู่ได้ถึงวันสิ้นสุดการไถ่
* การขยายเวลาไถ่ถอนต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
* หากผู้ซื้อฝากงอแงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ให้ผู้ขายฝากเอาเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ
* ขยายเวลาไถ่ถอนอัตโนมัติ ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ส่งหนังสือแจ้งเป็นไปรษณีย์ตอบรับถึงการไถ่ถอนก่อนวันสิ้นสุดการไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน
* ไถ่ถอนหรือวางเงินแล้วให้ถือว่ากรรมสิทธิ์โอนกลับมาเป็นของผู้ขายฝากทันที ต้องไถ่ถอนภายในกำหนดระยะเวลาเท่านั้น
* ไถ่ถอนเกินเวลาแต่อยู่ภายใน 6 เดือน ให้ผู้ขายฝากรับรองว่าผู้ซื้อฝากมิได้ทำหนังสือแจ้งผู้ขายฝากเรื่องวันครบกำหนดมาจดทะเบียนไถ่ถอนด้วย
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
***************************************
2. เรื่อง ดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยร้อยละ 5 มีผลให้กับผู้กู้เงินทุกคนที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 ของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ได้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (อาญา)
1. เรื่อง ลักกระแสไฟฟ้า มีอายุความ 10 ปี
การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2501)
2. การที่จำเลยแอบติดตั้งกล้องบันทึกภาพไว้ที่ใต้โต๊ะทำงานของโจทก์ร่วม และบันทึกภาพสรีระร่างกายของโจทก์ร่วมตั้งแต่ช่วงลิ้นปี่จนถึงอวัยวะช่วงขามองเห็นกระโปรงที่โจทก์ร่วมสวมใส่ ขาท่อนล่างและขาท่อนบนของโจทก์ร่วม โดยที่กล้องบันทึกภาพมีแสงไฟสำหรับเพิ่มความสว่างเพื่อให้มองเห็นภาพบริเวณใต้กระโปรงของโจทก์ร่วมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกระทำของจำเลยส่อแสดงให้เห็นถึงความใคร่และกามารมณ์ โดยที่โจทก์ร่วมมิได้รู้เห็นหรือยินยอม อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้จำเลยจะมิได้สัมผัสต่อเนื้อตัวร่างกายของโจทก์ร่วมโดยตรง แต่การที่จำเลยใช้กล้องบันทึกภาพใต้กระโปรงโจทก์ร่วมในระยะใกล้ชิด โดยโจทก์ร่วมไม่รู้ตัวย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำโดยประสงค์ต่อผลอันไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 1 (6) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 นอกจากหมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายแล้ว ยังหมายความว่าทำการประทุษร้ายแก่จิตใจด้วย ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ทำให้โจทก์ร่วมต้องรู้สึกสะเทือนใจอับอายขายหน้า จึงถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่จิตใจของโจทก์ร่วมแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอนาจารโจทก์ร่วม ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278
ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุ เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเนินสง่า อันเป็นสถานที่ราชการซึ่งเป็นสาธารณสถาน แม้ประชาชนที่ไปใช้บริการในห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจะต้องได้รับอนุญาต และผ่านการคัดกรองจากพยาบาลหน้าห้องตรวจก่อน แต่ก็เป็นเพียงระเบียบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการใช้บริการของโรงพยาบาลเท่านั้น หาทำให้ห้องตรวจคนไข้ดังกล่าวซึ่งเป็นสาธารณสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมจะเข้าไปได้ ต้องกลับกลายเป็นที่รโหฐานแต่อย่างใดไม่ ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจึงยังคงเป็นสาธารณสถาน ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตาม ป.อ. มาตรา 397
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาล 089 227 1177 เวปไซต์ www.ทนายใกล้ศาล.com
***************************************************
3. เรื่อง ปลอมหรือหลอกว่าเป็นตำรวจ
“คนมีสี ดูยังไงก็เท่ห์” ความคิดแบบนี้ได้ครอบงำบางท่านจนนำไปสู่การแอบอ้างแสดงตนว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527 เคยตัดสินว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดังที่เจ้าพนักงานตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่งกางเกงสีกากี สวมเสื้อคอกลมขาว คาดเข็มขัดหนัง ยืนให้สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมาให้หยุดรถ เพื่อตรวจตรงจุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ อันทำให้บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ในการเรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า ได้รับเงินจากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยแสดงตน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445
****************************************
4. เรื่อง ปืน
ฎีกาเรื่อง ปืนผู้เสียหายเป็นหลานสะใภ้ของจำเลย ตอนเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ผู้เสียหายยืนจับรถจักรยานเพื่อจะขี่ไปธุระ ได้เกิดทะเลาะโต้เถียงกับจำเลย แล้วปืนลูกซองยาวที่จำเลยถือลงมาจากบ้านได้ลั่นขึ้น 1 นัด กระสุนปืนถูกโคนต้นมะม่วงขวามือด้านหลังผู้เสียหาย ได้ความว่า ขณะนั้นจำเลยกับผู้เสียหายอยู่ห่างกันประมาณ 5 วา แม้ผู้เสียหายจะอ้างว่าจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็รับว่าขณะยิง จำเลยถือปืนด้วยมือทั้งสองข้างในลักษณะอยู่ข้างตัวระดับเอว มิได้ประทับเล็งยิงผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ด้วยปืนลูกซองยาว เช่นนี้หากจำเลยตั้งใจจะยิงก็ไม่น่าจะผิดพลาดปรากฏด้วยว่าจำเลยชอบใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้อื่นเสมอ พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่แน่ใจว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายดังโจทก์ฟ้อง สมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
*********************************************
5. เรื่อง ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจร
เรื่อง ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจรกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140, 141, 161 ทวิ กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรใช้ดุลพินิจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว และให้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน หรือใบรับการส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงิน ประกอบกับใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นเวลาสิบวันนับแต่วันที่ส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 รีบไปชำระค่าปรับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรโดยเร็ว เพื่อจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนจากพนักงานสอบสวนทันที อันจะทำให้สามารถขับขี่รถต่อไปได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานจราจรผู้ออกใบสั่งมิได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ผู้บังคับการตำรวจจราจร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ที่ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ครั้งละไม่เกินหกสิบวัน และผู้ขับขี่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 161 จึงไม่มีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ตามบทบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจแปลความคำว่า "เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว" ตามมาตรา 140 วรรคสาม ว่า เป็นการยึดใบอนุญาตขับขี่ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถขับขี่รถในระหว่างที่เจ้าพนักงานจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว และพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานจราจรออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่แล้ว จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 152
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
*************************************
6. หลอกเอาโฉนดแล้วไปโอนให้กับบุคคลอื่น
ฉ้อโกงหลอกให้ส่งมอบโฉนดแล้วเอาไปโอนให้กับบุคคลอื่นลำดับที่ 211 ฎีกาที่ 2062/2558ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้หลอกลวง ถ้าหากผู้หลอกลวงโดยทุจริตหลอกลวงผู้ถูกหลอกลวงและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 30277 และ 30301 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยอ้างว่าจะนำโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงไปดำเนินการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกและโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกลับนำที่ดินทั้งสองแปลงไปโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ค. ซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติทางการสมรสกับจำเลย ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ได้มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ
คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (แพ่ง)
1. เรื่องรถยนต์หายในห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าต้องรับผิดชอบ
จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ ของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น แม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com
**************************************************
2. เรื่องผู้รับเหมา ผิดสัญญาจ้างทำของ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ โทร. 02 114 7521 เวปไซต์ www.ทนายกรุงเทพ.com
***************************************************
3. เรื่องสัญญาเช่าบ้าน เงินมัดจำต้องคืนหรือไม่
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงินประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 379, 381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้
สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน
เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกัน แต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้าเมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหายที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดกรณีเดียว
ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัท ป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่าในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222 ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่านั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ด้วยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก
แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 377 เพราะมิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้ จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้ว หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย โจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหักออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาล 089 227 1177 เวปไซต์ www.ทนายใกล้ศาล.com
***************************************************
4. เรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ จอดรถไม่ให้สัญญานเตือนภัย ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตามแต่ผู้ขับรถที่จะถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
มีคดีที่มีอัตราโทษสูง ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์ www.สู้คดี.com
***************************************************
5. เรื่องคดีนิติบุคคลอาคารชุด
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ขอฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นข้อกฎหมายที่โจทก์จะยกอายุความสิทธิเรียกร้องมาบังคับให้จำเลยที่ 1 รับชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะส่วนที่ไม่ขาดอายุความ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แม้นิติบุคคลอาคารชุดจะมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชำระหนี้อันเกิดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 แต่เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอายุความ 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิขอชำระเพียงหนี้ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ถือเป็นการกล่าวชัดแจ้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าใช้จ่ายส่วนกลางซึ่งเจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด แม้ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 บัญญัติขึ้นภายหลัง ป.พ.พ. และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมของเจ้าของร่วมก็ตาม แต่เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องสำหรับเงินดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เมื่อตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นรายเดือน แต่ไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ได้บัญญัติไว้แล้ว ค่าปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงมีอายุความ 5 ปี เช่นเดียวกับหนี้ประธาน มิใช่เป็นกรณีที่ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้อันจะต้องนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแต่อย่างใด
ในการใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นบทบังคับเจ้าหนี้ที่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะไม่เช่นนั้นลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10 และที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/29 บัญญัติว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ มิได้มีความหมายเพียงว่าเจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียก่อน ลูกหนี้จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้เท่านั้น หากแต่การที่ลูกหนี้ฟ้องคดีเพื่อขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยจะขอชำระหนี้ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าหนี้เท่าที่มีอยู่ภายใต้กำหนดระยะเวลาแห่งอายุความ ย่อมเท่ากับเป็นการปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้โดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว เพราะมีผลทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ส่วนที่ล่วงพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับการต่อสู้คดีในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง ศาลจึงยกอายุความขึ้นมาวินิจฉัยได้โดยชอบ
โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อทรัพย์มิใช่ลูกหนี้ผู้ซึ่งค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่การที่โจทก์มีภาระหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้สินค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18, 29 และ 41 ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการขายทอดตลาดตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีและตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 นั่นเอง ชอบที่โจทก์จะยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 เมื่อหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินค้างจ่าย มีอายุความ 5 ปี และโจทก์ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว โจทก์จึงคงรับผิดรับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี สำหรับค่าปรับและเงินเพิ่มซึ่งโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาในลักษณะอย่างไร แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 ได้ ไม่เป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดค่าปรับไว้อัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ ก็ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคหนึ่ง ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
มีคดีที่มีอัตราโทษสูง
ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์ www.สู้คดี.com
**************************************************
6. เรื่อง กดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มถือเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว
การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดงจึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com
**************************************************
7. เรื่อง มรดก
คดีมรดกเรื่อง อะไรคือทรัพย อะไรคือมรดกทรัพย์สิน เงิน ทอง เป็นของนอกกายก็จริง ในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เราเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น เราก็มีสิทธิที่จะใช้ หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้กับใครๆก็ได้ แต่ถ้าก่อนตาย ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมครับ แต่ถ้าไม่ทำพินัยกรรม เมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์ถึงจะตกเป็นของทายาท ศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน สัญญา ข้อตกลงกันไว้ดังนี้ครับ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่งการที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445
ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
***************************
8. เรื่อง คดีที่ดิน
คดีที่ดินเรื่อง ที่ดินงอก ครอบครองปรปักษ์เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนนเมื่อ 4 ถึง 5 ปี มานี้ ดังนั้นก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกที่เชื่อมติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่งอกพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
ปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com
**************************************************
9. เรื่อง ไม่มีกำหนดอายุความฟ้องคดี ในการติดตามเอาทรัพย์ที่ถูกลักไปหรือยักยอกไปคืน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าเช่าซื้อรถจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยที่ 1 รับเงินตาม หน้าที่แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นทั้งละเมิดและปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตาม สัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิดหรือติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์ที่จำเลยเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงิน จึงเป็นการใช้ สิทธิติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่ง ไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้ สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูก จำกัดด้วย อายุความได้ สิทธิ ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ แม้จะเกิน 1 ปี จำเลยที่ 2ค้ำประกันจำเลยที่ 1 มูลหนี้ของจำเลยที่ 2 ก็เกิดจากสัญญา หาได้เกิดจากมูลละเมิดอันจะมีอายุความ 1 ปีไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
มีคดีที่มีอัตราโทษสูง ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์ www.สู้คดี.com
**************************************************
10. เรื่อง นิติบุคคลอาคารชุด
หมู่บ้านจัดสรรของจำเลยได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย แสดงว่ามีการจัดทำแผนผังโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินหรือประโยชน์เกี่ยวกับสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง มีหลักเกณฑ์และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว สิ่งก่อสร้าง ถนน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลใดจะทำให้เสื่อมค่าทำให้ขาดประโยชน์ หรือผิดแผกไปจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้
ปรึกษาทนายกรุงเทพ โทร. 02 114 7521 เวปไซต์ www.ทนายกรุงเทพ.com
***************************************
11. เรื่อง บังคับคดี
ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเป็นประกันเงินกู้ไว้แก่โจทก์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินกันเป็นส่วนสัด กรณีต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสอง จำเลย และผู้ถือกรรมสิทธ์รวมคนอื่นได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาททุกส่วนทั้งแปลง แม้ภายหลังผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจะได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทกันเป็นส่วนสัดแล้วตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงภายในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเอง โดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การจำนองที่ดินพิพาทจึงยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิยึดที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิขอกันที่ดินเฉพาะส่วนของตนออกจากที่ดินพิพาทก่อนขายทอดตลาด
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 099 464 4445
เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ
**********************************
นัดโทษต่อ I เจ้าหน้าที่ทุจริต I การแบ่งทรัพย์มรดก I สิทธิผู้รับจำนอง I การโอนหุ้นและสิทธิ์ I อันตรายสาหัส I สิทธิในการยื่นฟ้อง I
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา เกี่ยวกับ การนับโทษต่อในคดีอาญา กรณีที่จำเลยถูกฟ้องในหลายคดีแต่เป็นการกระทำผิดเดียวกัน และการแสดงเจตนาของโจทก์ในภายหลังผ่านคำร้องขอให้นับโทษต่อ
2. หัวข้อเรื่อง
การนับโทษต่อในคดีอาญาเมื่อไม่ได้ระบุไว้ในคำฟ้อง
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
แยกข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยในสองสำนวน โดยไม่ได้ขอให้นับโทษต่อกันไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้นับโทษต่อ โดยอ้างว่า จำเลยในสองคดีเป็นบุคคลเดียวกัน และกระทำความผิดเดียวกัน
จำเลยไม่ได้คัดค้านคำร้องนั้น และไม่ได้แถลงรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งใด ๆ ต่อคำร้องนั้นก่อนมีคำพิพากษา
แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้การขอให้นับโทษต่อจำต้องระบุไว้ในคำฟ้อง
โจทก์สามารถแสดงเจตนาโดยการยื่นคำร้องในภายหลังได้
แม้จำเลยไม่แถลงรับ แต่ข้อเท็จจริงในสองคดีเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ฟ้องโดยโจทก์เดียวกัน ศาลเดียวกัน และเวลาใกล้เคียงกัน
การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งยกคำร้องของโจทก์ ย่อมถือว่าอนุญาตโดยปริยายให้มีการนับโทษต่อได้
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาอย่างชัดเจนในคำร้อง และข้อเท็จจริงยืนยันได้ว่าจำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งปฏิเสธคำร้อง ย่อมถือว่า "อนุญาตโดยปริยาย" ให้มีการนับโทษต่อในภายหลังได้ แม้จะมิได้ขอไว้ในคำฟ้องดั้งเดิมก็ตาม
📌 บทสรุป
การนับโทษต่อในคดีอาญาไม่จำเป็นต้องระบุในคำฟ้องตั้งแต่ต้น โจทก์สามารถยื่นคำร้องเพิ่มเติมภายหลังได้ หากข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน และการกระทำผิดเป็นเรื่องเดียวกัน การไม่คัดค้านของจำเลยและการไม่ปฏิเสธของศาลย่อมถือเป็นการอนุญาตโดยปริยายให้มีการนับโทษต่อ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
****************************************
เจ้าหน้าที่ทุจริต
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818934097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา – ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 147 และมาตรา 151
2. หัวข้อเรื่อง
การแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์โดยมิได้เอาทรัพย์ไป ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 151
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ข้อเท็จจริง
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล และมีอำนาจในการติดตั้ง ตรวจสอบ และเก็บค่าธรรมเนียมใช้น้ำประปา
ต่อมา จำเลยได้ดำเนินการติดตั้งการใช้น้ำให้แก่บุคคลภายนอก (คือ ส. กับพวก) โดยไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำตามระเบียบของเทศบาล
รวมถึงมีการออกเอกสารแจ้งจำนวนก๊อกน้ำน้อยกว่าความเป็นจริงเพื่อเก็บเงินจาก ส. กับพวก มากกว่าที่ควรต้องจ่ายตามระเบียบ
โดยจำเลยมิได้นำเงินที่เก็บได้ดังกล่าวส่งเข้าเทศบาล แต่เบียดบังไว้เป็นของตนรวมเป็นเงิน 3,955 บาท
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ซึ่งตนมีหน้าที่จัดการหรือรักษาไว้เป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ต้องระวางโทษ...”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้...” โดยเน้นว่า ไม่ต้องเอาทรัพย์ไปเอง แต่ใช้ตำแหน่งหาประโยชน์
ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะที่เจาะจงว่าจำเลย “เบียดบังยักยอกเอาเงิน” ซึ่งเป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 147 โดยตรง เพราะจำเลยรับเงินมาแล้วไม่ส่งคืนเทศบาล แต่เก็บไว้เป็นของตนเอง
ส่วนมาตรา 151 นั้น ศาลเห็นว่า การกระทำที่เข้าข่ายต้องเป็น “การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์” จากทรัพย์ โดย “มิได้เอาทรัพย์ไป”
แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลย “เบียดบังเอาทรัพย์ไปเป็นของตน” แล้ว จึงไม่เข้าข่ายมาตรา 151
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
เพราะมาตรา 151 มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจในตำแหน่งเพื่อหาผลประโยชน์จากทรัพย์ โดยที่ตนไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์นั้นโดยตรงหรือไม่ได้นำทรัพย์ไปเอง
แต่จำเลยในคดีนี้ กลับเป็นผู้รับเงินจากผู้ใช้น้ำ แล้วไม่ส่งคืนให้เทศบาลโดยทุจริต เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบของมาตรา 147 เท่านั้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
****************************************
การแบ่งทรัพย์มรดก
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งทรัพย์มรดก
อาศัยหลักตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ 172
2. หัวข้อเรื่อง
การแบ่งทรัพย์มรดกและกรรมสิทธิ์รวมโดยวิธีตามกฎหมาย มาตรา 1364
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ✅ ข้อเท็จจริง
โจทก์และจำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกของ อ. โดยต่างฝ่ายต่างครอบครองทรัพย์บางส่วนมาแล้ว
โจทก์ขอฟ้องศาลให้บังคับแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินมรดก
โจทก์และจำเลยมีการตกลงแบ่งครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทและใช้ประโยชน์แยกกันมาเป็นเวลานาน เช่น ทำสัญญาเช่าเก็บค่าเช่าเอง
จำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามข้อตกลง แต่กล่าวหาโจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนด
✅ ข้อกฎหมาย
มาตรา 1364 ป.พ.พ. กำหนดวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้ทำได้โดยการแบ่งทรัพย์กันเอง หรือถ้าแบ่งไม่ได้ให้ขายทอดตลาด
มาตรา 172 วรรคสอง ป.วิ.พ. ระบุถึงหลักการบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
มาตรา 142 ป.วิ.พ. ว่าด้วยการไม่ขัดกันของคำขอในคำฟ้องกับคำพิพากษา
✅ ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และได้บรรยายสิทธิของตนชัดเจนตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่แบ่งทรัพย์ตามข้อตกลง ย่อมทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์บางรายการ เช่น ตึกแถว ได้มีการแบ่งครอบครองและใช้ประโยชน์แยกกันมาเป็นเวลานาน ถือเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์ในทางพฤตินัยแล้ว
ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมรวมถึงทางเท้าด้านหน้าและหลังตึกแถว ถือว่า สอดคล้องกับสภาพแห่งทรัพย์สิน และไม่ขัดต่อกฎหมาย
การให้แบ่งกันเองก่อน หากไม่ได้ให้ขายทอดตลาด สอดคล้องกับมาตรา 1364 โดยตรง
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
สิทธิผู้รับจำนอง
หัวข้อ: สิทธิของผู้รับจำนองในการขอกันเงินจากการขายทอดตลาด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 378/2559
แยกข้อเท็จจริง
ผู้ร้องในคดีนี้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจำนองห้องชุดพิพาท ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ โจทก์ในคดีหลักได้ยึดทรัพย์ (ห้องชุด) ของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยื่นคำร้องขอให้ศาลกันเงินส่วนหนึ่งจากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น โดยอ้างสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง
แยกข้อกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 287: กำหนดให้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นในทรัพย์ที่ถูกยึด สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 288 และ 289: บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์หรือบังคับชำระหนี้ตามสิทธิของตนก่อนเจ้าหนี้รายอื่น (เช่น ผู้รับจำนองเมื่อหนี้ถึงกำหนด)
ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ผู้ร้องใช้สิทธิตาม มาตรา 287 ไม่ใช่ มาตรา 289 เพราะหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนด จึงยังไม่สามารถฟ้องบังคับจำนองได้
อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีของโจทก์ที่นำห้องชุดออกขายทอดตลาดจะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนอง (บุริมสิทธิ)
ผู้ร้องมีสิทธิเสนอให้ศาล "กันเงิน" จากการขายทอดตลาดไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิตามสัญญาจำนอง
คำร้องขอกันเงินนี้ เป็นคำร้องขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ศาลจึงกำหนดให้เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตาม ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (2)(ก)
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
คำพิพากษานี้เป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้เจ้าหนี้จำนองเข้าใจว่า
แม้ยังไม่สามารถฟ้องบังคับจำนองได้เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ก็สามารถใช้สิทธิตาม มาตรา 287 ขอให้ศาล “กันเงิน” ไว้จากการขายทอดตลาดโดยโจทก์รายอื่น เพื่อไม่ให้ตนเสียประโยชน์จากสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง
ศาลย้ำหลักว่า สิทธิของผู้รับจำนองเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง แม้ยังไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีตามมาตรา 289 ได้ก็ตาม แต่การกันเงินไว้จะทำให้เจ้าหนี้จำนองสามารถได้รับการชำระหนี้ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมตามลำดับบุริมสิทธิ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
📌 เว็บไซต์: www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
******************************************
การโอนหุ้นและสิทธิ์
หัวข้อ: สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและการโอนหุ้นระบุชื่อที่ยังไม่จดทะเบียน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1253/2537
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
🔍 ข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองได้โอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำเลยให้แก่กัน แต่ยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ต่อมาบริษัทจำเลยได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ซึ่งมีมติที่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติดังกล่าว โดยอ้างสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น
⚖ ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม
ว่าด้วยการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ จะมีผลต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเมื่อได้จดแจ้งชื่อผู้รับโอนและที่อยู่ลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
มาตรา 1176
กำหนดให้เฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงมติในที่ประชุมใหญ่
มาตรา 1171
กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง และอนุญาตให้มีการจัดประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องเร่งด่วน
🧠 ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้จดแจ้งการโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท จำเลย จึงยังไม่ถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบ
ไม่มีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมหรือใช้อำนาจออกเสียง รวมถึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุม
มติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่มีการ “ปิดสมุดพักการโอนหุ้น” เพื่อความชัดเจนในการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและสิทธิออกเสียงในการประชุมวิสามัญ จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
📌 สรุป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อจะมีผลทางกฎหมายต่อบริษัทต่อเมื่อมีการจดแจ้งลงทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้วเท่านั้น หากยังไม่จดทะเบียน ผู้โอนหรือผู้รับโอนไม่มีสิทธิเข้าประชุม ออกเสียง หรือฟ้องขัดมติของที่ประชุมกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
****************************************
อันตรายสาหัส
หัวข้อ: ข้อพิจารณาเรื่องอันตรายสาหัสและเจตนาในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ - ศาลฎีกาที่ 575/2548
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ โดยระบุว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสและปล้นทรัพย์ แต่จากการพิจารณาหลักฐานพบว่า:
ผู้เสียหายมีบาดแผลที่แพทย์เห็นว่าต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน
ผู้เสียหายเบิกความว่าอาการหายภายใน 21 วัน
ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้เสียหายป่วยทุกขเวทนาเกิน 20 วัน หรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้เกิน 20 วัน
ไม่มีพฤติการณ์ชัดเจนว่าโจทก์มีเจตนาปล้นทรัพย์
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
เรื่องอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8):
ศาลฎีกาเห็นว่าการที่กระดูกโหนกแก้มขวาหัก และมีบาดแผลที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วันนั้น ยังไม่อาจถือว่าเป็น “อันตรายสาหัส” ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้แสดงว่าผู้เสียหายป่วยทุกขเวทนาเกิน 20 วัน หรือไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เกิน 20 วัน
อำนาจของศาลในการพิจารณาแม้ไม่มีการยกอุทธรณ์:
แม้ประเด็นดังกล่าวจะไม่ได้ถูกยกขึ้นอุทธรณ์โดยจำเลย แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
เรื่องเจตนาในการปล้นทรัพย์:
พยานหลักฐานมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ไม่ใช่ปล้นทรัพย์
การเปลี่ยนบทลงโทษ:
ศาลฎีกาจึงเปลี่ยนบทลงโทษจำเลยเป็นฐาน “ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย” ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 83 โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
การเพิ่มโทษ:
แม้โจทก์ฟ้องขอเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ข้อเท็จจริงไม่เข้าหลักฐานในความผิดซ้ำฐานเดิม (ปล้นทรัพย์) และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอเพิ่มโทษตาม มาตรา 92 ไว้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเข้าข่ายเพิ่มโทษตาม มาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้
วิเคราะห์โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
คำพิพากษาฎีกานี้ชี้ให้เห็นถึงหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับ “อันตรายสาหัส” ว่าต้องมีหลักฐานแสดงชัดเจนถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้เสียหาย มิใช่เพียงการฟังแพทย์ว่าต้องรักษานานเกิน 21 วัน อีกทั้งแสดงถึงหลัก “ยกประโยชน์แห่งความสงสัย” ว่าศาลต้องวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลยหากหลักฐานไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเจตนากระทำผิด โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ซึ่งเจตนาเป็นหัวใจของการวินิจฉัยผิดฐานปล้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
สิทธิการยื่นฟ้อง
หัวข้อ: สิทธิในการยื่นฟ้องของผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2974/2545
แยกข้อเท็จจริง
ที่ดินพิพาทมีโฉนดเป็นชื่อของจำเลย
โจทก์อ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลโดยอ้างสิทธิครอบครอง
โจทก์อ้างบทบัญญัติมาตรา 1369 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนสิทธิของตน
ไม่มีพฤติการณ์ที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท
แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กำหนดให้ผู้ที่จะยื่นฟ้องต่อศาลได้ ต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิ หรือหน้าที่ตามกฎหมายที่ถูกโต้แย้ง หรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1369
เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าผู้ครอบครองทรัพย์ถือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเท่านั้น มิได้เป็นหลักฐานเด็ดขาดว่าผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือเจ้าของกรรมสิทธิ์
ดุลพินิจของศาลฎีกา
ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแล้ว และไม่มีพฤติการณ์ใดที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การที่โจทก์อ้างสิทธิครอบครองเพียงลำพังโดยไม่มีมูลสิทธิอื่นรองรับ ไม่อยู่ในข่ายที่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลตามมาตรา 55 ได้ เพราะไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างคู่ความ
ให้เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี
ศาลเห็นว่า โจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นฟ้องในกรณีนี้ เนื่องจาก
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนด
โจทก์ไม่มีสิทธิใดในที่ดินนอกจากการครอบครอง ซึ่งไม่มีกฎหมายให้การรับรองว่าเหนือกว่ากรรมสิทธิ์
ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าเกิดข้อพิพาทหรือโต้แย้งสิทธิระหว่างคู่ความ
การอ้างมาตรา 1369 เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่หลักฐานที่แสดงสิทธิทางศาล
จึงวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
📌 www.สู้คดี.com
📌 www.ทนายภูวงษ์.com
*****************************************
นิติกรรมอำพราง I ความรับผิดของโรงพยาบาล I ลักทรัพย์หรือยักยอก I อำนาจฟ้องคดีอาญา I เปลี่ยนป้ายราคาเป็นฉ้อโกง I ฯลฯ
- นิติกรรมอำพราง
- ความรับผิดของโรงพยาบาล
- ลักทรัพย์หรือยักยอก
- อำนาจฟ้องคดีอาญา
- เปลี่ยนป้ายราคาเป็นฉ้อโกง
- การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ
- นิติกรรมเช่าซื้อทองคำหรือนิติกรรมอำพราง
- ประมาททางแยก
- เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล
- เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย
- คำสั่งคณะรัฐประหารเป็นกฎหมายหรือไม่
หัวข้อ: สัญญาเช่าซื้อที่แท้คือการกู้ยืมเงิน และความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 14839/2556
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
✅ ข้อเท็จจริง
บริษัท จ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำกับบุคคล 2 คน ได้แก่
บ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำราคา 16,500 บาท และขายทองในวันเดียวกัน ได้เงิน 11,437 บาท
ส. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำราคา 16,603 บาท และขายในวันเดียวกัน ได้เงิน 10,000 บาท
ทั้งสองต้องผ่อนชำระเงินคืนบริษัทวันละ 95 บาท เป็นเวลา 174 และ 175 วันตามลำดับ
✅ ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 การกู้ยืมเงินต้องมีเจตนาให้ใช้เงิน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเพื่อครอบครอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 654 และ 656 ว่าด้วยการกู้ยืมเงินและการคิดดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 กำหนดดอกเบี้ยไม่เกิน ร้อยละ 15 ต่อปี
✅ ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
การที่ บ. และ ส. ขายทองคำในวันเดียวกันทันที แสดงเจตนาไม่ได้ต้องการเช่าซื้อทองคำจริง
แต่ต้องการเงินสดจากบริษัท จ. เท่านั้น
การทำสัญญาเช่าซื้อจึงเป็น นิติกรรมอำพราง
แท้จริงคือ การกู้ยืมเงิน
เมื่อคำนวณจากจำนวนเงินที่ได้จริงเทียบกับจำนวนที่ต้องชำระคืน คิดเป็นดอกเบี้ยมากกว่า ร้อยละ 80 ต่อปี ซึ่ง เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
✅ ผลของคดี
บริษัท จ. (จำเลย) มีความผิดฐาน ให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา
ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
แม้ทำสัญญาในรูปแบบ “เช่าซื้อทองคำ” ก็ไม่อาจปัดความรับผิดได้
🔚 สรุป
การทำสัญญาเช่าซื้อที่มีลักษณะให้ทรัพย์แล้วรับเงินกลับมาในทันทีโดยผู้รับต้องผ่อนจ่ายคืนตามจำนวนเงินสูงกว่ามูลค่าทรัพย์มาก ถือเป็น นิติกรรมอำพราง เจตนาแท้จริงคือการ ให้กู้ยืมเงิน และหากเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ย่อมมีความผิดตามกฎหมายอาญา
📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
ความรับผิดของโรงพยาบาล
หัวข้อ: ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล กรณีลูกจ้างปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
ข้อเท็จจริง
จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนแผงเหล็กกั้นทาง และอยู่ในสภาพมีอาการบาดเจ็บที่ไม่ปรากฏภายนอกแต่มีภาวะบอบช้ำของสมองและมีเลือดออกในสมอง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
พยาบาลเวร (ลูกจ้างของจำเลย) กลับให้ผู้ช่วยพยาบาลค้นหาบัตรประกันสุขภาพต่าง ๆ ก่อน และเมื่อไม่พบหลักฐานว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จึงปฏิเสธการรับรักษา และแนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ ส่งผลให้บุตรของโจทก์เสียชีวิตในเวลาต่อมา
ข้อกฎหมาย
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 บัญญัติให้สถานพยาบาลต้องมีหน้าที่ในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างทันท่วงที เพื่อให้พ้นจากอันตราย ตามมาตรฐานวิชาชีพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 กำหนดความรับผิดของนายจ้างจากการที่ลูกจ้างกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลเห็นว่า
การที่พยาบาลเวรของจำเลยปฏิเสธการรับรักษาบุตรของโจทก์ในขณะอยู่ในสภาพอันตราย โดยอ้างเรื่องหลักฐานการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทั้งที่ตามหน้าที่วิชาชีพทางการแพทย์ต้องให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นอันดับแรก เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อหน้าที่โดยตรง
พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย
จำเลยในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง ซึ่งจำเลยกลับละเลยไม่ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อันทำให้ต้องรับผิดตามกฎหมาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
คดีนี้ตอกย้ำหน้าที่สำคัญของสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในการให้การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยกเหตุเรื่องค่าใช้จ่ายมาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธการรักษา เพราะการชะลอการรักษาอาจส่งผลถึงชีวิตและเป็นความรับผิดทางแพ่งของผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
******************************************
ลักทรัพย์หรือยักยอก
หัวข้อ: พนักงานธนาคารทุจริตถอนเงินลูกค้าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1104/2545
ข้อเท็จจริง:
จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ดำรงตำแหน่งพนักงานธนากร มีหน้าที่รับฝากและถอนเงินของลูกค้าธนาคาร โดยในคดีนี้จำเลยใช้วิธีการปลอมเอกสารใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าในแต่ละครั้ง แล้วทุจริตนำเงินออกไปจากธนาคาร จนสำเร็จในหลายวาระ
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ประเด็นสำคัญในคดีนี้คือการวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็น "ความผิดฐานลักทรัพย์" หรือ "ยักยอกทรัพย์"
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินที่ลูกค้านำฝากกับธนาคาร แม้จะฝากเข้าบัญชีของลูกค้า แต่ยังคงเป็นเงินของธนาคารในฐานะผู้ครอบครอง จำเลยในฐานะพนักงานของธนาคารเพียงมีหน้าที่ปฏิบัติงาน แต่ ไม่มีสิทธิครอบครองเงินนั้นเป็นส่วนตัว
ดังนั้น การที่จำเลย ใช้กลวิธีทุจริตถอนเงินออกไปจากธนาคาร ถือเป็น การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ซึ่งเข้าองค์ประกอบของ ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
การวินิจฉัยฎีกา:
จำเลยยื่นฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ ซึ่งเป็น ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับฎีกาในข้อนี้
แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายข้ออื่นแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาด้วยว่า โทษที่ศาลอุทธรณ์ลงไว้นั้นเหมาะสมหรือไม่ และจะรอการลงโทษให้หรือไม่
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-893-4097
กรณีนี้ชี้ให้เห็นถึงการแบ่งแยก "ลักทรัพย์" กับ "ยักยอกทรัพย์" อย่างชัดเจน กล่าวคือ หากทรัพย์ยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของหรือบุคคลที่ควบคุมตามกฎหมาย การนำออกไปโดยทุจริตคือ “ลักทรัพย์” แต่หากอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำแล้วนำไปโดยมิชอบ จึงเป็น “ยักยอก”
ในกรณีของพนักงานธนาคาร แม้จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเบิกถอนเงิน แต่ตัวเงินนั้นยังอยู่ในความครอบครองของธนาคาร ไม่ใช่ของจำเลย จึงถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่สามารถอ้างเรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่หรือการรับมอบเพื่อใช้เป็นช่องทางการยักยอกได้
📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com
******************************************
อำนาจฟ้องคดีอาญา
หัวข้อ: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจ ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 11858/2557
วิเคราะห์โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
✅ ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่บุคคลภายนอก โดยอ้างว่าเหตุเกิดที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ต่อมาในชั้นพิจารณากลับได้ความจากคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่า การจำนำรถยนต์เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม
อย่างไรก็ตาม คดีนี้กลับมีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ซึ่งไม่ได้มีเขตอำนาจสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนด
✅ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล 1. อำนาจในการฟ้องคดีอาญา
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 ระบุว่า พนักงานอัยการ และ ผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้
แต่หากเป็น พนักงานอัยการ ฟ้องคดี ต้องมีการสอบสวนมาก่อนอย่างถูกต้องตาม มาตรา 120
2. เขตอำนาจการสอบสวน
การสอบสวนคดีอาญาต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจตาม มาตรา 18 และ มาตรา 19
การสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีเขตอำนาจ ไม่ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนั้น
3. ความผิดฐานยักยอก
เป็น ความผิดกรรมเดียว สำเร็จเมื่อมีการเบียดบังทรัพย์ไปโดยทุจริต ไม่ใช่ความผิดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายพื้นที่ จึงไม่เข้าเงื่อนไขให้พนักงานสอบสวนต่างพื้นที่รับผิดชอบสอบสวนได้
✅ เหตุผลของศาล
ศาลวินิจฉัยว่า การที่พนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยทำการสอบสวน ทั้งที่เหตุเกิดในพื้นที่ของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม และไม่มีกรณีจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกตามที่ มาตรา 18 วรรคสาม กำหนด จึงถือเป็นการสอบสวนที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่มีการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ตาม มาตรา 120 ส่งผลให้ ผู้เสียหายก็ไม่อาจขอเป็นโจทก์ร่วมได้ ด้วยเช่นกัน
📌 สรุป
การฟ้องคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ ต้องมีการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น หากพนักงานสอบสวนที่ไม่มีเขตอำนาจเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ถือว่าคดีไม่มีการสอบสวน ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง และผู้เสียหายไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
เปลี่ยนป้ายราคาสินค้าถือเป็นการฉ้อโกง
หัวข้อ: การเปลี่ยนป้ายราคาเพื่อชำระเงินต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542
ข้อเท็จจริง:
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้กระทำการเปลี่ยนป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะจากราคาจริง 1,785 บาท ไปเป็น 134 บาท แล้วให้พวกของจำเลยนำไปชำระเงินในราคาที่ถูกกว่าความจริง พนักงานเก็บเงินหลงเชื่อและรับเงินเพียง 134 บาท ก่อนมอบโคมไฟให้จำเลยไปโดยความยินยอม
ข้อกฎหมาย:
การลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 กำหนดว่า ผู้กระทำต้อง "เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต" หมายความว่า การกระทำต้องเป็นการนำทรัพย์ไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
ในขณะที่การฉ้อโกงตามมาตรา 341 เป็นการ "แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริง" เพื่อให้บุคคลหลงเชื่อและยินยอมมอบทรัพย์ให้ ซึ่งแม้เจ้าของจะยินยอมให้โดยความเข้าใจผิด ก็ยังถือเป็นความผิด
ดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายลักทรัพย์ เพราะไม่ได้เอาทรัพย์โดยพลการหรือโดยไม่ยินยอม แต่เป็นการใช้กลอุบายหลอกลวงเจ้าหน้าที่เก็บเงินของผู้เสียหายให้หลงเชื่อว่าราคาโคมไฟมีเพียง 134 บาท ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้เจ้าหน้าที่มอบของกลางให้โดยสมัครใจแต่โดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเรื่องราคา
จึงถือว่าเป็น การฉ้อโกง ไม่ใช่ การลักทรัพย์ เพราะการได้มาซึ่งทรัพย์นั้นเกิดจากการยินยอมของผู้เสียหายโดยการหลอกลวงให้เข้าใจผิด
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818934097
คำพิพากษานี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์กับฉ้อโกง กล่าวคือ หากการได้มาซึ่งทรัพย์นั้นเกิดจาก "การหลอกลวงให้เจ้าของยินยอม" แม้จะดูคล้ายกับการแอบเอาทรัพย์ไป แต่ก็ไม่ใช่การลักทรัพย์ เพราะเจ้าของหรือผู้ครอบครองยินยอมโดยหลงเชื่อจากข้อความเท็จ ความผิดย่อมเป็นฉ้อโกงตามมาตรา 341
คดีนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีที่มีการใช้กลอุบาย เช่น การเปลี่ยนป้ายราคา ตบตาเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจผิดในมูลค่าทรัพย์สิน หรือพฤติการณ์อื่นที่ได้ทรัพย์โดยที่ผู้ให้เข้าใจผิด
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ
หัวข้อ: การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ
วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10821/2556
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
🧾 ข้อเท็จจริง
บริษัท ส. ได้มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทตามกฎหมาย โดยตั้งจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 และ มาตรา 1252 ขณะเดียวกัน จำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริษัท ได้กระทำการในนามของบริษัทโดยไม่มีอำนาจ เช่น ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่างานก่อสร้างให้แก่โจทก์โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชำระบัญชี (จำเลยที่ 1)
⚖️ ข้อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1254
การเลิกบริษัทจำกัดมีผลเมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว และต้องยื่นขอจดทะเบียนการเลิกภายใน 14 วัน
ป.พ.พ. มาตรา 1252
หลังจากบริษัทเลิกกิจการแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการแทนบริษัทคือ “ผู้ชำระบัญชี” ไม่ใช่กรรมการอีกต่อไป เว้นแต่กรรมการได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชีด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 1250
หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือการสะสางงาน ตัดหนี้ และจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท มิได้รวมถึงการรับผิดส่วนตัวต่อหนี้บริษัท
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกเป็นประเด็นฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
🧠 ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อบริษัท ส. ได้จดทะเบียนเลิกกิจการแล้ว และจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบ กรรมการบริษัทเดิม (จำเลยที่ 2) ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทอีก
การที่จำเลยที่ 2 โอนสิทธิเรียกร้องในนามบริษัทให้โจทก์โดยลำพัง จึง ไม่มีผลผูกพันบริษัท และไม่ถือว่าบริษัทได้โอนสิทธิเรียกร้องนั้น
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมจากจำเลยที่ 3 ได้ในฐานะผู้รับโอนสิทธิ
นอกจากนี้ ผู้ชำระบัญชี (จำเลยที่ 1) ก็ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดแทนบริษัทต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินบริษัท
แม้คู่ความมิได้ยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นฎีกา แต่ศาลเห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จึงมีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
✅ สรุปข้อกฎหมาย
เมื่อมีการเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทเดิมย่อมสิ้นสุด
การกระทำของกรรมการที่ไม่มีอำนาจหลังการเลิกบริษัท ย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในการฟ้องเรียกเงินจากบุคคลภายนอกแทนบริษัทได้
ผู้ชำระบัญชีไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในหนี้สินของบริษัท เว้นแต่มีกรณีพิเศษที่กฎหมายกำหนด
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
การตีความนิติกรรมเช่าซื้อทองคำกับข้อกล่าวหาเรื่องนิติกรรมอำพรางเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
หัวข้อ: การตีความนิติกรรมเช่าซื้อทองคำกับข้อกล่าวหาเรื่องนิติกรรมอำพรางเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 5585/2557
ข้อเท็จจริง:
ส. และ ว. มีความประสงค์เดิมต้องการกู้ยืมเงิน
ต่อมาได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท จ. เพื่อรับสร้อยคอทองคำรูปพรรณมา โดยต่างนำไปขายได้เงินไม่เท่ากัน
มีข้อกล่าวหาว่าการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นการอำพรางการกู้ยืมเงินเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ประเด็นทางกฎหมายที่พิจารณา: ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการทำ นิติกรรมอำพราง เพื่อให้กู้ยืมเงินในลักษณะที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 หรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า:
แม้ความประสงค์เดิมของ ส. และ ว. จะเป็นการกู้ยืมเงิน แต่เมื่อทั้งสองตกลงทำสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ ย่อมแสดงถึงการ “เปลี่ยนเจตนา” เป็นการยอมรับข้อตกลงเช่าซื้อ
การที่ ส. และ ว. นำสร้อยไปขายได้เงินไม่เท่ากันแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ตกลงเงินกู้เป็นจำนวนที่แน่นอน
หากเป็นการให้กู้ยืมจริง จำเลยควรทราบจำนวนเงินที่แน่นอนและสามารถให้เงินได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ไปขาย
การที่จำเลยใช้วิธีส่งมอบทองคำแทนการมอบเงินสด แสดงถึงความเป็น “ธุรกรรมเช่าซื้อจริง” ไม่ใช่การอำพราง
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี:
พฤติการณ์โดยรวม ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการทำ นิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยกระทำการภายใต้รูปแบบธุรกิจการค้าเช่าซื้อที่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีพฤติการณ์หลอกลวงหรือปกปิดเพื่อให้เกิดผลทางกฎหมายที่ผิดจากความเป็นจริงตามนิติกรรม
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
คำพิพากษานี้มีสาระสำคัญว่า แม้บุคคลจะมีความประสงค์กู้ยืมเงินในตอนต้น แต่หากตกลงทำสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ โดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่าจำนวนเงินเป็นที่ตกลงกันแน่นอนและไม่มีพฤติการณ์บีบบังคับ ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนเจตนาและนิติกรรมเช่าซื้อย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย การกล่าวหาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางจึงต้องพิจารณาเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาและพฤติการณ์แวดล้อมอย่างรอบคอบ หากไม่มีหลักฐานชัดเจน ศาลจะไม่รับฟังว่าเป็นความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
📞 ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
🔎 ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
ความรับผิดของผู้ขับขี่เมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง
หัวข้อ: ความรับผิดของผู้ขับขี่เมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2531
วิเคราะห์โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
🧾 ข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 ขับรถผ่านทางร่วมทางแยกด้วยความเร็วสูง โดยไม่ลดความเร็วตามสมควรเพื่อระวังอันตราย ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถมาจากอีกทางหนึ่ง ส่งผลให้รถของจำเลยที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์นั้น
⚖️ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ประเด็นทางกฎหมาย
กฎหมายจราจรทางบกและหลักสากลในการใช้ทางร่วมทางแยก กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวัง ลดความเร็วเมื่อเข้าใกล้ทางแยก เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
หลักการในคำพิพากษา
การที่ทางใดจะเป็น "ทางเอก" หรือ "ทางโท" ไม่ใช่เหตุให้ผู้ขับขี่ในทางเอกมีสิทธิเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูงโดยไม่รั้งรอ
ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ขับขี่ในทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเอกหรือทางโท ต่างมี "หน้าที่ต้องลดความเร็ว" เมื่อเข้าสู่ทางร่วมทางแยก
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงในจุดที่ควรใช้ความระมัดระวัง เป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดเหตุชนกัน จึงต้องร่วมรับผิดในเหตุการณ์
💡 เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลเห็นว่าพฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง ทั้งที่สามารถคาดหมายได้ว่าอาจมีรถจากทางอื่นมาในเวลาเดียวกัน เป็นการละเลยหน้าที่ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ความประมาทของจำเลยที่ 1 เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุชนกัน อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
จึงถือว่าเหตุเกิดขึ้น "เป็นผลจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ด้วย"
📌 สรุป:
ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน ไม่ว่าขับมาทางเอกหรือทางโท ต้องลดความเร็วเมื่อเข้าสู่ทางร่วมทางแยก การขับด้วยความเร็วสูงโดยไม่รั้งรอถือเป็นความประมาท หากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องร่วมรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะขับมาในทางเอกก็ตาม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*****************************************
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล
หัวข้อ: การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล – ฎีกาที่ 4682/2541
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097
✅ ข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ศ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้ง ผู้ร้อง เป็นผู้อนุบาล
ต่อมา ผู้คัดค้านทั้งสาม ยื่นคำร้องคัดค้านขอเพิกถอนคำสั่งนั้น โดยอ้างว่าผู้ร้องกระทำโดยไม่สุจริต และปิดบังพินัยกรรมของบิดา ซึ่งระบุให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.
คดีก่อนหน้านั้นมีการพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์ให้ ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. อยู่ก่อน
ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล โดยไม่ได้อ้างเหตุถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/8
✅ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
มาตรา 28 วรรคสอง และ มาตรา 1598/18 วรรคสอง ให้ใช้บทบัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองโดยอนุโลมในการแต่งตั้งผู้อนุบาล
หากปรากฏว่าผู้ที่ศาลตั้งเป็นผู้อนุบาลนั้นขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 1587 หรือเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาล ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตาม มาตรา 1588
แม้จะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์มาก่อน โดยศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องคัดค้านการเป็นผู้อนุบาลของผู้ร้องได้ เพราะมิใช่คดีร้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ไต่สวนใหม่
✅ เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสาม ไม่ใช่การร้องซ้อน และ ไม่ใช่คำร้องที่ยื่นพ้นกำหนดเวลา
เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดียังไม่มีการไต่สวนพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายครบถ้วน และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ร้องที่อาจขัดต่อมาตรา 1587
จึงจำเป็นต้องไต่สวนใหม่ให้ครบถ้วนก่อน เพื่อวินิจฉัยว่าจะเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลหรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
📌 สรุป:
การเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล สามารถกระทำได้แม้หลังจากมีคำสั่งตั้งแล้ว หากภายหลังปรากฏว่าผู้อนุบาลขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือเฉพาะเหตุในมาตรา 1598/8 เท่านั้น ศาลอาจพิจารณาเพิกถอนคำสั่งโดยอาศัยมาตรา 1588 ได้ การยื่นคำร้องของผู้คัดค้านจึงไม่ใช่การร้องซ้อน และศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยชอบ
📞 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
ทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ทางพิพาท
หัวข้อ: ทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ทางพิพาท
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 4723/2538
แยกข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และดุลพินิจของศาล
ข้อเท็จจริง:
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในซอยพานิชอนันต์ ซึ่งประชาชนใช้เป็นทางผ่านมายาวนานกว่า 10 ปี
ลักษณะของถนนซอยนี้เชื่อมโยงกับทางสาธารณะอื่น ๆ โดยรอบ
ไม่มีการหวงห้ามหรือจำกัดสิทธิในการใช้ทางจากเจ้าของที่ดินเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวหาว่าใช้ทางพิพาทเป็นการละเมิด และเรียกค่าเสียหาย พร้อมทั้งขอให้ห้ามใช้ทาง
ข้อกฎหมาย:
ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาและหลักกฎหมายทั่วไป "ทางสาธารณะ" อาจมีได้สองลักษณะ
ทางที่เจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นสาธารณะ
ทางที่ประชาชนใช้สอยโดยไม่มีการหวงห้ามเป็นระยะเวลายาวนาน จนเข้า "ลักษณะทางสาธารณะโดยปริยาย"
หากทางพิพาทถือเป็นทางสาธารณะแล้ว ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเข้าใช้ได้
ดุลพินิจของศาล:
ศาลวินิจฉัยว่าทางพิพาทนี้ ได้ถูกใช้โดยประชาชนทั่วไปมาอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 10 ปี และไม่มีการหวงห้ามจากเจ้าของ จึงถือว่าเป็น "ทางสาธารณะโดยปริยาย"
เมื่อถือว่าเป็นทางสาธารณะแล้ว จำเลยในฐานะประชาชนทั่วไป มีสิทธิใช้ทางโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-893-4097
คดีนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้เจ้าของที่ดินจะไม่เคยอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะอย่างชัดเจน แต่หากประชาชนใช้ทางนั้นโดยเปิดเผยต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีการห้ามจากเจ้าของ ก็อาจเกิดสิทธิในการใช้ทางสาธารณะโดยปริยายได้ ซึ่งศาลให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าวแก่ประชาชน และปฏิเสธการฟ้องของเจ้าของเดิมที่พยายามจำกัดการใช้ทางดังกล่าว
📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
คำพิพากษาที่สำคัญ
- หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า
- ฎีกาเปลี่ยนเพศ
- ผู้เสียหายที่แท้จริง
- ป่าสงวนและการปฏิรูปที่ดิน
- คำรับสารภาพไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- การอ้างพยานเพิ่มเติมในอุทธรณ์
- ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
**************************
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์และการบำรุงรักษาทรัพย์สินในระหว่างสัญญาเช่า (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547, 550, 553)
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
หน้าที่ในการซ่อมแซมทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่า
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1471/2548
ข้อเท็จจริง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งระบุว่าเป็นการเช่าบ้านพร้อมเฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ตามที่แนบในสัญญา โดยมีเงื่อนไขให้ผู้เช่าต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี ซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอจากการใช้งานตามปกติ รวมถึงชำระค่าไฟฟ้า น้ำประปา สาธารณูปโภค และค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้เช่า
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ศาลตีความสัญญาเช่าดังกล่าวว่า:
การเช่าครอบคลุมถึงเฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวด้วย ไม่ใช่เฉพาะตัวบ้าน
ข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่ารักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี หมายถึง การบำรุงรักษาและซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 553 ซึ่งไม่ได้ทำให้ผู้เช่าต้องรับผิดชอบในกรณีซ่อมแซมใหญ่อันเกิดจากความชำรุดบกพร่อง
สัญญาไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เช่าต้องรับผิดในการซ่อมแซมใหญ่แทนผู้ให้เช่า
การซ่อมแซมที่จำเลยกล่าวถึงเป็นการซ่อมแซมใหญ่อันจำเป็นเพื่อให้ทรัพย์สินอยู่ในสภาพใช้งานได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 และ มาตรา 550
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
เนื่องจากสัญญาไม่ได้กำหนดให้ผู้เช่ารับผิดชอบในงานซ่อมแซมใหญ่อันเกิดจากความชำรุดบกพร่อง และข้อกฎหมายก็บัญญัติให้การซ่อมแซมใหญ่เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า การตีความต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดภาระเกินควรแก่ฝ่ายผู้เช่า ดังนั้น ศาลจึงวินิจฉัยว่าจำเลย (ผู้ให้เช่า) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
********************************
คำรับสารภาพไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล – การเปลี่ยนแปลงสถานะเพศตามทะเบียนราษฎร และขอบเขตอำนาจศาลในการสั่งเปลี่ยนแปลงเพศ
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
ศาลปฏิเสธคำร้องขอเปลี่ยนเพศ แม้ผ่านการผ่าตัดแล้ว
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 157/2524
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นชายโดยกำเนิด ต่อมาได้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศเป็นหญิง และได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศตามเอกสารทางทะเบียนจากชายเป็นหญิง
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ประเด็นปัญหาคือ การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศจากชายเป็นหญิง จะมีผลทำให้ผู้ร้องสามารถใช้สิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศในทะเบียนราษฎรได้หรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
แม้ผู้ร้องจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศเป็นหญิงแล้วก็ตาม แต่ "ไม่มีบทกฎหมายใดรับรองสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเพศที่ถือกำเนิดมา" ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลในการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานะทางเพศได้
ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศให้ผู้ร้องจากชายเป็นหญิงตามคำร้องได้
เหตุผลของศาล
กฎหมายในขณะนั้นยังไม่บัญญัติให้บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงเพศกำเนิดได้
การเปลี่ยนแปลงเพศแม้ทางกายภาพ แต่หากไม่มีกฎหมายรองรับ ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจเกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิที่จะใช้กระบวนการศาลตามกฎหมายเพื่อให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้ได้
บทสรุป
ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง ไม่รับคำร้องของผู้ร้องที่ขอเปลี่ยนแปลงเพศในทะเบียนราษฎร
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
ฎีกาเปลี่ยนเพศ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล – การเปลี่ยนแปลงสถานะเพศตามทะเบียนราษฎร และขอบเขตอำนาจศาลในการสั่งเปลี่ยนแปลงเพศ
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
ศาลปฏิเสธคำร้องขอเปลี่ยนเพศ แม้ผ่านการผ่าตัดแล้ว
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 157/2524
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นชายโดยกำเนิด ต่อมาได้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศเป็นหญิง และได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศตามเอกสารทางทะเบียนจากชายเป็นหญิง
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ประเด็นปัญหาคือ การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศจากชายเป็นหญิง จะมีผลทำให้ผู้ร้องสามารถใช้สิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศในทะเบียนราษฎรได้หรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
แม้ผู้ร้องจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศเป็นหญิงแล้วก็ตาม แต่ "ไม่มีบทกฎหมายใดรับรองสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเพศที่ถือกำเนิดมา" ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลในการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานะทางเพศได้
ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพศให้ผู้ร้องจากชายเป็นหญิงตามคำร้องได้
เหตุผลของศาล
กฎหมายในขณะนั้นยังไม่บัญญัติให้บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงเพศกำเนิดได้
การเปลี่ยนแปลงเพศแม้ทางกายภาพ แต่หากไม่มีกฎหมายรองรับ ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจเกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิที่จะใช้กระบวนการศาลตามกฎหมายเพื่อให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้ได้
บทสรุป
ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง ไม่รับคำร้องของผู้ร้องที่ขอเปลี่ยนแปลงเพศในทะเบียนราษฎร
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
ผู้เสียหายที่แท้จริง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และกฎหมายอาญาว่าด้วย สิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์คดีอาญา โดยเฉพาะ ความผิดฐานยักยอก
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
ผู้เสียหายในคดียักยอกเงินของโรงเรียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 9948/2555
ข้อเท็จจริง
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนกับบริษัท อ. เพื่อดำเนินกิจการโรงเรียน
จำเลยซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายสอน ได้รับเงินค่าเล่าเรียนจากนักเรียน โดยไม่ได้มีตำแหน่งฝ่ายการเงิน
มีกรณีนักเรียนฝากเงินไว้กับจำเลยให้ชำระค่าเล่าเรียน แต่จำเลยไม่ส่งเงินให้ฝ่ายการเงินของโรงเรียน
นักเรียนได้แจ้งความร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกง และต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์
ต่อมาโจทก์ร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วน ได้ร้องทุกข์และดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหายักยอก
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1033 วรรคหนึ่ง ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น ย่อมมีสิทธิจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่จดทะเบียน มีสภาพเป็น “กิจการร่วมกัน” ซึ่งผู้ร่วมทุนมีสถานะเป็น “ผู้เสียหาย” หากมีการยักยอกทรัพย์ของกิจการ
แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่รับเงินโดยตรง แต่ในทางพฤตินัยถือว่าได้รับมอบหมายโดยปริยาย เพราะนักเรียนฝากเงินค่าเล่าเรียนกับจำเลยอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อนักเรียนชำระเงินให้จำเลย ถือว่าโรงเรียนได้รับเงินแล้ว เงินจึงตกเป็นของโรงเรียนทันที นักเรียนไม่ใช่เจ้าของเงินอีก
นักเรียนจึงไม่มีสถานะเป็นผู้เสียหาย ไม่อาจร้องทุกข์หรือต่อมาถอนคำร้องทุกข์ได้ในข้อหายักยอก
ผู้มีสถานะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงคือโจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน
ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับไป ไม่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายหรือเปลี่ยนข้อหา
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลเห็นว่า แม้นักเรียนแจ้งความก่อนและถอนคำร้องทุกข์ในภายหลัง ก็ไม่กระทบสิทธิของโจทก์ร่วมที่เป็นหุ้นส่วน
โจทก์ร่วมมีสถานะเป็นผู้เสียหายโดยชอบ มีอำนาจนำคดีอาญามาฟ้องได้
คดีไม่ระงับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) เพราะผู้ที่ถอนคำร้องทุกข์ ไม่ใช่ ผู้เสียหายตามกฎหมาย
สรุป
ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีสถานะเป็นผู้เสียหายในกรณีที่ทรัพย์สินของกิจการถูกยักยอก และสามารถใช้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยได้โดยชอบ แม้จะมีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เสียหายไปแจ้งความและถอนคำร้องทุกข์มาก่อนก็ตาม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*******************************
ป่าสงวนและการปฏิรูปที่ดิน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
การปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนสถานะป่าสงวนทันที
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 15189/2558
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเข้าทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดนครพนม โดยอ้างว่าในพื้นที่นั้นมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2534 แล้ว ต่อมาได้มีประกาศของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว และผู้ร้องได้รับอนุญาตในภายหลัง
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ศาลวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 ว่า:
การมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน มิได้ทำให้พื้นที่ดังกล่าวหลุดจากสถานะป่าสงวนแห่งชาติในทันที
ต้องมีมติคณะรัฐมนตรีและการส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. จัดสรรก่อน จึงถือว่าสภาพพื้นที่ไม่ใช่ป่าสงวนอีกต่อไป
หากถือว่าประกาศ พ.ร.ฎ. เพียงอย่างเดียวเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนทันที จะ เปิดช่องให้ประชาชนเข้ายึดครองโดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ในการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
ในกรณีนี้ การจัดสรรที่ดินยังไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องยังไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาที่เข้าทำประโยชน์
ดังนั้น ผู้ร้อง กระทำความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
แม้ภายหลังผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ปฏิรูปที่ดินโดยรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ แต่ไม่ได้ลบล้างการกระทำความผิดในอดีต เพราะเป็นเพียงผลทางกฎหมายในอนาคต การกระทำความผิดในอดีตยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายเดิม ไม่เข้าหลักเกณฑ์ของ ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ถ้ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังให้การกระทำที่เคยเป็นความผิดนั้นไม่เป็นความผิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่ต้องรับโทษ”
สรุป
เมื่อผู้ร้องเข้าทำประโยชน์ในที่ดินขณะที่ยังมิได้รับอนุญาต การกระทำนั้นจึงเป็นความผิดตามกฎหมายป่าไม้ และไม่มีผลย้อนหลังจากการได้รับอนุญาตภายหลังมาลบล้างความผิดเดิม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
****************************************
ฎีกาแปลงเพศ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะการจับกุม แจ้งสิทธิผู้ถูกจับ และการรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83, 84 และ 226
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
การรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมโดยไม่ได้แจ้งสิทธิตามกฎหมาย
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 8148/2551
ข้อเท็จจริง
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม โดยมีการบันทึกข้อความว่า "จำเลยให้การรับสารภาพ" อยู่ในบันทึกการจับกุม อย่างไรก็ดี บันทึกดังกล่าวไม่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้รับการแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง และพยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความยืนยันว่ามีการแจ้งสิทธินั้น
ต่อมามีการแนบบันทึกแจ้งสิทธิผู้ถูกจับในชั้นพิจารณาคดี ซึ่งเป็นเอกสารที่พิมพ์แบบฟอร์มแล้วกรอกข้อความเพิ่มเติมด้วยลายมือคนละคนกับผู้ทำบันทึกจับกุม ใช้ปากกาคนละด้าม และมีเนื้อหาการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วน เช่น ไม่แจ้งว่าจำเลยมีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และไม่แจ้งว่าคำให้การอาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐาน
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสอง กำหนดว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับบุคคลต้องแจ้งสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การ และสิทธิที่คำให้การจะถูกนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานได้
มาตรา 84 วรรคสี่ ห้ามไม่ให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมมาใช้เป็นพยานหลักฐาน หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งสิทธิ
และ มาตรา 226 วางหลักว่า ศาลต้องไม่นำพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบมาใช้ในการวินิจฉัยคดี
ในคดีนี้ บันทึกการจับกุมไม่มีการแจ้งสิทธิตามกฎหมาย และบันทึกการแจ้งสิทธิก็ไม่ครบถ้วนตามมาตรา 83 วรรคสอง ศาลจึงวินิจฉัยว่า คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้นำมาใช้รับฟังพิพากษาคดี
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลถือว่าการไม่แจ้งสิทธิอย่างครบถ้วน เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกจับ การรับสารภาพที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้จึงไม่มีความชอบด้วยกฎหมาย การจะอ้างบันทึกการจับกุมหรือคำรับสารภาพดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 226 ซึ่งต้องไม่ใช้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
การอ้างพยานเพิ่มเติมในอุทธรณ์
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่อง การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์
2. กำหนดหัวข้อเรื่อง
หลักเกณฑ์การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และผลหากไม่ปฏิบัติตาม
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 6006/2548
ข้อเท็จจริง:
ผู้ร้องในคดีนี้อ้างว่า ได้ค้นพบ "สูติบัตร" ซึ่งเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงขอให้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ โดยการระบุเพียงในอุทธรณ์ว่า "มีสูติบัตร" และขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารนี้ประกอบ แต่ มิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐาน และ มิได้แนบบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม บัญญัติว่า
"การขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องต่อศาล และต้องมีบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานนั้นด้วย"
เมื่อผู้ร้อง ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพยานเพิ่มเติมนั้นได้ และเมื่อ ไม่มีพยานหลักฐานใหม่ ที่เสนอโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวน ไปยังศาลชั้นต้นให้พิจารณาใหม่ตาม มาตรา 240 (2)
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การอ้างเพียงว่า "มีสูติบัตร" โดยมิได้ยื่นคำร้องพร้อมบัญชีระบุพยานและสำเนา เป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณา จึงไม่มีผลให้ศาลอุทธรณ์รับพยานหลักฐานนั้นมาพิจารณาได้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ และไม่มีอำนาจย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลชั้นต้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. กำหนดหัวข้อเรื่องด้วย
การเปิดเผยข้อมูลกระดาษคำตอบสอบแข่งขันไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และอำนาจคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ในการทบทวนคำวินิจฉัยเดิม
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 4126/2543
ข้อเท็จจริง
โจทก์จำนวน 109 คน ฟ้องขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเห็นว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการฯ และไม่ควรเปิดเผย
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเคยมีคำวินิจฉัยให้เปิดเผย ต่อมาทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ไม่ให้เปิดเผย
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
(1) ประเด็นที่ 1: กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เนื่องจากกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนเป็นเพียงเอกสารที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้เข้าสอบ มิใช่เรื่องราวความเป็นอยู่หรือประวัติชีวิตอันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคล ดังนั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการฯ
(2) ประเด็นที่ 2: การงดสืบพยานของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมานั้นเพียงพอให้วินิจฉัยข้อกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ดังนั้น การงดสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
(3) ประเด็นที่ 3: คณะกรรมการวินิจฉัยฯ มีอำนาจทบทวนคำวินิจฉัยเดิมหรือไม่
แม้มาตรา 37 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ เป็นที่สุด" แต่ ศาลตีความว่าหมายถึงเฉพาะการโต้แย้งของบุคคลภายนอก ไม่ใช่ข้อห้ามต่อการที่คณะกรรมการฯ จะพิจารณาทบทวนหรือเพิกถอนคำวินิจฉัยของตนเองได้ เพราะคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 5 ซึ่งอาจเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 49 ถึง 53
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลเน้นตีความคำว่า “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” อย่างแคบ จำกัดเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติชีวิต ความเป็นอยู่ หรือสิ่งที่จำแนกตัวบุคคลได้อย่างเฉพาะ
ศาลรับรองอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในการทบทวนคำวินิจฉัยของตนเอง โดยถือเป็นการใช้อำนาจภายใต้กรอบกฎหมายปกครอง
บทสรุป
กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนน ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล จึงเปิดเผยได้
คณะกรรมการวินิจฉัยฯ สามารถทบทวนและแก้ไขคำวินิจฉัยเดิมได้
ศาลชั้นต้นไม่จำเป็นต้องสืบพยาน เพราะข้อเท็จจริงเพียงพอในการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
ฎีกาสำคัญที่ควรรู้
- สัญญาจะซื้อจะขาย
- การรบกวนการครอบครอง
- พิสูจน์ลายมือในคดี
- ห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 225
***********************************
สัญญาจะซื้อจะขาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ การมัดจำ และการเลิกสัญญา
2. หัวข้อเรื่อง
ข้อผูกพันตามใบจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2569/2556
ข้อเท็จจริง
โจทก์ทำการจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลย จำนวน 2 แปลง (เลขที่ 1314 และ 1315) โดยวางเงินจองแปลงละ 100,000 บาท
มีใบจองซึ่งระบุราคาขาย รายละเอียดค่าโอน และการวางเงินจอง แต่ยังไม่มีการทำสัญญาอย่างเป็นทางการ
จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ไปโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะแปลง 1314 แต่โจทก์เพิกเฉย
แปลง 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวก่อน
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
1. ใบจองถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่:
ศาลวินิจฉัยว่า แม้ยังไม่มีการทำสัญญาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติม แต่เมื่อมีการวางเงินจอง และใบจองมีรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับราคาขายและการโอนกรรมสิทธิ์ ย่อมถือว่ามีสาระสำคัญครบถ้วนเป็น “สัญญาจะซื้อจะขาย” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377
2. การบอกเลิกสัญญาโดยชอบตามกฎหมาย:
สำหรับแปลง 1314 จำเลยได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ตามมาตรา 387 ประกอบ 369 แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และได้สิทธิยึดมัดจำ 100,000 บาท ตามมาตรา 378 (2)
สำหรับแปลง 1315 จำเลยไม่ได้บอกกล่าวก่อนบอกเลิกสัญญา ถือว่าการบอกเลิกไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำ
3. เงินค่าทำสัญญา 100,000 บาท (2 แปลง):
ศาลพิจารณาว่าเงินจำนวนนี้ไม่ใช่มัดจำ แต่เป็น “การชำระราคาบางส่วน” ซึ่งเมื่อสัญญาถูกเลิก ทั้งสองฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รับไว้
สรุปเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้:
ศาลเห็นว่าการวางเงินจองที่มีรายละเอียดครบถ้วนถือเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขาย
การบอกเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวก่อนตามกฎหมาย หากไม่ทำเช่นนั้น การบอกเลิกไม่ชอบ
เงินค่าทำสัญญาที่ไม่ได้เป็นมัดจำ ต้องคืนแก่กันเมื่อสัญญาเลิก
บทสรุป:
จำเลยมีสิทธิยึดมัดจำเฉพาะแปลง 1314 เท่านั้น ส่วนแปลง 1315 ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ และต้องคืนเงินค่าทำสัญญา 200,000 บาท (ที่เป็นการชำระราคาบางส่วน) พร้อมดอกเบี้ย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
การรบกวนการครอบครอง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ว่าด้วยความผิดฐานรบกวนการครอบครองโดยปกติสุข
2. หัวข้อเรื่อง
การรบกวนการครอบครองโดยปกติสุขแม้เจ้าของทรัพย์จะเป็นผู้กระทำ
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1/2512
ข้อเท็จจริง
ห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ
โจทก์ยังคงครอบครองห้องดังกล่าวอยู่ และอ้างสิทธิ์ครอบครองตามสัญญาเช่า
จำเลยกระทำการโดยใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องในขณะที่โจทก์ไม่อยู่
ผลคือ โจทก์ไม่สามารถเข้าใช้ห้องได้ตามปกติ
ข้อกฎหมาย
ประเด็นสำคัญคือ การครอบครองโดยปกติสุขของโจทก์ แม้ไม่ใช่เจ้าของ
มาตรา 362 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า
“ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งผู้นั้นครอบครองอยู่โดยสงบและเปิดเผย เพื่อจะทำให้เสียการครอบครอง หรือรบกวนการครอบครองนั้น ต้องระวางโทษ...”
ดุลพินิจของศาล
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของห้องพิพาท แต่การที่โจทก์ยังครอบครองอยู่โดยสงบและอ้างสิทธิ์ตามสัญญาเช่า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองโดยชอบ
การที่จำเลยใช้ไม้ขวางประตูในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าใช้ห้องได้ ถือเป็นการกระทำที่ล่วงล้ำสิทธิของผู้ครอบครอง
ศาลจึงวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 362 ฐานรบกวนการครอบครองโดยปกติสุข
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้
ศาลยึดหลักว่าการครอบครองโดยสงบ ย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้ผู้ครอบครองจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรงก็ตาม การล่วงล้ำหรือขัดขวางการใช้สิทธิของผู้ครอบครองเช่นนี้ ถือว่าเป็นการรบกวนการครอบครองที่ผิดกฎหมาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
พิสูจน์ลายมือในคดี
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประเด็นเรื่องพยานหลักฐาน การชั่งน้ำหนักความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การพิสูจน์ลายมือชื่อ และภาระการพิสูจน์ในคดีอาญา
2. หัวข้อเรื่อง
พยานผู้เชี่ยวชาญกับการพิสูจน์ลายมือชื่อในคดีอาญา: กรณีศาลไม่ต้องเชื่อตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญเสมอไป
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2126/2541
ข้อเท็จจริง
โจทก์อ้างว่า ลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 ไม่ใช่ลายมือชื่อของตน และถูกปลอมขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เห็นว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวแตกต่างจากลายมือชื่อของโจทก์ที่ปรากฏในเอกสารอื่น
จำเลยที่ 1 มีเช็คอยู่ในความครอบครอง และให้การยืนยันว่าเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือชื่อจริงของโจทก์
โจทก์ไม่ได้มีเอกสารอื่นในช่วงเวลาใกล้เคียงเพื่อใช้เทียบเคียงลายมือชื่อ
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ศาลพิจารณาว่า ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียง “ข้อสันนิษฐานตามหลักวิชาการ” ไม่ใช่ข้อยุติที่ศาลต้องเชื่อตามเสมอไป
กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลต้องเชื่อข้อวินิจฉัยของผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐานเด็ดขาด
ลายมือชื่อที่ใช้เปรียบเทียบมีลักษณะหวัดและต่างกาลเวลา จึงอาจเขียนต่างกันโดยธรรมชาติ
โจทก์ยังมีภาระต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดและมีเจตนาปลอมลายมือชื่อ
ข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ถือครองเช็คมาก่อน และรู้จักลายมือชื่อของโจทก์มาก่อน ทำให้ไม่น่าจะมีเหตุผลให้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ให้แตกต่างอย่างเด่นชัด
หลักฐานของโจทก์จึงยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอจะลงโทษจำเลยทั้งสองได้
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้
ศาลเห็นว่า แม้ผู้เชี่ยวชาญจะให้ความเห็นว่าลายมือชื่อแตกต่างกัน แต่ไม่ได้เป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักแน่นหนาเพียงพอ หากไม่มีเอกสารเปรียบเทียบที่เหมาะสม และหากยังมีข้อสงสัย ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามหลักในคดีอาญา ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
ท้าย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
ห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 225
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยเฉพาะ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการห้ามอุทธรณ์ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
2. หัวข้อเรื่อง
การห้ามอุทธรณ์ในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้โดยชอบในศาลชั้นต้น
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2742/2546 ข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยอ้างว่า การนำสืบของโจทก์ไม่ตรงกับฟ้อง เป็นเหตุให้ คำฟ้องเคลือบคลุม และโจทก์ไม่แสดงความชัดเจนในคำฟ้องเกี่ยวกับเอกสารท้ายฟ้อง
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า:
ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ใช่พิจารณาจากการนำสืบพยานในชั้นพิจารณา
แม้จำเลยจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ในประเด็นเอกสารท้ายฟ้อง แต่ หากมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนั้นไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ก็ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบ
การที่จำเลยอุทธรณ์ในเรื่องที่ ไม่ได้เป็นประเด็นข้อพิพาทในศาลชั้นต้น ถือว่าต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมอย่างไรตั้งแต่ต้น แต่เพิ่งมาอ้างจากการสืบพยานของโจทก์ในชั้นพิจารณา จึงไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายการอุทธรณ์
เหตุผลของศาล
ศาลวางหลักไว้ชัดเจนว่า สิทธิในการอุทธรณ์ต้องอยู่ภายในกรอบของข้อพิพาทที่คู่ความได้ยกขึ้นต่อสู้กันโดยชอบในศาลชั้นต้น หากคู่ความใดมิได้ยกข้อโต้แย้งนั้นไว้ตั้งแต่แรก ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุอุทธรณ์ภายหลังได้ แม้จะมีการถามค้านในชั้นพิจารณาก็ตาม
ท้ายคำแนะนำ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ เช่น การถูกตีตกอุทธรณ์ หรือการต่อสู้คดีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อกฎหมายในศาลอุทธรณ์ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
คำพิพากษาฎีกา
1. การคิดดอกเบี้ยจากหนี้ละเมิดที่ไม่ระบุวันกระทำผิดแน่ชัด
2. สิทธิเรียกคืนโฉนดที่ดินจากผู้ยึดถือโดยไม่ชอบ แม้เป็นกรณีพิพาทมรดก
3. ถอนฟ้องกรณีฟ้องผิดศาล ไม่กระทบสิทธิฟ้องใหม่ แม้อายุความสิ้นสุด
4. สิทธิของคู่ความในกรณีร้องสอด และการหลุดพ้นจากหนี้ในกรณีเหตุสุดวิสัยในสัญญาเช่า
5. สิทธิในการใช้ทรัพย์ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร และข้อจำกัดของที่ดินนอกโครงการ
6. อำนาจตัวแทนช่วงกับสิทธิของโจทก์ร่วมในการฟ้องคดีขับไล่ผู้เช่าช่วง
7. การนับอายุความในสัญญากู้ที่มีลักษณะต่อเนื่องตามเงื่อนไขของสัญญา
8. สิทธิเรียกคืนโฉนดที่ดินจากผู้ยึดถือโดยไม่ชอบ แม้เป็นกรณีพิพาทมรดก
9. อายุความในคดีหมิ่นประมาท และข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในศาลแขวง
10. ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องกรรมการบริษัท เมื่อมีหลักฐานจากทะเบียนผู้ถือหุ้นรับรอง
11. ผลของการถอนคำร้องทุกข์ภายหลังคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
***************************************
1. การคิดดอกเบี้ยจากหนี้ละเมิดที่ไม่ระบุวันกระทำผิดแน่ชัด
วิเคราะห์ฎีกาที่ 4813/2539
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร:
กรณีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายแพ่งเรื่องหนี้ละเมิด และ การคิดดอกเบี้ยจากความผิดละเมิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ซึ่งระบุว่า หนี้จากละเมิด ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่เวลาที่กระทำละเมิด และเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากวันนั้น
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 4813/2539
ข้อเท็จจริง:
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ในคำฟ้องมิได้ระบุวันกระทำละเมิดแน่ชัดว่าเป็นวันใด อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้เรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากวันก่อนวันฟ้อง ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายให้สิทธิเรียกร้องได้
ข้อกฎหมาย:
ตาม มาตรา 206 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้อันเกิดจากการละเมิด ถือว่าลูกหนี้ (จำเลย) ผิดนัดตั้งแต่เวลาที่กระทำละเมิด ดังนั้น เจ้าหนี้ (โจทก์) มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันกระทำละเมิดเป็นต้นไป แม้จะไม่ระบุวันกระทำผิดที่แน่นอนในคำฟ้อง หากระบุวันสุดท้ายที่น่าจะเกิดเหตุและคำนวณจากวันนั้นได้ ศาลก็มีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องให้แก่โจทก์ได้
ดุลพินิจของศาลและเหตุผล:
ศาลเห็นว่า แม้โจทก์ไม่ได้ระบุวันกระทำละเมิดที่แน่ชัด แต่การที่โจทก์เรียกร้องดอกเบี้ยย้อนหลังในจำนวนที่น้อยกว่าสิทธิที่มีตามกฎหมาย และสามารถอนุมานวันสุดท้ายที่อาจเกิดการละเมิดได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยย้อนหลังตามสิทธิที่มีได้ โดยไม่ขัดต่อหลักแห่งความยุติธรรม
บทสรุป:
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุวันกระทำละเมิดแน่ชัดในคำฟ้อง ศาลยังคงมีอำนาจให้ดอกเบี้ยย้อนหลังตั้งแต่วันกระทำละเมิดตามที่คาดหมายได้ตามหลักกฎหมาย เพื่อให้โจทก์ได้รับความเป็นธรรมในการเยียวยาความเสียหาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*****************************************
2. สิทธิเรียกคืนโฉนดที่ดินจากผู้ยึดถือโดยไม่ชอบ แม้เป็นกรณีพิพาทมรดก
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่ง ว่าด้วยสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินและการถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 3429/2535
● ข้อเท็จจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ จำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินนั้นไว้ และไม่ยินยอมคืนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนโฉนด โดยไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิในตัวที่ดิน จำเลยอ้างว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดจากบิดาของโจทก์และจำเลย จึงยังไม่ควรคืนโฉนด
● ข้อกฎหมาย
• ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติว่า เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้ที่ยึดถือไว้โดยไม่มีสิทธิ
• ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยคือ โจทก์มีสิทธิเรียกคืน “โฉนดที่ดิน” ซึ่งเป็นเอกสารกรรมสิทธิ์ แม้จะมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวที่ดินว่าเป็นทรัพย์มรดกก็ตาม
● ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่า:
• เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ และไม่มีการฟ้องแย้งหรือขอวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในตัวที่ดิน
• โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนตามกฎหมาย โดยข้ออ้างของจำเลยว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้น ไม่ใช่เหตุชอบด้วยกฎหมายในการยึดถือโฉนดไว้
• การเรียกร้องให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่แทน เป็นคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอก (เจ้าพนักงานที่ดิน) ที่ไม่ใช่คู่ความในคดี จึงไม่อาจบังคับได้ในคดีนี้
🔍 สรุป
แม้จะมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ตราบใดที่ชื่อในโฉนดระบุว่าเป็นของโจทก์ และไม่มีการฟ้องแย้งในเรื่องสิทธิในตัวที่ดิน จำเลยไม่มีสิทธิยึดโฉนดไว้ การเรียกคืนเอกสารโฉนดจึงเป็นสิทธิชอบธรรมของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
3. ถอนฟ้องกรณีฟ้องผิดศาล ไม่กระทบสิทธิฟ้องใหม่ แม้อายุความสิ้นสุด
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ว่าด้วย การฟ้องคดีผิดศาล และ ผลของการถอนฟ้องเมื่อฟ้องผิดศาล รวมถึงการ ขยายระยะเวลาอายุความ
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 3144/2531
🔹 ข้อเท็จจริง
โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาล แต่ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การว่าคดีอยู่ นอกเขตอำนาจศาล ตามที่คู่ความตกลงไว้ในสัญญา โจทก์จึงยื่นคำขอ ถอนฟ้อง ต่อศาล เนื่องจากทราบว่าฟ้องผิดศาล และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะศาลไม่มีอำนาจพิจารณา
🔹 ข้อกฎหมาย
• ป.พ.พ. มาตรา 176 ระบุว่า กรณีที่มีการถอนฟ้องจากการฟ้องผิดศาล แม้อายุความจะสิ้นสุดลงในระหว่างการพิจารณา แต่ผู้ฟ้องยังสามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายขยายให้เพิ่มเติม
• การถอนฟ้องในกรณีฟ้องผิดศาล ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่การประวิงคดีโดยไม่สุจริต
🔹 ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลฎีกาเห็นว่า
• โจทก์มีสิทธิถอนคำฟ้องเมื่อทราบว่าฟ้องผิดศาล ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสุจริต เพื่อให้ถูกต้องตามกระบวนกฎหมาย
• กรณีศาลชั้นต้นพิจารณาไปโดยไม่มีอำนาจแล้วพิพากษายกฟ้องนั้น ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ในศาลที่มีเขตอำนาจ
• และ แม้จะเกินอายุความระหว่างพิจารณา กฎหมายยังให้ สิทธิฟ้องใหม่ได้ภายในเวลาที่กำหนดในมาตรา 176
• ดังนั้น การถอนฟ้องในกรณีนี้ ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย และไม่ถือเป็นการสิ้นสุดแห่งคดี
📌 สรุป
หากฟ้องคดีผิดศาล โจทก์สามารถถอนฟ้องได้โดยไม่เสียสิทธิ และยังสามารถฟ้องใหม่ได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้อายุความจะขาดระหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม ศาลจึงอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง และถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************************
4. สิทธิของคู่ความในกรณีร้องสอด และการหลุดพ้นจากหนี้ในกรณีเหตุสุดวิสัยในสัญญาเช่า
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
• กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการร้องสอดและสิทธิของคู่ความในคดี
• กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการหลุดพ้นจากหน้าที่ชำระหนี้เพราะเหตุพ้นวิสัย และสิทธิในการขอคืนค่าตอบแทนในสัญญาต่างตอบแทน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 10514/2558
✅ ข้อเท็จจริง
• โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับจำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไขให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมและสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ตามแบบแปลนภายในระยะเวลาที่กำหนด
• ต่อมาที่ดินเช่าได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร ทำให้ไม่สามารถดำเนินการรื้อถอนและก่อสร้างได้ตามสัญญา
• จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ
⚖️ ข้อกฎหมาย
• ป.วิ.พ. มาตรา 57(3): ให้สิทธิคู่ความฟ้องหรือร้องสอดบุคคลภายนอกที่อาจมีสิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยหรือค่าทดแทน
• ป.วิ.พ. มาตรา 58: ผู้ร้องสอดที่เข้าเป็นคู่ความในลักษณะนี้ มีสิทธิเสมือนเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีใหม่ เช่น นำพยานหลักฐานใหม่ อุทธรณ์ ฎีกา และถูกเรียกหรือได้รับค่าธรรมเนียม
• ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง: หากการชำระหนี้ตามสัญญากลายเป็นพ้นวิสัย โดยมิใช่ความผิดของลูกหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากหน้าที่ชำระหนี้
• ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคหนึ่ง: คู่สัญญาในสัญญาต่างตอบแทนที่หลุดพ้นจากหน้าที่ชำระหนี้ ไม่มีสิทธิได้รับการชำระหนี้ตอบแทน
🏛 ดุลพินิจของศาล
• ศาลเห็นว่า การที่ที่ดินถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานภายหลัง ทำให้โจทก์ไม่สามารถก่อสร้างได้ตามสัญญา เป็นเหตุสุดวิสัย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ (ตามมาตรา 219)
• อย่างไรก็ดี สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนเพราะไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนค่าตอบแทนที่ได้จ่ายไว้แล้ว
• การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขอเรียกจำเลยร่วมเข้ามา แม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ก็ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีเหตุแห่งสิทธิเรียกไล่เบี้ยหรือขอค่าทดแทนที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 57(3)
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com
*****************************************
5. สิทธิในการใช้ทรัพย์ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร
และข้อจำกัดของที่ดินนอกโครงการ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
เกี่ยวกับกฎหมายการจัดสรรที่ดิน และสิทธิในการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางในโครงการจัดสรรที่ดินตาม พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
แยกข้อเท็จจริง
• จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
• โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินในโครงการจัดสรรฯ พร้อมบ้าน (โฉนดที่ 6516)
• ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดที่ 911 ซึ่งอยู่ “นอก” โครงการจัดสรร และไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
• ที่ดินโฉนด 911 มีเขตติดต่อกับโฉนด 6516
• โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วรวมแปลงให้เป็นผืนเดียวกัน และใช้ทางภายในหมู่บ้านเข้าถึงที่ดินโฉนด 911
• จำเลยไม่อนุญาตและห้ามการใช้ประโยชน์ในลักษณะดังกล่าว
แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ข้อกฎหมายหลัก คือ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดว่า ทรัพย์สินสาธารณูปโภคที่จัดไว้เพื่อการจัดสรร ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโครงการเท่านั้น
• ศาลพิเคราะห์ว่า การจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายย่อมมีการจัดสรรทางสาธารณูปโภค แผนผัง และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้เพื่อ เฉพาะผู้ซื้อที่ดินในโครงการจัดสรร
• เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 อยู่ นอกโครงการ แม้จะอยู่ติดกับที่ดินในโครงการก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลาง
• รั้วและถนนในโครงการเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน ผู้ใดจะเปลี่ยนแปลงหรือใช้งานโดยมิได้รับอนุญาตไม่ได้
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
• ที่ดินโฉนดเลขที่ 911 ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต
• โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการนั้น รวมถึงรื้อรั้วหรือใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินนอกโครงการ
• การกระทำเช่นนั้นอาจเป็นการเพิ่มภาระให้แก่โครงการโดยผิดกฎหมาย
📌 สรุป
ผู้ที่ซื้อที่ดินนอกโครงการจัดสรร ไม่อาจใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น ถนนหรือรั้วของโครงการหมู่บ้านจัดสรรเพื่อประโยชน์ของตนได้ แม้ที่ดินจะอยู่ติดกับโครงการ เพราะทรัพย์สินดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินภายในโครงการตามที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🔹 www.สู้คดี.com
🔹 www.ทนายภูวงษ์.com
****************************************
6. อำนาจตัวแทนช่วงกับสิทธิของโจทก์ร่วมในการฟ้องคดีขับไล่ผู้เช่าช่วง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
• กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน มาตรา 808
• กฎหมายว่าด้วยสัญญาเช่า มาตรา 569
• ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55,
57, 58, 477, 549
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 990/2558
✅ ข้อเท็จจริง
• โจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ซ. ดำเนินคดีแทน และอนุญาตให้ตั้งตัวแทนช่วงได้
• บริษัท ซ. ได้ตั้ง ข. เป็นตัวแทนช่วง
• ต่อมา ข. ได้ตั้ง อ. ให้ดำเนินการฟ้องคดีแทนตนอีกชั้นหนึ่ง
• โจทก์ร่วมขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีด้วย โดยอาศัยสิทธิร้องสอด
• จำเลยเป็นผู้เช่าช่วงจากบริษัท ว. ซึ่งได้เช่าห้องเช่าพิพาทจากโจทก์ร่วม
• ภายหลังสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ว. ได้ถูกยกเลิก
⚖️ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
(1) อำนาจตัวแทนช่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 808
• มาตรา 808 กำหนดให้ตัวแทนต้องกระทำการด้วยตนเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตให้ตั้งตัวแทนช่วง
• หนังสือมอบอำนาจให้บริษัท ซ. มีสิทธิแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ (คือ ข.)
• แต่ไม่มีข้อความให้อำนาจ ข. ตั้งตัวแทนช่วงซ้ำอีกต่อไป
• การที่ ข. แต่งตั้ง อ. อีกต่อหนึ่งจึงอยู่นอกขอบเขตอำนาจ
• ดังนั้น อ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ → โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
(2) โจทก์ร่วมในฐานะผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)
• โจทก์ร่วมร้องขอเข้าคดีโดยอ้างสิทธิของตน → ศาลถือว่าเป็นการร้องสอดตาม มาตรา 57(3)
• ผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57(3) มีสิทธิเสมือนฟ้องเองใหม่ตาม มาตรา 58
• แม้ฟ้องเดิมของโจทก์ไม่ชอบ โจทก์ร่วมก็มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้
(3) สิทธิฟ้องของโจทก์ร่วมในฐานะเจ้าของห้องเช่า
• จำเลยเป็นผู้เช่าช่วงโดยชอบจากบริษัท ว.
• แต่เมื่อสัญญาเช่าหลักระหว่างบริษัท ว. กับโจทก์ร่วมถูกเลิก
• ผู้เช่าช่วง (จำเลย) ย่อมหมดสิทธิในห้องเช่าตามไปด้วย
• จำเลยไม่สามารถยกสิทธิของผู้เช่าช่วงขึ้นต่อสู้ได้อีก
• โจทก์ร่วมมีสิทธิขอขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าได้
• อย่างไรก็ตาม โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เพราะมิได้ร้องขอในคำฟ้อง
📌 สรุป
• ตัวแทนช่วงจะตั้งตัวแทนช่วงต่ออีกชั้นได้ ต้องมีอำนาจชัดเจนจากต้นทาง
• หากเกินขอบเขตอำนาจ ตัวแทนช่วงชั้นที่สองไม่มีสิทธิฟ้อง
• ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) ยังมีอำนาจฟ้องได้เอง
• ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าหลัก เมื่อสัญญาเช่าหลักสิ้นสุดลงแล้ว
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***************************************
7. การนับอายุความในสัญญากู้ที่มีลักษณะต่อเนื่องตามเงื่อนไขของสัญญา
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญากู้เงิน และอายุความเรียกร้องตามสัญญากู้
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 5313/2551
▪️ ข้อเท็จจริง
• คู่สัญญาทำสัญญากู้เงิน โดยกำหนดให้ผู้กู้ชำระหนี้ภายใน 1 ปี และชำระดอกเบี้ยรายเดือน หากผิดนัดข้อใดข้อหนึ่ง ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และผู้ให้กู้สามารถเรียกหนี้คืนทั้งหมดได้ทันที
• แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า หากครบกำหนด 1 ปีแล้วฝ่ายใดไม่บอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญามีผลต่อไปอีกครั้งละ 1 ปี โดยอัตโนมัติ
• โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนในวันที่ 27 ม.ค. 2538 ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือเมื่อ 3 ก.พ. 2538 และมีผลเลิกสัญญาเมื่อ 10 ก.พ. 2538 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386
• โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2546
▪️ ข้อกฎหมาย
• ป.พ.พ. มาตรา 386 ว่าด้วยการบอกเลิกสัญญา
• ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) กำหนดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระไว้ที่ 5 ปี
• อายุความในการฟ้องเรียกต้นเงินกู้ทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือ 10 ปี
▪️ ดุลพินิจของศาล
• ศาลวินิจฉัยว่า แม้ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย แต่เนื่องจากสัญญามีเงื่อนไขให้สัญญาต่ออายุอัตโนมัติในแต่ละปีหากไม่มีฝ่ายใดบอกเลิก ดังนั้น แม้ผิดนัดดอกเบี้ย ก็ยังไม่ถือว่าสัญญาสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ
• การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ในวันที่ 27 ม.ค. 2538 มีผลเลิกสัญญาในวันที่ 10 ก.พ. 2538
• อายุความในการเรียกร้องเงินต้นเริ่มนับจากวันที่ 11 ก.พ. 2538 (วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้) และฟ้องภายในวันที่ 10 มิ.ย. 2546 ยังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
• ส่วนดอกเบี้ยที่เรียกร้องย้อนหลังเกินกว่า 5 ปีนับจากวันฟ้อง ถือว่าขาดอายุความแล้ว
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
8. สิทธิเรียกคืนโฉนดที่ดินจากผู้ยึดถือโดยไม่ชอบ แม้เป็นกรณีพิพาทมรดก
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่ง ว่าด้วยสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินและการถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 3429/2535
● ข้อเท็จจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ จำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินนั้นไว้ และไม่ยินยอมคืนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนโฉนด โดยไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิในตัวที่ดิน จำเลยอ้างว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดจากบิดาของโจทก์และจำเลย จึงยังไม่ควรคืนโฉนด
● ข้อกฎหมาย
• ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติว่า เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้ที่ยึดถือไว้โดยไม่มีสิทธิ
• ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยคือ โจทก์มีสิทธิเรียกคืน “โฉนดที่ดิน” ซึ่งเป็นเอกสารกรรมสิทธิ์ แม้จะมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวที่ดินว่าเป็นทรัพย์มรดกก็ตาม
● ดุลพินิจของศาล ศาลเห็นว่า:
• เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ และไม่มีการฟ้องแย้งหรือขอวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในตัวที่ดิน
• โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนตามกฎหมาย โดยข้ออ้างของจำเลยว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้น ไม่ใช่เหตุชอบด้วยกฎหมายในการยึดถือโฉนดไว้
• การเรียกร้องให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่แทน เป็นคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอก (เจ้าพนักงานที่ดิน) ที่ไม่ใช่คู่ความในคดี จึงไม่อาจบังคับได้ในคดีนี้
🔍 สรุป
แม้จะมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ตราบใดที่ชื่อในโฉนดระบุว่าเป็นของโจทก์ และไม่มีการฟ้องแย้งในเรื่องสิทธิในตัวที่ดิน จำเลยไม่มีสิทธิยึดโฉนดไว้ การเรียกคืนเอกสารโฉนดจึงเป็นสิทธิชอบธรรมของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***************************************
9. อายุความในคดีหมิ่นประมาท และข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในศาลแขวง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา – ว่าด้วยเรื่อง อายุความร้องทุกข์ในคดีอาญา กรณีความผิดอันยอมความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 (หมิ่นประมาท) และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 4099/2529
ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท (มาตรา 326) ซึ่งเป็น ความผิดอันยอมความได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเลยกำหนด 3 เดือนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 96 ประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นจึง ยกฟ้องโดยถือว่าคดีขาดอายุความ
โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงไม่ขาดอายุความ
ข้อกฎหมาย
ปัญหาว่า “คดีขาดอายุความหรือไม่” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท:
• หากยังโต้แย้งกันว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด = ปัญหาข้อเท็จจริง
• หากได้ข้อเท็จจริงชัดเจนแล้ว แต่โต้แย้งว่าอายุความเริ่มนับจากเมื่อใด = ปัญหาข้อกฎหมาย
ในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยและยุติว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2526 จึงถือว่าข้อเท็จจริงนี้ ยุติไปแล้ว
การที่โจทก์อุทธรณ์มาโดยอ้างว่า เพิ่งรู้เรื่องความผิดและผู้กระทำผิด จึงเป็นการ โต้แย้งข้อเท็จจริง ซึ่ง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม
• พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 มาตรา 22
• ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่า
• ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
• ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุความ ถือว่ายุติแล้ว
• โจทก์ ไม่มีสิทธิฎีกา
ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาใช้หลักการแบ่งแยกระหว่าง “ปัญหาข้อเท็จจริง” และ “ปัญหาข้อกฎหมาย” อย่างชัดเจน
โดยถือว่า เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเรื่องที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดแล้วและเป็นข้อเท็จจริง คำวินิจฉัยนั้น ถือเป็นที่สุด โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นดังกล่าวอีก
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ เช่น คดีอาญาอันยอมความได้ การยื่นร้องทุกข์ล่าช้า หรือปัญหาอายุความ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
10. ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องกรรมการบริษัท เมื่อมีหลักฐานจากทะเบียนผู้ถือหุ้นรับรอง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายบริษัทจำกัด, พยานหลักฐานเกี่ยวกับการถือหุ้น, และความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับบริษัทฯ พ.ศ. 2499
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 9709/2544
➤ ข้อเท็จจริง
• โจทก์อ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด และได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่แสดงรายการเงินลงทุน 15 ล้านบาทในงบดุล
• เอกสารหลักฐาน ได้แก่ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่จำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการลงชื่อรับรองว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียน
➤ ข้อกฎหมาย
• ป.พ.พ. มาตรา 1141: สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง
• พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนฯ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2): กำหนดให้ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในกรณีกรรมการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เช่น ไม่แสดงรายการสำคัญในงบดุล
➤ ดุลพินิจของศาล
• เมื่อจำเลยลงชื่อรับรองในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และไม่สามารถนำสืบหักล้างได้
➤ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจริง
• การที่จำเลยได้รับเงินลงทุนตามสัญญาเป็น 2 งวด แต่เป็นผลจากเจตนาที่มีต่อยอดรวม 15 ล้านบาท จึงเป็นการกระทำ “กรรมเดียว”
• การไม่ลงรายการเงินลงทุนในงบดุลของวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นการไม่แสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
✅ สรุป
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจริงตามทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงมีสถานะเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ในความผิดตามมาตรา 42 (2) ของ พ.ร.บ.บริษัทฯ จากการไม่แสดงรายการเงินลงทุนในงบดุล ซึ่งถือเป็นการกระทำกรรมเดียว แม้จะได้รับเงินแบ่งเป็นงวดก็ตาม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🔎 www.สู้คดี.com
🔎 www.ทนายภูวงษ์.com
***************************************
11. ผลของการถอนคำร้องทุกข์ภายหลังคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา – การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1201/2529
✅ ข้อเท็จจริง
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งกฎหมายให้อำนาจผู้เสียหายสามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ ต่อมาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังอยู่ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ และไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ยื่นขอถอนคำร้องทุกข์ในระยะเวลาดังกล่าว
✅ ข้อกฎหมาย
• ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)
ระบุว่า คดีอาญาระงับเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด
• การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังไม่พ้นกำหนดอุทธรณ์ ถือว่ายังไม่ถึงที่สุด
• เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด คดีถือว่าระงับไปโดยผลของกฎหมาย
✅ ดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ได้ แม้จะมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุดตามกฎหมาย ศาลอนุญาตให้ถอนคำร้องทุกข์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคำพิพากษาเดิม
ศาลวินิจฉัยว่า การถอนคำร้องทุกข์ก่อนที่คดีจะถึงที่สุด ย่อมทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาสิ้นสุดลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงระงับไปในตัวโดยผลของกฎหมาย ไม่ต้องมีการอุทธรณ์หรือฎีกาใด ๆ เพิ่มเติม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com
คำพิพากษาฎีกา
12. การเปลี่ยนบทลงโทษจากความผิดฐานยักยอกเป็นลักทรัพย์
14. การปลดหนี้โดยข้อความทางเฟซบุ๊กถือเป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยกเลิกหนี้ได้
15. เจ้าของโรงแรมต้องรับผิดฐานละเมิดเมื่อผู้เข้าพักจมน้ำเสียชีวิตในสระว่ายน้ำของโรงแรม
16. ตัวแทนกระทำเกินอำนาจ – การให้สัตยาบันโดยตัวการไม่ตัดสิทธิเรียกร้องความเสียหาย
17. ดอกเบี้ยที่คิดล่วงหน้าเกินกฎหมายตกเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นยังคงสมบูรณ์
18. ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เทียบเท่าลูกจ้างประจำ หากทำงานลักษณะเดียวกัน
19. อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสมอไป
20. แกล้งจ่ายค่าสินค้าราคาถูกแทนสินค้าแพง ไม่ใช่ฉ้อโกง แต่เป็นลักทรัพย์
21. หลอกลวงโดยระบบโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ถือเป็นความผิดฉ้อโกงประชาชน
22. การตายพร้อมกัน ไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกแทนที่ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
23. จำเลยหลีกเลี่ยงไม่รับหมายเรียก ศาลส่งโดยประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
24. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนใช้ยันในศาลได้ แม้ไม่มีพยานหักล้าง – ไม่ผิดฐานข่มขืนศพ
****************************************
12. การเปลี่ยนบทลงโทษจากความผิดฐานยักยอกเป็นลักทรัพย์ และการวินิจฉัยเมื่อข้อเท็จจริงแตกต่างในรายละเอียดไม่ใช่สาระสำคัญ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา – ความผิดฐานลักทรัพย์ และการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา –
อำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อหาที่แตกต่างจากฟ้องในรายละเอียด
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 4096/2557
✅ ข้อเท็จจริง
• ฮ. เป็นบุคคลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ และเป็นสามีภริยากับโจทก์ร่วมตามกฎหมายเนเธอร์แลนด์
• ฮ. ซื้อห้องชุดแต่ให้ จำเลย ถือกรรมสิทธิ์แทน (นิติกรรมอำพรางในทางแพ่ง) โดยจำเลยทำหน้าที่แทนเจ้าของเพียงชั่วคราว เช่น ถือกุญแจ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ
• ต่อมา จำเลยแจ้งความเท็จว่าเอกสารกรรมสิทธิ์หาย เพื่อขอหนังสือใหม่ แล้ว เปลี่ยนกุญแจ เข้าครอบครอง และนำไปขายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่แท้จริง (ฮ. และโจทก์ร่วม)
✅ ข้อกฎหมาย
• เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐาน ยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
• แต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้ครอบครองโดยสุจริตหรือโดยได้รับมอบจากเจ้าของโดยสมบูรณ์ การเข้าไปครอบครองด้วยอุบายเพื่อยึดกรรมสิทธิ์โดยเจ้าของที่แท้จริงไม่ยินยอม จึงเข้าข่าย ลักทรัพย์ ตามมาตรา 334
⚖ อ้างอิงบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:
• ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง-สาม
→ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริง แม้ต่างจากฟ้องในรายละเอียด หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
• ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225
→ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แม้ไม่มีฎีกา โดยไม่เพิ่มโทษให้หนักขึ้น
✅ ดุลพินิจของศาล
• ศาลวินิจฉัยว่า แม้ข้อหาในฟ้องคือ ยักยอก แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปครอบครองด้วยการแจ้งความเท็จและเจตนายึดทรัพย์ไปขาย เข้าข่ายลักทรัพย์
• การเปลี่ยนบทลงโทษจากยักยอกเป็นลักทรัพย์ ไม่ใช่การเปลี่ยนข้อหาหลัก แต่เป็น ความแตกต่างในรายละเอียดของพฤติการณ์ในคดี
• เมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ และไม่ได้เสียสิทธิในการต่อสู้คดี ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 และ 212 โดยไม่จำเป็นต้องมีฎีกาจากโจทก์หรือโจทก์ร่วม
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ เช่น มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ หรือคดีอาญาที่ต้องพิจารณาความแตกต่างของข้อหาทางกฎหมาย
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
14. การปลดหนี้โดยข้อความทางเฟซบุ๊กถือเป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยกเลิกหนี้ได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงิน การปลดหนี้ และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เกี่ยวข้องกับ:
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 ว่าด้วยการปลดหนี้
• พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
ข้อเท็จจริง
• จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เป็นจำนวน 595,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน
• จำเลยชำระดอกเบี้ยบางส่วน รวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 6,550 บาท แต่ไม่ชำระเงินต้น
• โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยทาง Facebook ว่า “เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว”
• โจทก์ยอมรับว่าเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวจริง
ข้อกฎหมาย
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340: การปลดหนี้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
• พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7-9: การแสดงเจตนาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถือว่าเป็นหลักฐานเป็นหนังสือได้หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ส่งเป็นใคร
ดุลพินิจของศาล
• ข้อความที่ส่งผ่าน Facebook มีชื่อผู้ส่งชัดเจน และโจทก์ยอมรับว่าเป็นผู้ส่งจริง
• ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้โดยมี “หลักฐานเป็นหนังสือ” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 340
• หนี้ที่จำเลยกู้ยืมจึงถือว่าระงับไปแล้ว
• โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้อีก
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
15. เจ้าของโรงแรมต้องรับผิดฐานละเมิดเมื่อผู้เข้าพักจมน้ำเสียชีวิตในสระว่ายน้ำของโรงแรม
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการละเมิด (มาตรา 420) ซึ่งเป็นการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน จากการกระทำหรือละเลยโดยประมาทที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต รวมถึงการพิจารณาหน้าที่ในการป้องกันอันตรายของผู้ประกอบการ (เจ้าของโรงแรม)
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
✅ ข้อเท็จจริง
• โจทก์พร้อมครอบครัวเข้าพักในโรงแรมจำเลยซึ่งมีสระว่ายน้ำลึกสูงสุด 2.55 เมตร
• ผู้ตายว่ายน้ำอยู่กลางสระ แล้วจมน้ำ
• ไม่มีเจ้าหน้าที่หรืออุปกรณ์ช่วยชีวิตในบริเวณสระ
• การช่วยเหลือของญาติไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ตายไว้ได้
• โจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของโรงแรม
✅ ข้อกฎหมาย
• แม้จะไม่มีระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่กำหนดให้โรงแรมต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยในสระว่ายน้ำ
• แต่การที่จำเลยเปิดให้บริการสระว่ายน้ำที่มีความเสี่ยงสูง ต้องถือว่ามีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งในการป้องกันอันตราย มิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการ
• จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ช่วยชีวิต และป้ายแสดงความลึก เป็นต้น
✅ ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
• สระว่ายน้ำของโรงแรมมีลักษณะอันตรายโดยเฉพาะส่วนที่ลึกมากและมีรูปทรงเป็นกรวย ทำให้การช่วยเหลือทำได้ยาก
• การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรืออุปกรณ์ช่วยชีวิต แสดงให้เห็นว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัย
• โจทก์และครอบครัวต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักโดยที่เหตุอันตรายนั้นสามารถป้องกันได้
• แม้ไม่มีข้อบังคับของ อบต. หรือเทศบาล แต่หน้าที่ในการป้องกันความเสียหายต่อบุคคลอื่นนั้นมีอยู่ตามหลักทั่วไปของกฎหมายละเมิด
สรุป ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานละเมิด ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการจมน้ำเสียชีวิตของผู้ตาย
📌 บทเรียนจากคดีนี้
• เจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเสี่ยงต่อชีวิต เช่น สระว่ายน้ำ ต้องเตรียมความพร้อมทั้งอุปกรณ์และบุคลากร แม้กฎหมายเฉพาะจะไม่มีการกำหนดไว้
• ความเสียหายที่เกิดจากการละเลยสามารถนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่มีบทบัญญัติหรือข้อบังคับเฉพาะรองรับ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
*************************************
16. ตัวแทนกระทำเกินอำนาจ – การให้สัตยาบันโดยตัวการไม่ตัดสิทธิเรียกร้องความเสียหาย และผลของการละเลยเรียกหนี้จนขาดอายุความ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับ “ตัวแทน” และ “ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน”
อ้างอิงบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812, 823
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1585/2529
✅ ข้อเท็จจริง
• จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารของโจทก์
• บริษัท บ. เป็นลูกค้าและได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยมี ส. เป็นผู้ค้ำประกันไว้ก่อน
• ต่อมา จำเลยที่ 1 อนุญาตให้บริษัท บ. เบิกเงินเกินบัญชี เกินวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งเป็น การกระทำเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขา
• บริษัท บ. ถึงแก่ความตาย
• โจทก์ทราบเรื่องแต่ ไม่ได้ดำเนินการเรียกหนี้จากกองมรดก หรือจากผู้ค้ำประกัน (ส.) จนคดีขาดอายุความ
• โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 (ผู้ค้ำประกันใหม่) เพื่อเรียกค่าเสียหาย
✅ ข้อกฎหมาย
• มาตรา 812: ตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ หากกระทำเกินอำนาจจนเกิดความเสียหาย
• มาตรา 823: หากตัวการให้สัตยาบันต่อการกระทำของตัวแทนที่เกินอำนาจ ย่อมมีผลให้ผูกพันตัวการโดยตรงและทำให้ตัวแทนไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
⚖️ ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่า:
• แม้จำเลยที่ 1 จะกระทำเกินขอบอำนาจ แต่เมื่อโจทก์ (ตัวการ) ให้สัตยาบันโดยไม่คัดค้าน และมีสิทธิที่จะดำเนินการฟ้องร้องเอาเงินคืนจากกองมรดกของบริษัท บ. หรือผู้ค้ำประกันคนเดิม แต่กลับ ละเลยและปล่อยให้สิทธิขาดอายุความ
• การกระทำดังกล่าวถือว่า โจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วยตนเอง
• จึง ไม่อาจเรียกร้องเอาความรับผิดจากจำเลยที่ 1 และ 2 ได้อีก
• จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทน ไม่ต้องรับผิด เนื่องจาก ตัวการละเลยไม่ป้องกันความเสียหายเอง
• จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องรับผิด เพราะหนี้ขาดอายุความไปแล้วและเกิดจากการละเลยของเจ้าหนี้เอง
📌 สรุป
คำพิพากษานี้ชี้ชัดว่า:
• การให้สัตยาบันของตัวการต่อการกระทำเกินอำนาจของตัวแทน แม้จะทำให้ตัวแทนพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
• แต่ไม่ทำให้ตัวแทนพ้นจากความรับผิดต่อตัวการ หากความเสียหายเกิดจากการกระทำนั้น
• อย่างไรก็ตาม หากตัวการ ละเลยไม่ดำเนินการบำบัดความเสียหาย เช่น ปล่อยให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
• ตัวแทนและผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
18. ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เทียบเท่าลูกจ้างประจำ หากทำงานลักษณะเดียวกัน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีแรงงาน – สิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคสอง
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1987/2558
▌ข้อเท็จจริง
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12, ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 เป็น ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ที่ทำงานในหน้าที่พนักงานขับรถและพนักงานคลังสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะงานเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 (ผู้ประกอบกิจการ) โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างโดยตรงที่ได้รับมอบหมายให้จัดหาคนงานจากจำเลยที่ 1
▌ข้อกฎหมาย
• มาตรา 11/1 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บัญญัติให้ ผู้ประกอบกิจการ ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากลูกจ้างทำงานเหมือนลูกจ้างโดยตรง
• การกำหนด วันเวลาทำงาน และ เงินค่าตอบแทน เป็นสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่ผู้ประกอบกิจการเลือกปฏิบัติไม่ได้
▌ดุลพินิจของศาล
• ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (โจทก์) ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ เช่นเดียวกันกับลูกจ้างโดยตรง หากมีลักษณะการทำงานเหมือนกัน
• การกำหนดเวลาทำงานที่มีผลต่อค่าตอบแทน เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน
• กรณี เงินโบนัส ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายตามระบบประเมินผลงานและผลประกอบการ ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่เหมือนกัน ศาลเห็นว่ามิใช่การเลือกปฏิบัติ เพราะบางปีลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ยังได้รับมากกว่าลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1
• ดังนั้น เฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบกิจการ จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 11/1 วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงนายจ้างโดยตรงที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
📌 สรุป
ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ย่อมมีสิทธิได้รับสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เป็นธรรมจากผู้ประกอบกิจการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ศาลวินิจฉัยว่าหน้าที่นี้เป็นของผู้ประกอบกิจการโดยตรง ไม่ใช่นายจ้างตามสัญญารับเหมาค่าแรง
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*****************************************
19. อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสมอไป
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายว่าด้วยประเด็น “อำนาจฟ้อง” และลักษณะของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีแพ่ง
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 2099/2552
ข้อเท็จจริง
ในคดีนี้ มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องนั้น แท้จริงแล้วเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท จ. หรือเป็นของโจทก์เอง หากโจทก์ซื้อแทนบริษัท จ. แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจในการฟ้องคดี บริษัท จ. ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง และโจทก์ก็จะไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยหยิบยกข้อนี้ขึ้นมาต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
โดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
หรือไม่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท จ.
ข้อกฎหมาย
ปัญหาอยู่ที่ว่า การที่จำเลยหยิบยกเรื่อง “อำนาจฟ้องของโจทก์” ในชั้นอุทธรณ์นั้น จะถือเป็นปัญหาที่สามารถยกขึ้นได้หรือไม่ หากไม่ใช่ “ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน” ซึ่งตามหลักในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเฉพาะในประเด็นที่คู่ความได้ยกขึ้นโดยชอบเท่านั้น เว้นแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง
ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ไม่ใช่ทุกกรณีของปัญหาอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งจะถือว่าเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี
ในคดีนี้ ศาลเห็นว่า ประเด็นที่จำเลยยกขึ้นมานั้น มิใช่ประเด็นที่กระทบถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเพียงข้อพิพาททางแพ่งระหว่างคู่ความเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์และอำนาจการฟ้องคดีของโจทก์โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้ หากคู่ความมิได้ยกขึ้นมาโดยชอบก่อน
สรุป
คำพิพากษานี้ยืนยันหลักว่า “อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่ง” ไม่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทุกกรณี หากเป็นเพียงข้อพิพาทระหว่างคู่ความ โดยไม่กระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะหรือความสงบเรียบร้อยของรัฐ ศาลอุทธรณ์จะไม่สามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
20. แกล้งจ่ายค่าสินค้าราคาถูกแทนสินค้าแพง ไม่ใช่ฉ้อโกง แต่เป็นลักทรัพย์
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานฉ้อโกง
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 3935/2553
ข้อเท็จจริง
จำเลยไปที่ร้านของผู้เสียหาย และนำสุราต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่า ไปซุกซ่อนไว้ในลังน้ำปลา แล้วนำไปให้พนักงานแคชเชียร์คิดเงินโดยชำระเงินในราคาน้ำปลาเท่านั้น
จำเลยจงใจใช้วิธีนี้เพื่อให้ได้สุราต่างประเทศไปในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
โดยอาศัยความไม่รู้ของพนักงานแคชเชียร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหาย
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา แบ่งแยกความผิดระหว่าง:
• มาตรา 334: ความผิดฐานลักทรัพย์ – การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต โดยเจ้าของไม่ยินยอม
• มาตรา 341: ความผิดฐานฉ้อโกง – การแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริง โดยเจ้าของทรัพย์สมัครใจยินยอมโอนทรัพย์จากความหลงผิด
ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
• พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่ามี เจตนาทุจริตตั้งแต่ต้น ที่จะเอาทรัพย์ (สุราต่างประเทศ) ไปโดยไม่ชำระเงินตามความเป็นจริง
• การใส่สุราไว้ในลังน้ำปลา แล้วนำไปชำระเงินเพียงราคาน้ำปลา เป็น กลอุบายเพื่ออำพรางการลักทรัพย์
• พนักงานแคชเชียร์ไม่ได้มีเจตนาจะส่งมอบสุราให้จำเลย เพราะไม่รู้ว่าในลังมีสุราแอบซ่อนอยู่
⇒ ดังนั้น พนักงานไม่ได้ “สมัครใจโอนทรัพย์” จากความหลงผิด
⇒ ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
คำวินิจฉัย:
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ลักทรัพย์ (มาตรา 334)
ไม่ใช่ความผิดฐาน ฉ้อโกง (มาตรา 341)
สรุป
การใช้กลอุบายหลอกพนักงานให้คิดค่าสินค้าราคาถูกแทนสินค้าราคาแพง โดยที่พนักงานไม่รู้ตัว ไม่ถือเป็นการฉ้อโกงเพราะไม่มีการยินยอมโดยหลงผิด แต่ถือว่า จำเลยลักทรัพย์โดยทุจริต เป็นความผิดตามมาตรา 334
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
21. หลอกลวงโดยระบบโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ถือเป็นความผิดฉ้อโกงประชาชน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 – ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 831/2559 (ย่อสั้น)
ข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดตั้งระบบโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ เพื่อสุ่มโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังประชาชนในไทย โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือธนาคาร แล้วหลอกให้เหยื่อตกใจว่าเป็นหนี้หรือมีธุรกรรมผิดปกติ พร้อมแนะนำให้เหยื่อกดรหัสผ่าน บัญชี หรือข้อมูลสำคัญ อ้างว่าเพื่อป้องกันการถูกถอนเงิน
ข้อกฎหมาย
มาตรา 343 ถือเอาเจตนา “หลอกลวงต่อประชาชน” เป็นหลัก แม้ไม่มีการเจาะจงหลอกลวงบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่การสุ่มไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไปถือว่าเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน
ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่า
• วิธีการหลอกลวงมีเจตนา ต่อประชาชนทั่วไป โดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจงเหยื่อรายใด
• ใช้ระบบเทคโนโลยีสุ่มข้อมูล จึงถือว่าเป็น การหลอกลวงแบบครอบคลุมประชาชน
⇒ เข้าข่ายความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343
สรุป
การสุ่มโทรศัพท์หรือส่งข้อความหลอกลวงประชาชนจำนวนมากทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือธนาคาร ถือเป็นการหลอกลวงต่อประชาชนทั่วไป ไม่ต้องเจาะจงบุคคลใด จึงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายอาญา
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
22. การตายพร้อมกัน ไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกแทนที่ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการรับมรดกแทนที่ และสภาพบุคคลในการเป็นทายาท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยอำนาจฟ้อง และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 13129/2556 (ย่อสั้น)
ข้อเท็จจริง
• ธ. เป็นบุตรของ ก.
• ธ. และ ก. ถึงแก่ความตายในเวลาเดียวกัน
• โจทก์เป็นบุตรของ ธ. ยื่นฟ้องเรียกมรดกจาก ก.
ข้อกฎหมาย
• ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15: บุคคลผู้ตายไม่มีสภาพบุคคลอีกต่อไป
• และ มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง: ต้องมีชีวิตอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงจะเป็นทายาทได้
• มาตรา 1639 กรณีรับมรดกแทนที่ ต้องมีเงื่อนไขว่าทายาทเดิมตาย “ก่อน” เจ้ามรดก
กรณีนี้ ธ. และ ก. ตาย “พร้อมกัน” จึงถือว่าไม่มีใครตายก่อนใคร → ไม่เข้าเงื่อนไขรับมรดกแทนที่
ดุลพินิจของศาล
• ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นหลานของ ก. ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. (บิดาของโจทก์)
• โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ ก.
• ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้ เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
⇒ ศาลฎีกาจึงสามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้คู่ความจะไม่ยกขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
สรุป
เมื่อบิดาและปู่ตายพร้อมกัน หลานไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดา เพราะไม่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายมรดก และศาลฎีกาสามารถหยิบปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
23. จำเลยหลีกเลี่ยงไม่รับหมายเรียก ศาลส่งโดยประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง – การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง, การขอพิจารณาคดีใหม่ในกรณีจำเลยขาดนัด
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 989/2531
ข้อเท็จจริง:
เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยได้ เนื่องจากบ้านของจำเลยถูกรื้อถอนไปแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีที่อยู่ใหม่แน่นอน โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งโดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์แทน ซึ่งศาลอนุญาต
ต่อมา จำเลยทราบว่าตนถูกฟ้องคดี แต่ได้ย้ายออกจากภูมิลำเนาเดิมโดยไม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อหรือส่งหมายถึงได้ จึงไม่ได้มาศาลในวันนัดพิจารณาและถูกพิพากษาโดยขาดนัด จำเลยจึงยื่นขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าไม่ได้รับหมาย
ข้อกฎหมาย:
• ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง: หากไม่สามารถส่งหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยได้โดยแท้จริง ศาลสามารถสั่งให้ส่งโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ได้
• ประเด็นเรื่องการขาดนัดโดย “จงใจ” หากจำเลยรู้อยู่แล้วว่ามีการส่งหมายและมีเจตนาไม่มาศาล การอ้างว่าไม่ได้รับหมายไม่สามารถใช้เป็นเหตุขอพิจารณาคดีใหม่ได้
ดุลพินิจของศาล:
ศาลเห็นว่า การส่งหมายโดยหนังสือพิมพ์ในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย
เพราะไม่สามารถส่งโดยปกติได้
อีกทั้งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ามีคดีแต่หลีกเลี่ยงการรับหมายและไม่แสดงภูมิลำเนาใหม่
จึงถือว่าทราบนัดแล้วแต่ “จงใจขาดนัด” ไม่อาจอ้างเหตุเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่ได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ เช่น ไม่ได้รับหมายเรียก หรือถูกดำเนินคดีโดยที่ไม่ทราบเรื่อง ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
24. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนใช้ยันในศาลได้ แม้ไม่มีพยานหักล้าง – ไม่ผิดฐานข่มขืนศพ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา – ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น, ข่มขืนกระทำชำเรา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา – คำรับสารภาพและพยานหลักฐาน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ – สถานะของบุคคล
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 7144/2545
ข้อเท็จจริง:
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าเป็นผู้ฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย และยังได้นำเจ้าหน้าที่ไปชี้จุดเกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้บันทึกและถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ ยังมีผลตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ที่พบว่าคราบเลือดบนกางเกงชั้นในของจำเลยตรงกับดีเอ็นเอของผู้ตาย
ในชั้นพิจารณาคดี จำเลยไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานใดมาหักล้างพยานของฝ่ายโจทก์
ข้อกฎหมาย:
• ป.วิ.อาญา มาตรา 134: คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยสามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
• ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง: พยานหลักฐานที่นำมาสืบหากมีน้ำหนักพอ ศาลอาจรับฟังและลงโทษได้
• ป.พ.พ. มาตรา 15: บุคคลเริ่มมีสภาพเป็นบุคคลเมื่อคลอดและมีชีวิต และสิ้นสุดความเป็นบุคคลเมื่อถึงแก่ความตาย
ดุลพินิจของศาล:
ศาลรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนประกอบกับพยานแวดล้อมและพยานทางวิทยาศาสตร์ เห็นว่าเพียงพอที่จะพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยได้ จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานมาหักล้างโจทก์ จึงให้รับฟังได้
อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยจะมีเจตนาข่มขืน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อน จึงไม่มีสภาพความเป็น “บุคคล” อีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา เพราะไม่สามารถข่มขืน “บุคคล” ที่เสียชีวิตแล้วได้ตามกฎหมาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักกำลังเผชิญคดีอาญาร้ายแรง หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้คำให้การในชั้นสอบสวนและสิทธิในการต่อสู้คดี ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
คำพิพากษาฎีกา
25. ขยายเวลาอุทธรณ์แล้ว ต้องยื่นภายในวันที่ครบกำหนดใหม่ มิอาจอ้างวันหยุดตามมาตรา 193-8 ได้
26. ผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้าปลอดภัย จึงไม่มีความรับผิด – ข้าวสารบรรจุถุงมีเชื้อรา ไม่ใช่ความรับผิดของผู้ผลิต
27. ข้อสัญญาจ้างทนายความที่ให้ส่วนแบ่งจากทรัพย์สินคดี ถือเป็นโมฆะเพราะขัดจริยธรรมและศีลธรรมอันดี
28. สิทธิของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง กับการยกอายุความขึ้นต่อสู้แทนเจ้าหนี้เดิม
29. การร้องเรียนเจ้านายโดยสุจริต ย่อมไม่เป็นหมิ่นประมาทหรือแจ้งความเท็จ
30. ครูสั่งนักเรียนวิ่งกลางแดดจนเสียชีวิต เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หน่วยงานรัฐต้องรับผิด
31. สิทธิร้องทุกข์ของผู้เช่าซื้อกรณีถูกหลอกให้ขายดาวน์รถยนต์ – ฉ้อโกงโดยผู้ซื้อดาวน์
32. ฐานะของประกาศหัวหน้าคณะปฏิวัติในทางกฎหมายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
33. พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ย่อมรับผิดฐานยักยอกได้
34. สัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไข หากทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้อง
**************************************
25. ขยายเวลาอุทธรณ์แล้ว ต้องยื่นภายในวันที่ครบกำหนดใหม่ มิอาจอ้างวันหยุดตามมาตรา 193/8 ได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ – การคำนวณระยะเวลาในการอุทธรณ์คำพิพากษา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง – การขอขยายเวลาอุทธรณ์และผลทางกฎหมายของการยื่นเกินกำหนด
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1676/2543
ข้อเท็จจริง:
• ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังวันที่ 30 ธันวาคม 2541
• จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน คือ วันที่ 30 มกราคม 2542
• ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 28 มกราคม 2542 โดยขอให้เริ่มนับจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542
• ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปอีก 10 วันนับแต่วันครบกำหนด คือครบวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 (เป็นวันทำการปกติ)
• แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 เกินจากกำหนดที่ขยายแล้วถึง 2 วัน
ข้อกฎหมาย:
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8: ใช้ในกรณีวันสุดท้ายของ “ระยะเวลาตามกฎหมาย” ตรงกับวันหยุด จึงให้ถือว่าวันเปิดทำการเป็นวันสุดท้ายแทน
• แต่หาก “มีการขยายระยะเวลาโดยคำสั่งศาล” วันสุดท้ายที่ขยายให้นั้นถือเป็นวันสุดท้ายโดยเฉพาะเจาะจง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/8
• การยื่นอุทธรณ์เกินวันดังกล่าวถือว่า พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แม้จะเป็นเพียง 1-2 วันก็ตาม
ดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งเป็นวันทำการปกติ แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 จึงพ้นกำหนด แม้จะอ้างว่าวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดก็ไม่อาจอ้างมาตรา 193/8 ได้ เพราะไม่ได้เป็น “ระยะเวลาทางกฎหมาย” แต่เป็นระยะเวลาที่ “ศาลกำหนดให้โดยคำสั่ง” เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีที่มีเงื่อนเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา ขอให้รีบปรึกษาทนายความแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในทางคดี ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
26. ขยายเวลาอุทธรณ์แล้ว ต้องยื่นภายในวันที่ครบกำหนดใหม่ มิอาจอ้างวันหยุดตามมาตรา 193-8 ได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ – การคำนวณระยะเวลาในการอุทธรณ์คำพิพากษา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง – การขอขยายเวลาอุทธรณ์และผลทางกฎหมายของการยื่นเกินกำหนด
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1676/2543
ข้อเท็จจริง:
• ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังวันที่ 30 ธันวาคม 2541
• จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน คือ วันที่ 30 มกราคม 2542
• ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 28 มกราคม 2542 โดยขอให้เริ่มนับจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542
• ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปอีก 10 วันนับแต่วันครบกำหนด คือครบวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 (เป็นวันทำการปกติ)
• แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 เกินจากกำหนดที่ขยายแล้วถึง 2 วัน
ข้อกฎหมาย:
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8: ใช้ในกรณีวันสุดท้ายของ “ระยะเวลาตามกฎหมาย” ตรงกับวันหยุด จึงให้ถือว่าวันเปิดทำการเป็นวันสุดท้ายแทน
• แต่หาก “มีการขยายระยะเวลาโดยคำสั่งศาล” วันสุดท้ายที่ขยายให้นั้นถือเป็นวันสุดท้ายโดยเฉพาะเจาะจง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/8
• การยื่นอุทธรณ์เกินวันดังกล่าวถือว่า พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แม้จะเป็นเพียง 1-2 วันก็ตาม
ดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งเป็นวันทำการปกติ แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 จึงพ้นกำหนด แม้จะอ้างว่าวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดก็ไม่อาจอ้างมาตรา 193/8 ได้ เพราะไม่ได้เป็น “ระยะเวลาทางกฎหมาย” แต่เป็นระยะเวลาที่ “ศาลกำหนดให้โดยคำสั่ง” เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีที่มีเงื่อนเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา ขอให้รีบปรึกษาทนายความแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในทางคดี ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
27. ข้อสัญญาจ้างทนายความที่ให้ส่วนแบ่งจากทรัพย์สินคดี ถือเป็นโมฆะเพราะขัดจริยธรรมและศีลธรรมอันดี
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และ หลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความ
โดยเฉพาะเรื่อง ความชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมของข้อตกลงจ้างว่าความที่ให้ทนายความได้ส่วนแบ่งจากผลคดี
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1260/2543
➤ ข้อเท็จจริง
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยซึ่งเป็นทนายความให้ดำเนินคดีเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส โดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยว่าความชนะและลูกความได้รับแบ่งสินสมรส จำเลยจะได้รับสินจ้างเพิ่มอีก ร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลูกความได้รับ
➤ ข้อกฎหมาย
• พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ห้ามบุคคลที่ไม่เป็นทนายความกระทำการในทางคดีให้ผู้อื่น และกำหนดหน้าที่และความประพฤติของทนายความ
• ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529
• หลักทั่วไปของกฎหมายแพ่ง ว่าด้วย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
➤ ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่าแม้ข้อบังคับมรรยาททนายความฉบับ พ.ศ. 2529 ไม่ได้ห้ามอย่างชัดแจ้ง ไม่ให้ทนายความทำสัญญารับส่วนแบ่งจากผลคดี แต่การกระทำเช่นนี้ เป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความพึงต้องดำรงไว้ เนื่องจากทนายความเป็นผู้มีบทบาทเสมือนเจ้าหน้าที่ของศาลในการอำนวยความยุติธรรม
การที่ทนายความมีส่วนได้เสียจากผลแห่งคดีโดยตรง อาจทำให้การดำเนินคดี ขาดความเที่ยงธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงวินิจฉัยว่า ข้อสัญญาดังกล่าว เป็นโมฆะตามกฎหมาย
สรุป
ข้อตกลงว่าจ้างทนายความที่กำหนดให้ทนายความได้รับส่วนแบ่งจากผลแห่งคดี ถือเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อจริยธรรมและศีลธรรมอันดี แม้จะไม่ถูกลงโทษทางวินัยก็ตาม แต่ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
📞 ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
🔎 ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**************************************
28. สิทธิของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง กับการยกอายุความขึ้นต่อสู้แทนเจ้าหนี้เดิม
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ — ว่าด้วยเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง, อายุความในการเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของ
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 3316/2540
➤ ข้อเท็จจริง
จำเลยมีสัญญาจ้างทำของกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. โดย หจก.อ. เป็นผู้ประกอบการค้า ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลย
ต่อมา โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากหจก.อ. แล้วนำมาฟ้องเรียกค่าจ้างต่อจำเลยในศาล
➤ ข้อกฎหมาย
• การโอนสิทธิเรียกร้อง ตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 เป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลงสภาพของสิทธิ
• มาตรา 193/34 (1) กำหนดว่า การเรียกร้อง “ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของ” ที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอา มีอายุความ 2 ปี
• มาตรา 193/12 กำหนดให้นับอายุความจากวันที่สามารถบังคับสิทธิได้ (เช่น ครบกำหนดชำระค่าจ้างแต่ละงวด)
➤ ดุลพินิจของศาล
ศาลวินิจฉัยว่า
• ผู้รับโอนสิทธิ (โจทก์) ได้สิทธิในสภาพเดิมตามที่เจ้าหนี้เดิม (หจก.อ.) มีอยู่
• ดังนั้น จำเลยสามารถ ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ที่มีต่อเจ้าหนี้เดิมมาใช้ต่อสู้กับผู้รับโอนสิทธิได้
• สิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่หจก.อ.มีต่อจำเลยนั้น มีอายุความ 2 ปี
• เมื่อโจทก์ฟ้องหลังพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่ครบกำหนดค่าจ้างแต่ละงวด จึงขาดอายุความ
• ศาลพิพากษาให้ยกฟ้อง
📌 สรุป:
การโอนสิทธิเรียกร้องไม่ได้ทำให้สิทธิที่โอนไปมีสถานะดีขึ้นกว่าที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ ลูกหนี้ยังสามารถยกอายุความหรือข้อต่อสู้อื่นขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้เช่นเดิม หากสิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่ออยู่ในมือเจ้าหนี้เดิมแล้ว การโอนสิทธินั้นไปยังผู้อื่นก็ไม่ทำให้สิทธิฟื้นขึ้นมาใหม่ได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
29. การร้องเรียนเจ้านายโดยสุจริต ย่อมไม่เป็นหมิ่นประมาทหรือแจ้งความเท็จ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญา โดยเฉพาะ ความผิดฐานหมิ่นประมาท และ ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 329 และ มาตรา 137, 172 ว่าด้วยข้อยกเว้นความผิดหากผู้กระทำมีเจตนาสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือส่วนตนที่ชอบด้วยคลองธรรม
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
➤ ข้อเท็จจริง
• โจทก์เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
• จำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยพยาบาลชั่วคราว
• จำเลยที่ 2 ถึง 7 เป็นนายแพทย์ อยู่ใต้บังคับบัญชาโจทก์
• จำเลยร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อหน่วยงานต้นสังกัด กล่าวหาว่าโจทกรับสินบนในการรับคนเข้าทำงาน และมีพฤติกรรมชู้สาวที่ผิดศีลธรรม
• จำเลยส่งเทปบันทึกเสียงประกอบคำร้อง
• กระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
• ข่าวร้องเรียนปรากฏในหนังสือพิมพ์
• โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดในข้อหาหมิ่นประมาทและแจ้งความเท็จ
➤ ข้อกฎหมาย
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1)(3) ระบุว่า
ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือติชมด้วยความเป็นธรรมเพื่อ… (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตน หรือรักษาผลประโยชน์อันชอบธรรมของตนตามคลองธรรม หรือ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ
ย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
➤ ดุลพินิจของศาล
• ศาลเห็นว่า พฤติการณ์ที่จำเลยร้องเรียนโจทก์นั้น สืบเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือข้อสงสัยที่มีมูล
• จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
• การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงของโจทก์ เป็นการดำเนินการภายใต้สิทธิและหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา
• แม้มีการแนบหลักฐานหรือพูดเสริม แต่ก็เป็นไปเพื่อสนับสนุนข้อร้องเรียน มิใช่การใส่ร้ายป้ายสีโดยเจตนาร้าย
• พฤติกรรมของจำเลยเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329 (1)(3) จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
• และไม่เข้าข้อความผิดฐานแจ้งความเท็จ เนื่องจากมีมูลความจริงเป็นพื้นฐานและกระทำโดยสุจริต
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ เช่น ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหรือถูกกล่าวหาว่าแจ้งความเท็จจากการร้องเรียนในที่ทำงาน หรือการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
30. ครูสั่งนักเรียนวิ่งกลางแดดจนเสียชีวิต เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หน่วยงานรัฐต้องรับผิด
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด มาตรา 420 และมาตรา 76
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 5129/2546
ข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นครูสอนวิชาพลศึกษาที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง สั่งให้นักเรียนชายอายุระหว่าง 11-12 ปี วิ่งรอบสนาม 3 รอบเพื่ออบอุ่นร่างกาย ต่อมาเมื่อวิ่งไม่เป็นระเบียบ ได้สั่งเพิ่มอีก 3 รอบ รวม 6 รอบ และยังสั่งอีก 3 รอบ จนถึงรอบที่ 11 ทำให้นักเรียนชายคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคหัวใจล้มลงและเสียชีวิต
ข้อกฎหมาย
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ว่าด้วยการกระทำละเมิด
• มาตรา 76 ว่าด้วยความรับผิดของตัวแทนหน่วยงานรัฐ
• พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ห้ามมิให้ฟ้องเจ้าหน้าที่หากการกระทำนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่
ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
• ศาลวินิจฉัยว่า การสั่งวิ่งรอบสนามช่วงแรกเป็นการอบอุ่นร่างกาย เป็นสิ่งสมควร
• แต่การสั่งให้วิ่งต่อเนื่องหลายรอบในช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด โดยไม่คำนึงถึงสภาพร่างกายของเด็กนักเรียน ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ
• แม้ครูจะไม่ทราบว่าเด็กมีโรคหัวใจ แต่ครูในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวัง โดยเฉพาะการออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง
• การกระทำนี้ถือว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ และ จำเลยที่ 2 คือกรมสามัญศึกษา (รัฐ) ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ (มารดาผู้เสียชีวิต) ตามมาตรา 76
• ถึงแม้จะมีเงินช่วยเหลืองานศพจากบุคคลภายนอก ก็ไม่สามารถนำมาหักล้างหรือทำให้ความรับผิดของรัฐลดลงได้
• ศาลยังชี้ว่าแม้เด็กจะยังไม่มีรายได้จริงในขณะนั้น แต่ มารดาก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมค่าขาดไร้อุปการะ
• ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีเจตนาหวังดี สอนนักเรียนตามวิสัยครู แต่การกระทำยังถือว่าประมาท แม้ไม่ถึงขั้นจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรง
• เมื่อมี พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ ศาลจึงห้ามมิให้ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐแทน
📌 สรุป
การกระทำของครูในการสั่งลงโทษนักเรียนโดยการให้วิ่งกลางแดดจัดหลายรอบจนทำให้นักเรียนเสียชีวิต ถือเป็นความประมาท แม้จะไม่มีเจตนา แต่หน่วยงานต้นสังกัดยังต้องรับผิดตามกฎหมาย มารดาสามารถฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากกรมสามัญศึกษาในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ครูปฏิบัติหน้าที่อยู่
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
📞 ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
31. สิทธิร้องทุกข์ของผู้เช่าซื้อกรณีถูกหลอกให้ขายดาวน์รถยนต์ – ฉ้อโกงโดยผู้ซื้อดาวน์
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายอาญา เรื่องความผิดฐานฉ้อโกง และสิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
▪ ข้อเท็จจริง
จำเลยกับพวกได้หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย โดยในสัญญาเช่าซื้อระบุห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อจำหน่ายรถยนต์ให้บุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายได้แจ้งบริษัทผู้ให้เช่าซื้อถึงความประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลยแล้ว ก่อนการจำหน่ายดาวน์ดังกล่าว
▪ ข้อกฎหมาย
• ปัญหาแรกคือ การกระทำของจำเลยเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือไม่
• ปัญหาต่อมาคือ ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อที่กระทำการขัดต่อสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จะถือเป็น “ผู้เสียหาย” ที่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาได้หรือไม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)
▪ ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
• แม้ผู้เสียหายจะฝ่าฝืนข้อสัญญาเช่าซื้อโดยการนำรถไปจำหน่ายให้จำเลย ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างผู้เสียหายกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ มิใช่การสมคบกับจำเลยในการฉ้อโกง
• ผู้เสียหายยังคงมีฐานะเป็น ผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ในฐานะผู้เช่าซื้อ อยู่ขณะถูกฉ้อโกง
• จำเลยกับพวกมีพฤติกรรม หลอกลวงโดยตรงต่อผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายโอนผลประโยชน์จากการเช่าซื้อรถไปให้ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อผู้เสียหายโดยตรง
• ผู้เสียหายจึงมี สถานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยได้
สรุป
คำพิพากษานี้ยืนยันว่า แม้ผู้เสียหายจะกระทำการขัดต่อข้อสัญญาเช่าซื้อ แต่หากไม่ได้ร่วมกระทำผิดฐานฉ้อโกงกับจำเลย การถูกหลอกให้โอนประโยชน์จากรถยนต์จึงถือเป็นการเสียหายโดยตรง ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
32. ฐานะของประกาศหัวหน้าคณะปฏิวัติในทางกฎหมายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลักการอำนาจในการออกกฎหมายของคณะปฏิวัติ
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1662/2505
ข้อเท็จจริง:
ในคดีนี้ มีประเด็นว่าคำสั่งหรือประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ไม่ได้ออกโดยกระบวนการนิติบัญญัติปกติ (เช่น ผ่านรัฐสภาหรือพระมหากษัตริย์) นั้นมีสถานะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้หรือไม่ ภายหลังการยึดอำนาจสำเร็จของคณะปฏิวัติ
ข้อกฎหมาย:
ปัญหาหลักในคดีนี้คือ “สถานะของกฎหมายหรือคำสั่งที่ออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติหลังการยึดอำนาจ” ว่าถือเป็นกฎหมายที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะในบริบทที่มิได้ออกตามระบบรัฐธรรมนูญเดิม เช่น ผ่านพระมหากษัตริย์ หรือโดยความเห็นชอบของสภา
ดุลพินิจของศาลและเหตุผล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อคณะปฏิวัติสามารถยึดอำนาจได้ “เป็นผลสำเร็จ” แล้ว การใช้อำนาจปกครองของหัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีผลในทางกฎหมายในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในช่วงเวลาดังกล่าว
ศาลให้เหตุผลว่า “ประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีผลบังคับแก่ประชาชน ถือเป็นกฎหมาย” ไม่ว่าจะไม่ได้ตราขึ้นโดยผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติปกติก็ตาม กล่าวคือ เป็นการรับรองหลัก “ความชอบธรรมโดยผล” (De facto recognition) ของอำนาจใหม่ตามหลักกฎหมายมหาชน ซึ่งยอมรับว่าเมื่ออำนาจใหม่ควบคุมประเทศได้โดยสมบูรณ์แล้ว คำสั่งของอำนาจนั้นมีสถานะเป็นกฎหมายที่ใช้ได้ตามสภาพการณ์
📌 สรุป:
คำพิพากษานี้รับรองหลักการสำคัญว่า “เมื่อคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศได้โดยสมบูรณ์แล้ว คำสั่งหรือประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติมีผลเป็นกฎหมาย แม้จะไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติปกติก็ตาม” ถือเป็นการรับรองความชอบด้วยกฎหมายของอำนาจรัฐใหม่ในทางพฤตินัย เพื่อความมั่นคงในการปกครอง
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหากฎหมายรัฐธรรมนูญ อำนาจตามประกาศ หรือปัญหาการใช้กฎหมายในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
33. พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ย่อมรับผิดฐานยักยอกได้
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157, 161, 264, 268, 137 และ 352 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ว่าด้วยสถานะของพนักงานมหาวิทยาลัยว่าอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. หรือไม่ รวมถึงปัญหาการเบียดบังเงินงบประมาณแผ่นดิน
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
✅ ข้อเท็จจริง
จำเลยเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ รับผิดชอบด้านการเบิก–จ่าย ตรวจสอบ ติดตามเงินยืมและตัดยอดเงินยืม
จำเลยได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับงานการเงินโดยมิชอบ และมีการเบียดบังเงินงบประมาณแผ่นดินจำนวนหนึ่ง
โจทก์ (มหาวิทยาลัย) จึงฟ้องจำเลยว่ากระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 (เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์)
✅ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
ประเด็นที่ 1: จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. หรือไม่
• ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยเป็น “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” ตาม พ.ร.บ.ฯ ปี 2547
• มิใช่ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา”
• พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประเภท “เงินเดือนราชการ” แต่เป็นค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างจากเงินอุดหนุนหรือเงินรายได้มหาวิทยาลัย
• จึง ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 147, 157, 161 ได้
ประเด็นที่ 2: จำเลยปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม หรือแจ้งความเท็จหรือไม่
• แม้จำเลยบันทึกข้อมูลเท็จลงในเอกสารราชการ แต่เป็นผู้จัดทำเอกสารด้วยตนเอง และไม่ได้แจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานอื่น
• ศาลวินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 137
ประเด็นที่ 3: ใครเป็นผู้เสียหาย และจำเลยมีความผิดฐานใด
• แม้จำเลยเบียดบังเงินที่มีชื่อ ธ. เป็นผู้รับเงิน แต่เงินนั้นเป็นของโจทก์ โดย ธ. เพียงได้รับมอบหมายให้ไปรับและนำไปใช้หนี้
• โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง
• แม้ฟ้องฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก (ม.147) แต่เมื่อพฤติการณ์เข้าข่าย ความผิดฐานยักยอกของบุคคลธรรมดา (ม.352) และมีการระบุข้อเท็จจริงในฟ้องไว้ครบถ้วน
• ศาลสามารถลงโทษในฐานความผิดที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. ม.192 วรรคท้าย ประกอบ ม.215 และ ม.225
🔚 สรุป
แม้พนักงานมหาวิทยาลัยจะไม่มีสถานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. แต่หากกระทำการเบียดบังเงินของสถาบัน ก็สามารถถูกลงโทษฐาน ยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 352 ได้ ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องแม้ฟ้องระบุผิดฐานความผิด
📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🔎 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
34. สัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไข หากทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้อง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งว่าด้วยสัญญาแลกเปลี่ยน/สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และหลักสัญญาต่างตอบแทน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370, 371 และ 372
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
✅ ข้อเท็จจริง
• โจทก์ตกลงขายรถยนต์เฟี้ยตให้จำเลย ราคา 55,000 บาท
• จำเลยชำระเป็น เงินสด 20,000 บาท + รถยนต์ออสตินตีราคา 35,000 บาท
• ทั้งสองฝ่ายได้ส่งมอบเงินสดและรถยนต์ให้แก่กันแล้ว
• แต่มีเงื่อนไขว่า จะโอนกรรมสิทธิ์เมื่อโจทก์ผ่อนชำระและรับโอนทะเบียนรถยนต์เฟี้ยตจากกรมสวัสดิการเรียบร้อยแล้ว
• ระหว่างนั้น รถเฟี้ยตที่อยู่กับจำเลย เกิดเพลิงไหม้เสียหายโดยไม่ใช่ความผิดของใคร
⚖ ข้อกฎหมาย
• มาตรา 370 และ 371: กล่าวถึงกรณีสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโอนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สูญหายก่อนถึงเวลาโอน จะถือว่าเป็นโมฆะ หรือไม่สมบูรณ์
• มาตรา 372 วรรคหนึ่ง: ระบุว่าสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ อีกฝ่ายก็ไม่มีสิทธิบังคับอีกฝ่ายให้ปฏิบัติการใด ๆ
🧠 ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่า
• การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะโอนกรรมสิทธิ์เมื่อมีเงื่อนไขครบถ้วน แสดงว่า ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา
• ขณะที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ รถเฟี้ยตเกิดไฟไหม้โดยไม่มีฝ่ายใดผิด ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
• เมื่อโจทก์ไม่สามารถส่งมอบรถเฟี้ยตตามเงื่อนไขได้ ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถออสตินให้
• เพราะเป็นสัญญา “ต่างตอบแทน” หากฝ่ายหนึ่งปฏิบัติไม่ได้ อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติ
📌 สรุป
กรณีนี้ถือว่าเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ยังมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเมื่อทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขจะสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้อีกฝ่ายโอนทรัพย์อีกชิ้นได้ ถือเป็นการคุ้มครองความสมดุลทางกฎหมายของสัญญาโดยหลักธรรมาภิบาล
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
คำพิพากษาฎีกา
35. สัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไข หากทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้อง
36. สัญญาค่าจ้างว่าความแบบแบ่งผลจากการฟ้องแย้ง ขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะ
37. ผู้เช่าที่ดินมีสิทธิฟ้องขจัดการรบกวนแม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
38. การจัดเก็บภาษีป้ายจากสถานีบริการน้ำมันและสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่
39. เขตอำนาจศาลในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
40. ฉ้อโกงโดยแสดงท่าทีข่มขู่กรณีใช้วัตถุคล้ายลูกระเบิดแทนเงินค่าน้ำมัน
41. ขู่เข็ญด้วยอาวุธปืนบนทางสาธารณะ เป็นละเมิด แม้ไม่ยิงปืนก็ตาม
42. ข้อยกเว้นในการฟ้องคดีภาษีอากรภายหลังอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
43. การอายัดเงินปันผลและเงินอื่นของสมาชิกสหกรณ์
44. เขตอำนาจศาลในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
35. สัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไข หากทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้อง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งว่าด้วยสัญญาแลกเปลี่ยน/สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และหลักสัญญาต่างตอบแทน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370, 371 และ 372
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
✅ ข้อเท็จจริง
• โจทก์ตกลงขายรถยนต์เฟี้ยตให้จำเลย ราคา 55,000 บาท
• จำเลยชำระเป็น เงินสด 20,000 บาท + รถยนต์ออสตินตีราคา 35,000 บาท
• ทั้งสองฝ่ายได้ส่งมอบเงินสดและรถยนต์ให้แก่กันแล้ว
• แต่มีเงื่อนไขว่า จะโอนกรรมสิทธิ์เมื่อโจทก์ผ่อนชำระและรับโอนทะเบียนรถยนต์เฟี้ยตจากกรมสวัสดิการเรียบร้อยแล้ว
• ระหว่างนั้น รถเฟี้ยตที่อยู่กับจำเลย เกิดเพลิงไหม้เสียหายโดยไม่ใช่ความผิดของใคร
⚖ ข้อกฎหมาย
• มาตรา 370 และ 371: กล่าวถึงกรณีสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโอนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สูญหายก่อนถึงเวลาโอน จะถือว่าเป็นโมฆะ หรือไม่สมบูรณ์
• มาตรา 372 วรรคหนึ่ง: ระบุว่าสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ อีกฝ่ายก็ไม่มีสิทธิบังคับอีกฝ่ายให้ปฏิบัติการใด ๆ
🧠 ดุลพินิจของศาล
ศาลเห็นว่า
• การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะโอนกรรมสิทธิ์เมื่อมีเงื่อนไขครบถ้วน แสดงว่า ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา
• ขณะที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ รถเฟี้ยตเกิดไฟไหม้โดยไม่มีฝ่ายใดผิด ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
• เมื่อโจทก์ไม่สามารถส่งมอบรถเฟี้ยตตามเงื่อนไขได้ ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถออสตินให้
• เพราะเป็นสัญญา “ต่างตอบแทน” หากฝ่ายหนึ่งปฏิบัติไม่ได้ อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติ
📌 สรุป
กรณีนี้ถือว่าเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ยังมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเมื่อทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายก่อนเงื่อนไขจะสำเร็จ คู่สัญญาไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้อีกฝ่ายโอนทรัพย์อีกชิ้นได้ ถือเป็นการคุ้มครองความสมดุลทางกฎหมายของสัญญาโดยหลักธรรมาภิบาล
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
36. สัญญาค่าจ้างว่าความแบบแบ่งผลจากการฟ้องแย้ง ขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะ
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพทนายความ โดยเฉพาะเรื่อง ข้อห้ามในการตกลงค่าจ้างว่าความแบบแบ่งผลจากทรัพย์ที่เป็นข้อพิพาท ซึ่งขัดต่อจรรยาบรรณและกฎหมายควบคุมวิชาชีพทนายความ
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1047/2533
▫️ข้อเท็จจริง
จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความว่าความ โดยตกลงว่า ค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ชำระจะคิดเป็น ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่จำเลยจะได้รับจากการฟ้องแย้งในคดี ซึ่งถือเป็นการจ้างงานที่ผูกผลประโยชน์ทับซ้อนกับผลของคดี
▫️ข้อกฎหมาย
• พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว) กำหนดห้ามทนายความตกลงค่าจ้างในลักษณะแบ่งผลประโยชน์จากคดีความที่ว่าความ
• พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) ก็มีหลักการเดียวกัน
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 กำหนดว่าสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ
• แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายโดย พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 และบทเฉพาะกาล มาตรา 86 ซึ่งให้คณะกรรมการออกข้อบังคับมารยาททนายความเพิ่มเติม แต่ ก็ไม่มีผลย้อนหลังให้สัญญาที่เป็นโมฆะกลับสมบูรณ์ได้
▫️ดุลพินิจของศาล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
การตกลงค่าจ้างแบบแบ่งผลจากทรัพย์ที่ลูกความจะได้รับจากผลคดี (ฟ้องแย้ง)
ขัดต่อกฎหมายควบคุมวิชาชีพทนายความโดยตรง
ซึ่งมุ่งป้องกันไม่ให้ทนายความมีผลประโยชน์ร่วมกับผลของคดี
และส่งผลต่อจริยธรรมการว่าความ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ และ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่ตกลงไว้ตามสัญญานั้น
สรุป
การตกลงค่าจ้างทนายความแบบแบ่งผลจากคดี เป็นการฝ่าฝืนจรรยาบรรณวิชาชีพและขัดต่อกฎหมาย ทำให้สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในภายหลัง ก็ไม่ทำให้สัญญานั้นสมบูรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างตามที่ตกลงไว้กับจำเลย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
37. ผู้เช่าที่ดินมีสิทธิฟ้องขจัดการรบกวนแม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าและสิทธิฟ้องร้องขจัดการรบกวน (มาตรา 421 และ 1337)
3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
➤ ข้อเท็จจริง
• โจทก์เช่าที่ดินจากเทศบาลเมืองโพธาราม เพื่อใช้เป็นที่จอดรถของโรงแรม
• จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของตึกแถวที่อยู่ติดกัน ได้ต่อเติมหลังคากันสาดล้ำเข้ามาในที่ดินที่โจทก์เช่า
• ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ไม่สะดวกและได้รับความเดือดร้อน
➤ ข้อกฎหมาย
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 กำหนดว่าผู้ใดกระทำการอันละเมิดต่อผู้อื่น ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
• มาตรา 1337 ระบุว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิฟ้องเพื่อขจัดการรบกวนหรือรำคาญที่เกิดขึ้น
➤ ดุลพินิจของศาลและเหตุผลในการวินิจฉัย
• แม้โจทก์จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเพียง “ผู้เช่า”
• แต่การเช่าเพื่อใช้ในกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของตน การถูกรุกล้ำจึงเป็นความเดือดร้อนรำคาญที่กระทบโดยตรง
• ศาลเห็นว่า ผู้เช่าที่ดินเพื่อใช้ประกอบธุรกิจ มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลที่รุกล้ำเข้ามาขจัดการรบกวนออกไปได้ แม้การรุกล้ำจะเกิดขึ้นก่อนการเช่า
• โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรื้อถอนหลังคากันสาดที่รุกล้ำออกได้
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
38. การจัดเก็บภาษีป้ายจากสถานีบริการน้ำมันและสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
ภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของรัฐ เช่น ประมวลรัษฎากร และกฎหมายเกี่ยวกับราคาสินค้าควบคุม
2. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
📝 ข้อเท็จจริง
• โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมัน
• เทศบาลจำเลยที่ 1 ออกหนังสือประเมินภาษีป้าย ปี 2545–2548 จำนวน 4 ฉบับ
• โจทก์อุทธรณ์การประเมิน โดยเฉพาะในส่วนของป้ายที่มีเครื่องหมายกรมสรรพากร ข้อความภาษีมูลค่าเพิ่ม และป้ายราคาน้ำมัน
• จำเลยที่ 2 (นายกเทศมนตรี) วินิจฉัยยกเว้นภาษีเฉพาะบางส่วน แต่ให้เรียกเก็บเพิ่มเติมในส่วนคำว่า “ESSO” และราคาน้ำมัน
• ต่อมามีการออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายฉบับที่ 2 เพื่อเรียกเก็บเพิ่มเติมตามคำวินิจฉัย
• อย่างไรก็ตาม การประเมินครั้งแรกยังไม่ถูกยกเลิก
⚖️ ข้อกฎหมาย
• มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ระบุว่าภาษีป้ายจัดเก็บเฉพาะป้ายที่มีชื่อ ยี่ห้อ หรือข้อความเพื่อการโฆษณาหรือหารายได้
• มาตรา 30 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำประเมิน
• มาตรา 33 โจทก์มีสิทธิฟ้องศาลหากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์
• ประกาศกรมสรรพากร ฉบับที่ 55 และ ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 และ 249 บังคับให้ผู้จำหน่ายแสดงราคาสินค้าควบคุม
🧑⚖️ ดุลพินิจของศาล
• ศาลวินิจฉัยว่า ป้ายราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม มิใช่ป้ายโฆษณาเพื่อหารายได้ตามนิยามของ พ.ร.บ.ภาษีป้าย มาตรา 6
• แม้จะอยู่ใต้ข้อความ “ESSO” และในโครงสร้างเดียวกัน ก็ต้องแยกพิจารณาเฉพาะส่วน
• การประเมินภาษีในส่วนป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยที่สั่งให้เสียภาษีในส่วนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
• อีกทั้งคำวินิจฉัยที่ยกเว้นการเสียภาษีในบางส่วน (เครื่องหมายกรมสรรพากร) แต่ไม่ได้คืนเงินที่โจทก์ชำระไปก่อนหน้านั้น กลับนำไปหักกับยอดใหม่ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
• ศาลจึงสั่งให้คืนภาษีและดอกเบี้ยแก่โจทก์ในส่วนที่ไม่สมควรต้องเสีย
📌 สรุป
• ป้ายที่แสดงราคาสินค้าควบคุม (น้ำมัน) ไม่ต้องเสียภาษีป้าย เพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายควบคุมสินค้า ไม่ใช่เพื่อการโฆษณา
• หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตัดภาษีในบางส่วน ต้องคืนเงินภาษีส่วนที่ตัดให้แก่ผู้เสียภาษี
•
เจ้าหน้าที่ต้องยกเลิกการประเมินครั้งเก่าด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่ายังมีผลบังคับ
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
39. เขตอำนาจศาลในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
วิเคราะห์ฎีกาที่ 2154/2518
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายอาญา ความผิดฐาน หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 เรื่องเขตอำนาจศาล และมาตรา 158(5) ว่าด้วยการบรรยายฟ้อง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 2154/2518
แยกข้อเท็จจริง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กล่าวหาว่าข้อความหมิ่นประมาทปรากฏในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมีการจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่
แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ปัญหาข้อกฎหมาย อยู่ที่ว่า ศาลแขวงเชียงใหม่มีเขตอำนาจรับฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อความหมิ่นประมาทเกิดจากการโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายทั่วประเทศ
• ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ย่อมเกิดขึ้นในสถานที่ที่ข้อความนั้นปรากฏ ดังนั้น เมื่อหนังสือพิมพ์จำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ก็ถือว่า ความผิดได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
• ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 22 การฟ้องร้องสามารถทำได้ที่ศาลซึ่งท้องที่นั้นเกิดการกระทำความผิด
• ศาลยังวินิจฉัยว่า คำฟ้องที่โจทก์บรรยายสถานที่เกิดเหตุว่า “ทั่วราชอาณาจักรไทย” และระบุว่าสำนักงานหนังสือพิมพ์อยู่ที่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นการบรรยายสถานที่เกิดเหตุอย่างเพียงพอและชอบด้วย มาตรา 158(5) ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
สรุปเหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้การพิมพ์หนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ แต่การที่มีจำหน่ายและข้อความหมิ่นประมาทปรากฏในจังหวัดเชียงใหม่ ย่อมถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นในเชียงใหม่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลแขวงเชียงใหม่ และศาลมีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
40. ฉ้อโกงโดยแสดงท่าทีข่มขู่กรณีใช้วัตถุคล้ายลูกระเบิดแทนเงินค่าน้ำมัน
วิเคราะห์ฎีกาที่ 2581/2529
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ ความผิดฐานฉ้อโกง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพิจารณาว่าเข้าข่าย
ลักทรัพย์ หรือ ปล้นทรัพย์ หรือไม่
โดยมีการพิจารณาพฤติกรรมในการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินไป
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 2581/2529
ข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันเบนซินที่บ้านของผู้เสียหายจำนวน 5 ลิตร เมื่อเติมน้ำมันเสร็จแล้ว ภริยาของผู้เสียหายได้ทวงถามเงินค่าน้ำมัน จำเลยที่ 2 ซึ่งถือลูกกลมๆ ลักษณะคล้ายลูกระเบิดไว้ในมือ กล่าวกับภริยาผู้เสียหายว่า “ไม่มีเงิน มีไอ้นี่เอาไหม” จากนั้นจำเลยทั้งสองได้ขี่รถจักรยานยนต์ออกไป โดยไม่ได้จ่ายค่าน้ำมัน
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จำเลยกระทำลักษณะดังกล่าว เป็นการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริง โดยให้เข้าใจว่าอาจมีอันตราย หากไม่ยอมให้จำเลยไปโดยไม่จ่ายเงิน
• อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขืนใจ อย่างชัดเจนจนถึงขั้นปล้นทรัพย์ และไม่มีการลักเอาทรัพย์โดยเจ้าของไม่รู้ตัวหรือขัดขืน
• พฤติกรรมจำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยหลอกลวงให้เข้าใจผิด เพื่อให้ได้ใช้น้ำมันโดยไม่จ่ายเงิน ซึ่งเข้าลักษณะ ความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
• ส่วนวัตถุที่จำเลยถืออยู่ แม้ภริยาผู้เสียหายจะเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิด แต่ ศาลเห็นว่าไม่สามารถฟังได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นอาวุธจริงหรือมีการขู่เข็ญจริง จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
สรุป
จำเลยมีความผิดฐาน ฉ้อโกง เพราะใช้กลอุบายในการแสดงท่าทีว่าถือของอันตรายแทนเงิน และไม่จ่ายค่าน้ำมัน เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ลักทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ เนื่องจากไม่มีการข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
41. ขู่เข็ญด้วยอาวุธปืนบนทางสาธารณะ เป็นละเมิด แม้ไม่ยิงปืนก็ตาม
วิเคราะห์ฎีกาที่ 4571/2556
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งว่าด้วย การกระทำละเมิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 446 ที่กล่าวถึงความเสียหายทางจิตใจ และสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน รวมถึงความสัมพันธ์กับคดีอาญาที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็น โจทก์ร่วม ในคดีอาญาด้วย
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 4571/2556
ข้อเท็จจริง
• คดีนี้มีรากฐานมาจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1027/2552 ของศาลชั้นต้น
• โจทก์ในคดีนี้เป็น ผู้เสียหาย และได้รับอนุญาตจากศาลให้เข้าเป็น โจทก์ร่วม ในคดีอาญาดังกล่าว
• จำเลยในคดีนี้มีปากเสียงกับโจทก์ แล้วได้ ถืออาวุธปืนออกมา บนทางเดินเท้าสาธารณะ ติดกับถนนสาธารณะ
• จำเลย พูดขู่เข็ญ ว่า “มึงอยากตายหรือ” ซึ่งจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงนี้ด้วย
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ศาลเห็นว่าแม้จำเลยจะ มิได้ยิงปืน แต่การข่มขู่ด้วยอาวุธปืน โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะ ย่อมแสดงถึง เจตนาโดยตรง ที่จะทำให้ผู้ถูกขู่ได้รับความหวาดกลัว
• การกระทำนี้ทำให้โจทก์ ตกใจกลัวอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อจิตใจและสุขภาพจิต ถือเป็นความเสียหายตาม มาตรา 446 ซึ่งครอบคลุมถึงความเสียหายทางจิตใจ แม้ไม่มีการบาดเจ็บทางกายก็ตาม
• ศาลชี้ว่าเป็นการ กระทำละเมิด ตาม มาตรา 420 และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตาม มาตรา 446
• โจทก์ถือเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ไม่มีการยิงปืนหรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย แต่การข่มขู่ที่ทำให้เกิดความเสียหายทางจิตใจก็ถือเป็นมูลเหตุให้สามารถเรียกค่าสินไหมได้
สรุป
การที่จำเลยใช้ อาวุธปืนข่มขู่ ผู้เสียหาย แม้ไม่ได้ยิงหรือทำให้บาดเจ็บทางกาย ก็ถือว่า ละเมิด เพราะทำให้เกิด ความเสียหายทางจิตใจ ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายแพ่งได้ ศาลถือว่าโจทก์เป็น ผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย และพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสมควร
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
42. ข้อยกเว้นในการฟ้องคดีภาษีอากรภายหลังอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
วิเคราะห์ฎีกาที่ 128/2547
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายภาษีอากร โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติรัษฎากร มาตรา 30 (2), มาตรา 65 ทวิ (4), มาตรา 91/16 (6) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534 โดยมุ่งเน้นเรื่อง ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 128/2547
ข้อเท็จจริง:
โจทก์เป็นบริษัทที่ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือและกรรมการหลายราย โดยไม่คิดดอกเบี้ย ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินภาษีได้ประเมินดอกเบี้ยจากเงินกู้ดังกล่าวให้เป็นรายได้ตามราคาตลาด และเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์เฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยที่ให้บริษัทในเครือกู้เท่านั้น มิได้อุทธรณ์กรณีกรรมการที่กู้เงิน
ข้อกฎหมาย:
1. ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ว่าด้วยสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อศาล
2. มาตรา 65 ทวิ (4) ว่าด้วยกรณีรายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
3. มาตรา 91/16 (6) เกี่ยวกับรายได้ที่ถือว่ามีการรับแล้วแม้ไม่ได้รับเงินจริง
4. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534 เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเมื่อบริษัทเป็น “บริษัทในเครือเดียวกัน”
ดุลพินิจของศาลและเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้:
• ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โดยหลักทั่วไปผู้ฟ้องสามารถอ้างเหตุเพิ่มเติมต่อศาลได้ตามมาตรา 30 (2) แต่ ในประเด็นที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไว้เลย เช่น กรณีกรรมการที่กู้เงิน ศาลถือว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยกขึ้นฟ้องในภายหลังได้ ถือว่าโจทก์ยอมรับความถูกต้องของการประเมินภาษีแล้ว
• กรณีบริษัท น. ซ. และ พ. แม้โจทก์อ้างเหตุว่าดอกเบี้ยประเมินคลาดเคลื่อน ก็ถือว่าได้โต้แย้งแล้วในชั้นคณะกรรมการอุทธรณ์ โจทก์สามารถนำเหตุอื่นมาอ้างต่อศาลเพิ่มเติมได้
• ศาลวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยในขณะที่ตนเองยังมีหนี้สินอยู่ เป็นการไม่มีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจเรียกเก็บภาษีจากดอกเบี้ยตามราคาตลาด
• การให้กู้เงินหลายราย โดยไม่มีดอกเบี้ย หรือโดยอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือหรือตอบแทน ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการลักษณะธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
• นอกจากนี้ บริษัท พ. และ จ. ได้รับเงินกู้ ก่อนที่โจทก์จะถือหุ้นเกิน 25% จึงไม่เข้าข่าย “บริษัทในเครือเดียวกัน” และ ไม่ได้รับสิทธิยกเว้น ต้องนำดอกเบี้ยมาคำนวณเป็นรายรับด้วย
สรุป:
ศาลฎีกายึดหลักว่า ผู้ฟ้องต้องจำกัดการโต้แย้งเฉพาะเรื่องที่ได้อุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการฯ แล้วเท่านั้น หากไม่ได้อุทธรณ์ไว้เดิม จะไม่สามารถยกขึ้นฟ้องในภายหลังได้ เว้นแต่เป็นเหตุเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้อุทธรณ์ไว้แล้ว โดยเฉพาะกรณีภาษีอากร เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินรายได้ตามราคาตลาด หากเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรให้ยกเว้น
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
43. การอายัดเงินปันผลและเงินอื่นของสมาชิกสหกรณ์ – ศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาที่ 6839/2555
วิเคราะห์ฎีกาที่ 6839/2555
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีแพ่ง และ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะบทบัญญัติว่าด้วยการจัดสรรกำไรสุทธิของสหกรณ์ (มาตรา 42 และ มาตรา 60) ซึ่งเชื่อมโยงกับหลักการห้ามเจ้าหนี้อายัดทรัพย์บางประเภทของลูกหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายแน่นอน
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 6839/2555
ข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีใจความสำคัญว่า ขออายัดเงินปันผลและเงินอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ทุกปี จนกว่าจะชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีเสร็จสิ้น
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
1. ประเด็นแรก: เงินปันผลจากหุ้น
• ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ มาตรา 60 (1) บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นของสมาชิกแต่ละคน
• ศาลวินิจฉัยว่า เงินปันผล ถือเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีของสมาชิก และสามารถคาดหมายได้ว่าจะมีการจ่ายทุกปี จึงสามารถ อายัดได้ ตามคำขอของเจ้าพนักงานบังคับคดี
2. ประเด็นที่สอง: เงินอื่น ๆ เช่น เงินเฉลี่ยคืน และเงินค่าหุ้น
• ตามมาตรา 60 (2) กำหนดว่าเงินเฉลี่ยคืนจะจ่ายให้แก่เฉพาะสมาชิกที่ได้ทำธุรกิจกับสหกรณ์เท่านั้น และจ่ายเฉพาะในปีที่มีธุรกรรม
• ส่วนเงินค่าหุ้น ตามมาตรา 42 วรรคสอง ห้ามเจ้าหนี้เรียกร้องเงินค่าหุ้นของสมาชิกเว้นแต่สมาชิกภาพจะสิ้นสุด
• ศาลเห็นว่า เงินเฉลี่ยคืนและเงินค่าหุ้น เป็นรายได้ที่ไม่สามารถคาดหมายแน่นอนได้ว่าแต่ละปีจะต้องมีการจ่ายหรือไม่ จึง ไม่อยู่ในข่ายที่สามารถอายัดได้เป็นประจำทุกปี
3. ข้อสังเกตจากศาล
• คำขออายัดของเจ้าพนักงานมีลักษณะรวม “เงินอื่นๆ” โดยไม่จำแนก ทำให้ตีความรวมถึงเงินค่าหุ้นด้วย ซึ่งไม่สามารถอายัดไว้ได้ในช่วงเวลาที่สมาชิกภาพยังไม่สิ้นสุด
• ศาลวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี แจ้งอายัดเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต จึงเป็นการอายัดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในส่วนของเงินเฉลี่ยคืนและเงินค่าหุ้น
สรุปเหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลจำแนกประเภททรัพย์ของลูกหนี้ว่า
• เงินปันผล = อายัดได้
• เงินเฉลี่ยคืน + ค่าหุ้น = อายัดไม่ได้ เว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดและถึงเวลาชำระ
เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องอายัดเฉพาะส่วนที่กฎหมายอนุญาต และไม่สามารถอายัดรายได้หรือทรัพย์ที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายหรือไม่แน่นอนล่วงหน้า
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
44. เขตอำนาจศาลในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
วิเคราะห์ฎีกาที่ 2154/2518
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายอาญา ความผิดฐาน หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 เรื่องเขตอำนาจศาล และมาตรา 158(5) ว่าด้วยการบรรยายฟ้อง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 2154/2518
แยกข้อเท็จจริง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กล่าวหาว่าข้อความหมิ่นประมาทปรากฏในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมีการจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่
แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ปัญหาข้อกฎหมาย อยู่ที่ว่า ศาลแขวงเชียงใหม่มีเขตอำนาจรับฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อความหมิ่นประมาทเกิดจากการโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายทั่วประเทศ
• ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ย่อมเกิดขึ้นในสถานที่ที่ข้อความนั้นปรากฏ ดังนั้น เมื่อหนังสือพิมพ์จำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ก็ถือว่า ความผิดได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
• ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 22 การฟ้องร้องสามารถทำได้ที่ศาลซึ่งท้องที่นั้นเกิดการกระทำความผิด
• ศาลยังวินิจฉัยว่า คำฟ้องที่โจทก์บรรยายสถานที่เกิดเหตุว่า “ทั่วราชอาณาจักรไทย” และระบุว่าสำนักงานหนังสือพิมพ์อยู่ที่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นการบรรยายสถานที่เกิดเหตุอย่างเพียงพอและชอบด้วย มาตรา 158(5) ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
สรุปเหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้การพิมพ์หนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ แต่การที่มีจำหน่ายและข้อความหมิ่นประมาทปรากฏในจังหวัดเชียงใหม่ ย่อมถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นในเชียงใหม่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลแขวงเชียงใหม่ และศาลมีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
คำพิพากษาฎีกา
a. สิทธิของผู้ยืมทรัพย์คงรูปในการเรียกร้องความเสียหายแทนเจ้าของทรัพย์
b. การขาดเจตนาในคดีบุกรุกป่าสงวน กรณีรับจ้างไถดินในที่ดินที่ได้รับการผ่อนผัน
เรื่อง: สิทธิของผู้ยืมทรัพย์คงรูปในการเรียกร้องความเสียหายแทนเจ้าของทรัพย์
วิเคราะห์ฎีกาที่ 3451/2524
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร:
คดีนี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการยืมใช้คงรูป (มาตรา 643) และ หลักการรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามมาตรา 194 โดยมีประเด็นเรื่อง “สิทธิของผู้ยืม” ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนเจ้าของทรัพย์กรณีทรัพย์ที่ยืมได้รับความเสียหายจากบุคคลภายนอก
⸻
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 3451/2524
ข้อเท็จจริง:
โจทก์เป็นผู้ยืมรถยนต์จากเจ้าของรถ ต่อมาขณะขับรถเกิดอุบัติเหตุทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันดังกล่าว และไม่มีหลักฐานว่าการใช้รถของโจทก์ผิดไปจากเงื่อนไขปกติหรือผิดข้อตกลงในการยืม ทั้งยังไม่มีการกระทำใดของโจทก์ที่เป็นความประมาทหรือจงใจให้เกิดความเสียหาย
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
1. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ผู้ยืมมีหน้าที่รับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ที่ยืมต่อเมื่อใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์ หรือให้ผู้อื่นใช้ หรือเก็บไว้นานเกินควร ซึ่งกรณีนี้ไม่ปรากฏพฤติกรรมเช่นนั้น
2. โจทก์แม้จะเป็นผู้ยืมรถและได้ซ่อมรถแทนเจ้าของ แต่ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดทางกฎหมายต่อเจ้าของรถ จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในนามของตนเอง
3. การที่โจทก์ซ่อมรถเอง ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องในทางกฎหมายตาม หลักการรับช่วงสิทธิ (มาตรา 194) เพราะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบหนี้แทนเจ้าหนี้ก่อนถึงจะรับช่วงสิทธิได้
4. โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลย และไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าของรถ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
⸻
สรุป:
คำพิพากษาฎีกานี้ตอกย้ำหลักสำคัญของกฎหมายการยืมใช้คงรูป และหลักการรับช่วงสิทธิ โดยชี้ว่า ผู้ยืมที่ใช้ทรัพย์ตามปกติและไม่ต้องรับผิดทางกฎหมายต่อเจ้าของทรัพย์ จะไม่มีอำนาจทางกฎหมายในการฟ้องผู้อื่นเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแทนเจ้าของทรัพย์ได้ แม้จะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมไปแล้วก็ตาม
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
******************************
เรื่อง: การขาดเจตนาในคดีบุกรุกป่าสงวน กรณีรับจ้างไถดินในที่ดินที่ได้รับการผ่อนผัน
วิเคราะห์ฎีกาที่ 1868/2542
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คำพิพากษาฎีกานี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายป่าไม้ และ ความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 รวมถึงหลักเจตนาในทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “การใด ๆ จะเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา…”
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 1868/2542
ข้อเท็จจริง
• พื้นที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าขุนซ่อง” ซึ่งได้ออกกฎกระทรวงกำหนดเขต และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งปิดประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
• แม้จะเป็นเขตป่าสงวนฯ แต่มีราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่มาก่อน เช่น ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และยูคาลิปตัส ซึ่งกรมป่าไม้และฝ่ายปกครองอนุโลมให้ทำกินต่อไป โดยไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่ม
• จำเลยที่ 1 เป็นคนนอกพื้นที่ มีอาชีพขับรถแบคโฮรับจ้างขุดสระและไถดิน
• จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองไร่อ้อยในพื้นที่ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขุดสระและต่อมาให้เข้าไปไถในบริเวณที่เกิดเหตุใกล้กับไร่ของตน
• จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าบริเวณที่ถูกไถเป็นพื้นที่ที่มีผู้ครอบครองตามการผ่อนผันจากรัฐ
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
• ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 แม้จะเกิดในพื้นที่ป่าสงวน แต่ปรากฏว่าเป็นที่ดินที่รัฐผ่อนผันให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์
• จำเลยที่ 1 กระทำไปเพราะได้รับการว่าจ้างจากบุคคลซึ่งครอบครองพื้นที่อยู่ก่อน
• จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาบุกรุกโดยรู้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นเขตหวงห้าม
• พฤติการณ์โดยรวมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 สำคัญผิดโดยสุจริต ว่าสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้
• ศาลฎีกาจึงเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ขาดเจตนา จึง ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
สรุป
คำพิพากษาฎีกานี้แสดงให้เห็นถึงหลักสำคัญว่า การจะเป็นความผิดอาญา ต้องมีเจตนา แม้จะมีการกระทำในเขตหวงห้าม เช่น ป่าสงวน แต่หากผู้กระทำไม่รู้และมีเหตุอันควรเข้าใจผิดได้ เช่น ได้รับว่าจ้างจากผู้ครอบครองที่ดินเดิม และพื้นที่มีลักษณะไม่ใช่ป่าธรรมชาติ ย่อมไม่ต้องรับผิดทางอาญา
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์
www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
เรื่อง: อายุความในสัญญาเช่าและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีแพ่ง
วิเคราะห์ฎีกาที่ 7463/2553
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คำพิพากษานี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะเรื่อง สัญญาเช่า และ การคิดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 และมาตรา 193/30 รวมถึงการวินิจฉัยความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน ในฐานะลูกหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 และมาตรา 247
⸻
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 7463/2553
ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 4 ให้ร่วมกันชำระค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าและชำระค่าขาดประโยชน์จากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า ส่วนจำเลยที่ 2 ถึง 4 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่า
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
1. การคิดอายุความ
• การฟ้องเรียก ค่าปรับตามสัญญาเช่า (เช่น ปรับวันละ 200 บาทจากค่าเช่าค้างชำระ) ถือว่าเป็น การฟ้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า โดยตรง ศาลวินิจฉัยว่าต้องอยู่ภายใต้ อายุความ 6 เดือน นับจากวันที่ส่งคืนทรัพย์เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563
• ส่วน ค่าขาดประโยชน์ จากการผิดสัญญาเช่า แม้มีต้นเหตุจากสัญญาเช่า แต่ถือเป็น ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ไม่ใช่ “ฟ้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า” โดยตรง ศาลจึงวินิจฉัยว่าให้อยู่ภายใต้ อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30 และถือว่ายังไม่ขาดอายุความ
2. ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
• เมื่อค่าเสียหายที่เรียกร้องเป็นหนี้ที่ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึง 4 (ผู้ค้ำประกัน) จึงถือเป็น ลูกหนี้ร่วม คำพิพากษาที่ลงโทษจำเลยที่ 1 จึง มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึง 4 ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา ศาลวินิจฉัยโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และมาตรา 247
3. การหักกลบลบหนี้
• จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้กับเงินประกันตามสัญญาเช่า แต่ ไม่เคยยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
⸻
สรุปสาระสำคัญของฎีกา
• ค่าปรับตามสัญญาเช่า ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่คืนทรัพย์สิน
• ค่าขาดประโยชน์จากการผิดสัญญาเช่า ฟ้องได้ภายใน 10 ปี
• ลูกหนี้ร่วม รวมถึงผู้ค้ำประกัน ย่อมต้องรับผิดแม้ไม่ฎีกา
• ประเด็นที่มิได้ยกในศาลชั้นต้น จะอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์
www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***********************************
เรื่อง: การนับอายุเพื่อพิจารณาความผิดทางอาญาเกี่ยวกับผู้เยาว์
วิเคราะห์ฎีกาที่ 7841/2552
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร:
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 และ 193/5 เรื่องการนับอายุบุคคล
กฎหมายอาญา มาตรา 227, 276, 317 และ 319 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่อผู้เยาว์และการข่มขืนกระทำชำเรา
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 7841/2552
ข้อเท็จจริง:
ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 เหตุเกิดในวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2.00 น. ซึ่งยังไม่ถึงเวลาที่ผู้เสียหายมีอายุครบ 15 ปีเต็มตามวันเกิดหนึ่งวันเต็ม โดยจำเลยที่ 1 และ 2 มีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายโดยความยินยอมของผู้เสียหาย
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
• ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้การนับอายุของบุคคลเริ่มตั้งแต่วันเกิด และถือว่าวันเกิดครบถ้วนหนึ่งวันในวันถัดไป
• มาตรา 193/5 ใช้หลักการเดียวกันในการนับระยะเวลา
• ดังนั้น วันที่ 5 มีนาคม 2547 ผู้เสียหายจึงมีอายุ 15 ปีเต็ม เพราะนับจากวันที่ 5 มีนาคม 2532
• เมื่อผู้เสียหายมีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 (ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้เด็กจะยินยอม)
• ส่วน มาตรา 276 ว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำรา เมื่อมีความยินยอมจากผู้เสียหายก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด
• การกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 317 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพาไปเพื่อการอนาจารในลักษณะล่อลวงหรือใช้กำลัง
• อย่างไรก็ตาม ศาลวินิจฉัยว่าเป็นความผิดตาม มาตรา 319 คือ การพรากผู้เยาว์อายุเกิน 15 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปี ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์จะยินยอมไปด้วยก็ตาม
สรุป:
จำเลยที่ 1 และ 2 ไม่มีความผิดตามมาตรา 227 และ 276 เพราะผู้เสียหายมีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์และยินยอม แต่มีความผิดตามมาตรา 319 คือพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร โดยที่ผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
เว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
************************************
เรื่อง: อำนาจตัวแทนและการแต่งตั้งตัวแทนช่วงโดยกรรมการบริษัทในคดีฟ้องร้อง
วิเคราะห์ฎีกาที่ 886/2548
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คำพิพากษานี้เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อง นิติกรรม การมอบอำนาจ การแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วง โดยเฉพาะการตีความหนังสือมอบอำนาจตาม มาตรา 10 ว่าด้วยการตีความเอกสารให้มีผลสมบูรณ์ และ มาตรา 797 ว่าด้วยอำนาจของตัวแทนช่วง
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 886/2548
ข้อเท็จจริง:
บริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะมีผลผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองบริษัท นายซ. และนายว. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ได้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ (จ.2) ให้นายว. แต่เพียงผู้เดียว ดำเนินคดีแทนบริษัท และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงต่อไปได้
ต่อมา นายว. ได้ออกหนังสือมอบอำนาจอีกฉบับ (จ.3) แต่งตั้งนายจ. และ/หรือ นายก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน โดยในหนังสือมอบอำนาจ จ.3 มีเพียงนายว. ลงนามคนเดียว พร้อมประทับตราบริษัท
จำเลยโต้แย้งว่า หนังสือมอบอำนาจฉบับ จ.3 ไม่ชอบ เนื่องจากลงลายมือชื่อกรรมการเพียงคนเดียวไม่ครบสองคนตามหนังสือรับรองนิติบุคคล จึงไม่สามารถมอบอำนาจฟ้องได้
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
แม้หนังสือมอบอำนาจ จ.3 จะลงลายมือชื่อกรรมการเพียงคนเดียว แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับหนังสือมอบอำนาจฉบับ จ.2 ซึ่งมีการแต่งตั้งให้ “นายว.” มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทและมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ โดยมีลายมือชื่อกรรมการสองคนและตราประทับครบถ้วนแล้ว การที่ “นายว.” ใช้อำนาจนั้นออกหนังสือ จ.3 จึงเป็นการมอบอำนาจช่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม มาตรา 10 ป.พ.พ. เมื่อตีความหนังสือมอบอำนาจได้สองนัย ให้ตีความในทางที่ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย ศาลจึงถือว่า หนังสือ จ.3 เป็นผลสมบูรณ์ และ “นายจ.” กับ “นายก.” มีอำนาจดำเนินคดีแทนบริษัทได้อย่างถูกต้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สำหรับหนังสือมอบอำนาจ จ.4 ซึ่งกล่าวถึงการมอบอำนาจเกี่ยวกับกิจการให้เช่าซื้อ เช่น การลงลายมือชื่อในสัญญา ยึดทรัพย์สิน ฯลฯ ก็เป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนสามารถลงนามในเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งมอบอำนาจช่วงแก่บุคคลอื่นได้ จึงชอบด้วยกฎหมาย
สรุปเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้:
1. หนังสือมอบอำนาจ จ.2 ได้มอบอำนาจให้นายว. มีอำนาจดำเนินคดีแทนบริษัทและแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้
2. การที่นายว. ออกหนังสือ จ.3 โดยลายมือชื่อเพียงคนเดียว จึงเป็นการใช้อำนาจที่ได้รับมอบอย่างถูกต้อง
3. การตีความตาม มาตรา 10 ต้องถือเอานัยที่ทำให้เอกสารมีผลใช้ได้ดีกว่า
4. หนังสือมอบอำนาจมีผลสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*********************************
เรื่อง: คำด่าที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทใส่ความ และการพิสูจน์ความจริงตามประมวลกฎหมายอาญา
วิเคราะห์ฎีกาที่ 1442/2495
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282, 284, 335 (2) รวมถึงการพิจารณาเรื่องการเพิ่มโทษตามมาตรา 72 และประเด็นเรื่องคำพูดใดเป็นเพียงคำด่า และคำพูดใดเข้าข่ายเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 1442/2495
ข้อเท็จจริง
จำเลยใช้ถ้อยคำหยาบคายด่าผู้เสียหาย เช่น
• “อีร้อยควย อีดอกทอง”
• “มันเย็ดกันทั่วเมือง ใครๆ ก็รู้กันทั้งนั้น เย็ดกันรอบบ้าน เย็ดกับยี่เก ฯลฯ”
คำพูดดังกล่าวมีทั้งส่วนที่เป็นเพียงคำด่า และส่วนที่เป็นการยืนยันถึงพฤติกรรมทางเพศของผู้ถูกด่าอย่างโจ่งแจ้ง
ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล
1. คำว่า “อีร้อยควย อีดอกทอง”
ศาลวินิจฉัยว่า เป็น ถ้อยคำด่าทอหยาบคายธรรมดา ซึ่งเข้าข่ายความผิดฐาน หมิ่นประมาทซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2)
2. คำกล่าวต่อจากนั้น เช่น “มันเย็ดกันทั่วเมือง…”
ศาลเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างอย่างเฉพาะเจาะจงถึงพฤติกรรมลามกของผู้เสียหาย เป็น การใส่ความให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง อาจทำให้ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชัง เข้าข่ายความผิดฐาน หมิ่นประมาทใส่ความ ตามมาตรา 282
3. การพิสูจน์ความจริงตามมาตรา 284
เมื่อโจทก์ร้องขอให้จำเลยพิสูจน์ความจริง จำเลยกลับปฏิเสธในตอนแรก และกลับคำยอมรับในภายหลังแต่ไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ จึงถือว่าเข้าลักษณะตาม มาตรา 384 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 284
4. การเพิ่มโทษตามมาตรา 72
จำเลยรับสารภาพแม้ถึงข้อเท็จจริงเรื่องเพิ่มโทษด้วย แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าความผิดเป็นลหุโทษตามมาตรา 339 จึงไม่พิจารณาเพิ่มโทษ
อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความผิดตามมาตรา 282 อนุญาตให้เพิ่มโทษได้ตามมาตรา 72 จึงต้อง เพิ่มโทษตามคำฟ้องของโจทก์ โดยไม่จำเป็นต้องมีการโต้เถียงในอุทธรณ์เพิ่มเติม
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย
• ถ้อยคำที่กล่าวถึงพฤติกรรมลามกโจ่งแจ้งของผู้ถูกด่า เป็น ข้อเท็จจริงที่ใส่ความ มากกว่าจะเป็นเพียงคำด่า
• จำเลย ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่กล่าวหาได้
• ศาลจึงลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทใส่ความตามมาตรา 282 และเพิ่มโทษตามมาตรา 72
สรุปสาระสำคัญ
• ถ้อยคำด่าทออาจเป็นเพียงความผิดหมิ่นประมาทซึ่งหน้า แต่ถ้ามีการยืนยันข้อเท็จจริงอันทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง จะเข้าข่ายหมิ่นประมาทใส่ความ
• คดีที่ขอให้จำเลยพิสูจน์ความจริง หากพิสูจน์ไม่ได้ ก็ลงโทษตามมาตรา 284 ได้
• การเพิ่มโทษตามมาตรา 72 ไม่จำเป็นต้องมีการอุทธรณ์เฉพาะ หากศาลเห็นว่าเข้าหลักเกณฑ์สามารถเพิ่มได้ตามฟ้องเดิม
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.comก
*************************************
เรื่อง: กรณีการชนกันของรถยนต์จากการกลับรถในที่ไม่เหมาะสมและการพิจารณาความประมาทร่วม
วิเคราะห์ฎีกาที่ 8994/2542
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คดีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งในเรื่องละเมิดและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ มาตรา 383
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 8994/2542
ข้อเท็จจริง:
จำเลยที่ 1 กลับหรือเลี้ยวรถในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย ณ สถานที่ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกับรถของนาย ส. อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่า นาย ส. ขับรถลงจากเนินด้วยความเร็วที่ไม่เหมาะสม และขาดความระมัดระวังเพียงพอ หากใช้ความระมัดระวังตามสมควร เหตุการณ์ก็อาจไม่เกิดขึ้น
ข้อกฎหมาย:
แม้จำเลยจะมีความประมาทในการกลับรถ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์โดยรวมแล้วพบว่าอีกฝ่าย (นาย ส.) ก็มีส่วนประมาทเลินเล่อพอๆ กัน การมีส่วนประมาททั้งสองฝ่ายจึงตัดสิทธิการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างกัน
ผู้ฟ้องคือบริษัทประกันภัยซึ่งอ้างตนว่าเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากนาย ส. จึงอยู่ในฐานะเดียวกันกับผู้เอาประกันภัย หากนาย ส. ไม่มีสิทธิฟ้อง จำเลย บริษัทประกันภัยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิก็ไม่มีสิทธิฟ้องเช่นกัน
ดุลพินิจของศาล:
ศาลวินิจฉัยว่า ความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายมีอยู่พอๆ กัน ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดเพียงลำพัง จึงไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ฝ่ายผู้รับประกันภัยที่รับช่วงสิทธิก็ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยได้เช่นกัน
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย:
• ความเสียหายเกิดจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย
• ความประมาทเลินเล่อร่วมกันทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหาย
• ผู้รับประกันภัยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ย่อมมีสิทธิไม่เกินสิทธิของผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สรุป:
เมื่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วมในการประมาทเลินเล่อ อันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีฝ่ายใดมีสิทธิเหนือกว่าในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ฝ่ายบริษัทประกันภัยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยจากจำเลย
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
*************************************
เรื่อง: หนังสือมอบอำนาจไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9)
วิเคราะห์ฎีกาที่ 3448/2551
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร
คำพิพากษานี้เกี่ยวข้องกับ กฎหมายอาญา โดยเฉพาะเรื่อง ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และการตีความความหมายของคำว่า “เอกสารสิทธิ” ตาม มาตรา 1 (9)
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 3448/2551
ข้อเท็จจริง:
โจทก์ร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ และจำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นภายหลัง โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือมีเจตนาร่วมกันจากโจทก์ร่วม
ข้อกฎหมาย:
ปัญหาข้อกฎหมายในคดีนี้ คือ หนังสือมอบอำนาจ ถือว่าเป็น เอกสารสิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) หรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเข้าข่าย ปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ตาม มาตรา 265 หรือไม่
ดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หนังสือมอบอำนาจ เป็นเพียงเอกสารที่ แสดงการมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตน ไม่ใช่เอกสารที่ใช้ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิ ด้วยตนเองโดยตรง ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึง ไม่ถือเป็น “เอกสารสิทธิ” ตามความหมายของ มาตรา 1 (9)
ด้วยเหตุนี้ การที่จำเลยกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่มีลายมือชื่อของโจทก์ร่วมไว้ จึง ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ตาม มาตรา 265
เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี:
เนื่องจาก หนังสือมอบอำนาจ ไม่มีสถานะเป็น เอกสารสิทธิ ตามกฎหมายอาญา การปลอมแปลงหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงไม่เข้าข่าย ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิ แม้จะเป็นการกระทำโดยไม่ชอบก็ตาม ศาลจึงไม่มีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์
www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
เรื่อง: การกำหนดเบี้ยปรับเกินส่วนในสัญญาเช่า และการห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่ง
วิเคราะห์ฎีกาที่ 2515/2541
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร:
– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และมาตรา 224
– ประเด็นเกี่ยวกับเบี้ยปรับ (ค่าเสียหายล่วงหน้า) และข้อห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
⸻
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 2515/2541
1. ข้อเท็จจริง:
ตามสัญญาเช่าฉบับหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 25 ของแต่ละเดือน และมีข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับตามสัญญา ข้อ 10 หากไม่ชำระตามกำหนด จะเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าต่อเดือนต่อวัน ซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์รายปีจะเท่ากับอัตราร้อยละ 36 ต่อปี โดยโจทก์ค้างค่าเช่ารวมกว่า 21 ล้านบาท และจำเลยเรียกเบี้ยปรับสูงถึง 1.8 ล้านบาท
2. ข้อกฎหมาย:
– มาตรา 383 ว่าด้วยเบี้ยปรับ หากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลสามารถลดลงได้โดยพิจารณาจากทางได้เสียของเจ้าหนี้
– มาตรา 224 วรรคสอง ห้ามไม่ให้มีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด เว้นแต่จะตกลงกันไว้ใหม่ภายหลังผิดนัด
3. ดุลพินิจของศาลและเหตุผลในการวินิจฉัย:
– ศาลเห็นว่าอัตราเบี้ยปรับร้อยละ 0.1 ต่อวัน เมื่อคำนวณรวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย (ร้อยละ 7.5 ต่อปี)
– แม้คู่สัญญาจะตกลงไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อค่าปรับดังกล่าวสูงเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดลงได้
– ศาลกำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสมไว้ที่ ร้อยละ 15 ต่อปี
– ส่วนประเด็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นนำดอกเบี้ยค้างที่คำนวณไว้แล้วไปรวมเป็นต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 224 วรรคสอง
– ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ให้แยกเงินต้นกับดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
**********************************
เรื่อง: การกำหนดเบี้ยปรับเกินส่วนในสัญญาเช่า และการห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่ง
วิเคราะห์ฎีกาที่ 2515/2541
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818034097
กฎหมายเกี่ยวกับอะไร:
– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และมาตรา 224
– ประเด็นเกี่ยวกับเบี้ยปรับ (ค่าเสียหายล่วงหน้า) และข้อห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
⸻
วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 2515/2541
1. ข้อเท็จจริง:
ตามสัญญาเช่าฉบับหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 25 ของแต่ละเดือน และมีข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับตามสัญญา ข้อ 10 หากไม่ชำระตามกำหนด จะเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าต่อเดือนต่อวัน ซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์รายปีจะเท่ากับอัตราร้อยละ 36 ต่อปี โดยโจทก์ค้างค่าเช่ารวมกว่า 21 ล้านบาท และจำเลยเรียกเบี้ยปรับสูงถึง 1.8 ล้านบาท
2. ข้อกฎหมาย:
– มาตรา 383 ว่าด้วยเบี้ยปรับ หากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลสามารถลดลงได้โดยพิจารณาจากทางได้เสียของเจ้าหนี้
– มาตรา 224 วรรคสอง ห้ามไม่ให้มีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด เว้นแต่จะตกลงกันไว้ใหม่ภายหลังผิดนัด
3. ดุลพินิจของศาลและเหตุผลในการวินิจฉัย:
– ศาลเห็นว่าอัตราเบี้ยปรับร้อยละ 0.1 ต่อวัน เมื่อคำนวณรวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย (ร้อยละ 7.5 ต่อปี)
– แม้คู่สัญญาจะตกลงไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อค่าปรับดังกล่าวสูงเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดลงได้
– ศาลกำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสมไว้ที่ ร้อยละ 15 ต่อปี
– ส่วนประเด็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นนำดอกเบี้ยค้างที่คำนวณไว้แล้วไปรวมเป็นต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 224 วรรคสอง
– ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ให้แยกเงินต้นกับดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
⸻
หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com
***************************************