ทนายภูวงษ์ 

เปิดหน้าต่อไป

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญและกฎหมายแก้ไขใหม่

กฎหมายหมายแก้ไขใหม่

  • ขายฝาก แก้ไขใหม่ ปี 2562
  • ดอกเบี้ย แก้ไขใหม่ เมษายน ปี 2564

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (อาญา)

  1. เรื่อง    ลักทรัพย์ มีอายุความ 10 ปี
  2. เรื่อง    แอบติดกล้องถ่ายใต้กระโปรง มีความผิดฐานใหน
  3. เรื่อง    ปลอมตัวเป็นตำรวจ
  4. เรื่อง    ปืน
  5. เรื่อง    ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจร
  6. เรื่อง    หลอกเอาโฉนดแล้วไปโอนให้กับบุคคลอื่น



คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (แพ่ง)

  1. เรื่อง    รถยนต์หายในห้างสรรพสินค้า
  2. เรื่อง    ผู้รับเหมาก่อสร้างง ผิดสัญญาจ้างทำของ
  3. เรื่อง    สัญญาเช่าบ้าน เงินมัดจำต้องคืนหรือไม่
  4. เรื่อง    อุบัติเหตุทางรถยนต์ จอดรถไม่ให้สัญญานเตือนภัย ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
  5. เรื่อง    นิติบุคคลอาคารชุด
  6. เรื่อง    กดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มถือเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว  
  7. เรื่อง    มรดก
  8. เรื่อง    ที่ดิน
  9. เรื่อง    ไม่มีกำหนดอายุความฟ้องคดี ในการติดตามเอาทรัพย์ที่ถูกลักไปหรือยักยอกไปคืน
  10. เรื่อง    นิติบุคคลอาคารชุด 
  11. เรื่อง    บังคับคดี

กฎหมายแก้ไขใหม่ 

1. เรื่อง    ขายฝากที่ดินอย่างไร (ผู้ขาย) ไม่เสียเปรียบ

กฎหมายขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเมื่อปี 2562 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างคู่สัญญา เพื่อไม่ให้เอาเปรียบซึ่งกันและกันครับ เหตุที่มีการแก้กฎหมายเพราะมีข้อพิพาทขึ้นสู้ศาลเยอะซึ่งศาลก็จะพิจารณาและพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย แต่เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สส.ก็จะนำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเข้าสู้สภาผู้แทน ผ่านกระบวนการต่างจนมีการแก้ไขเป็น พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัย พศ.2562 สรุปได้ใจความตามนี้

* สัญญาขายฝากต้องมีระยะเวลาไถ่ถอน 1-10 ปี 

* ผู้ขายฝากสามารถใช้ประโยชน์หรืออยู่ได้ถึงวันสิ้นสุดการไถ่

* การขยายเวลาไถ่ถอนต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

* หากผู้ซื้อฝากงอแงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ให้ผู้ขายฝากเอาเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ

* ขยายเวลาไถ่ถอนอัตโนมัติ ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ส่งหนังสือแจ้งเป็นไปรษณีย์ตอบรับถึงการไถ่ถอนก่อนวันสิ้นสุดการไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน

* ไถ่ถอนหรือวางเงินแล้วให้ถือว่ากรรมสิทธิ์โอนกลับมาเป็นของผู้ขายฝากทันที ต้องไถ่ถอนภายในกำหนดระยะเวลาเท่านั้น

* ไถ่ถอนเกินเวลาแต่อยู่ภายใน 6 เดือน ให้ผู้ขายฝากรับรองว่าผู้ซื้อฝากมิได้ทำหนังสือแจ้งผู้ขายฝากเรื่องวันครบกำหนดมาจดทะเบียนไถ่ถอนด้วย

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

***************************************

2. เรื่อง ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยร้อยละ 5 มีผลให้กับผู้กู้เงินทุกคนที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 ของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ได้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี

กรณีที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่มีกฎหมายกำหนดชัดเจน เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนด

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (อาญา)

1. เรื่อง    ลักกระแสไฟฟ้า มีอายุความ 10 ปี

การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2501)

2. การที่จำเลยแอบติดตั้งกล้องบันทึกภาพไว้ที่ใต้โต๊ะทำงานของโจทก์ร่วม และบันทึกภาพสรีระร่างกายของโจทก์ร่วมตั้งแต่ช่วงลิ้นปี่จนถึงอวัยวะช่วงขามองเห็นกระโปรงที่โจทก์ร่วมสวมใส่ ขาท่อนล่างและขาท่อนบนของโจทก์ร่วม โดยที่กล้องบันทึกภาพมีแสงไฟสำหรับเพิ่มความสว่างเพื่อให้มองเห็นภาพบริเวณใต้กระโปรงของโจทก์ร่วมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกระทำของจำเลยส่อแสดงให้เห็นถึงความใคร่และกามารมณ์ โดยที่โจทก์ร่วมมิได้รู้เห็นหรือยินยอม อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้จำเลยจะมิได้สัมผัสต่อเนื้อตัวร่างกายของโจทก์ร่วมโดยตรง แต่การที่จำเลยใช้กล้องบันทึกภาพใต้กระโปรงโจทก์ร่วมในระยะใกล้ชิด โดยโจทก์ร่วมไม่รู้ตัวย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำโดยประสงค์ต่อผลอันไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 1 (6) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 นอกจากหมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายแล้ว ยังหมายความว่าทำการประทุษร้ายแก่จิตใจด้วย ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ทำให้โจทก์ร่วมต้องรู้สึกสะเทือนใจอับอายขายหน้า จึงถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่จิตใจของโจทก์ร่วมแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอนาจารโจทก์ร่วม ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278

   ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุ เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเนินสง่า อันเป็นสถานที่ราชการซึ่งเป็นสาธารณสถาน แม้ประชาชนที่ไปใช้บริการในห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจะต้องได้รับอนุญาต และผ่านการคัดกรองจากพยาบาลหน้าห้องตรวจก่อน แต่ก็เป็นเพียงระเบียบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการใช้บริการของโรงพยาบาลเท่านั้น หาทำให้ห้องตรวจคนไข้ดังกล่าวซึ่งเป็นสาธารณสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมจะเข้าไปได้ ต้องกลับกลายเป็นที่รโหฐานแต่อย่างใดไม่ ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจึงยังคงเป็นสาธารณสถาน ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตาม ป.อ. มาตรา 397

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาล 089 227 1177 เวปไซต์ www.ทนายใกล้ศาล.com

***************************************************

3. เรื่อง ปลอมหรือหลอกว่าเป็นตำรวจ
“คนมีสี ดูยังไงก็เท่ห์” ความคิดแบบนี้ได้ครอบงำบางท่านจนนำไปสู่การแอบอ้างแสดงตนว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527 เคยตัดสินว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดังที่เจ้าพนักงานตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่งกางเกงสีกากี สวมเสื้อคอกลมขาว คาดเข็มขัดหนัง ยืนให้สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมาให้หยุดรถ เพื่อตรวจตรงจุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ อันทำให้บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ในการเรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า ได้รับเงินจากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยแสดงตน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

****************************************  

4. เรื่อง    ปืน
ฎีกาเรื่อง ปืนผู้เสียหายเป็นหลานสะใภ้ของจำเลย ตอนเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ผู้เสียหายยืนจับรถจักรยานเพื่อจะขี่ไปธุระ ได้เกิดทะเลาะโต้เถียงกับจำเลย แล้วปืนลูกซองยาวที่จำเลยถือลงมาจากบ้านได้ลั่นขึ้น 1 นัด กระสุนปืนถูกโคนต้นมะม่วงขวามือด้านหลังผู้เสียหาย ได้ความว่า ขณะนั้นจำเลยกับผู้เสียหายอยู่ห่างกันประมาณ 5 วา แม้ผู้เสียหายจะอ้างว่าจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็รับว่าขณะยิง จำเลยถือปืนด้วยมือทั้งสองข้างในลักษณะอยู่ข้างตัวระดับเอว มิได้ประทับเล็งยิงผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ด้วยปืนลูกซองยาว เช่นนี้หากจำเลยตั้งใจจะยิงก็ไม่น่าจะผิดพลาดปรากฏด้วยว่าจำเลยชอบใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้อื่นเสมอ พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่แน่ใจว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายดังโจทก์ฟ้อง สมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

*********************************************

5. เรื่อง    ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจร
เรื่อง ใบอนุญาตขับขี่ กับ พ.ร.บ.จราจรกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140, 141, 161 ทวิ กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรใช้ดุลพินิจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว และให้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน หรือใบรับการส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงิน ประกอบกับใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นเวลาสิบวันนับแต่วันที่ส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 รีบไปชำระค่าปรับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรโดยเร็ว เพื่อจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนจากพนักงานสอบสวนทันที อันจะทำให้สามารถขับขี่รถต่อไปได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานจราจรผู้ออกใบสั่งมิได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ผู้บังคับการตำรวจจราจร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ที่ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ครั้งละไม่เกินหกสิบวัน และผู้ขับขี่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 161 จึงไม่มีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ตามบทบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจแปลความคำว่า "เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว" ตามมาตรา 140 วรรคสาม ว่า เป็นการยึดใบอนุญาตขับขี่ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถขับขี่รถในระหว่างที่เจ้าพนักงานจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว และพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานจราจรออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่แล้ว จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 152

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

************************************* 
6. หลอกเอาโฉนดแล้วไปโอนให้กับบุคคลอื่น
ฉ้อโกงหลอกให้ส่งมอบโฉนดแล้วเอาไปโอนให้กับบุคคลอื่นลำดับที่ 211 ฎีกาที่ 2062/2558ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้หลอกลวง ถ้าหากผู้หลอกลวงโดยทุจริตหลอกลวงผู้ถูกหลอกลวงและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 30277 และ 30301 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยอ้างว่าจะนำโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงไปดำเนินการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกและโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกลับนำที่ดินทั้งสองแปลงไปโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ค. ซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติทางการสมรสกับจำเลย ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ได้มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (แพ่ง)

1. เรื่องรถยนต์หายในห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าต้องรับผิดชอบ  

จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ ของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น แม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com

**************************************************


2. เรื่องผู้รับเหมา ผิดสัญญาจ้างทำของ

โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง

อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ โทร. 02 114 7521 เวปไซต์ www.ทนายกรุงเทพ.com

***************************************************


3. เรื่องสัญญาเช่าบ้าน เงินมัดจำต้องคืนหรือไม่  

เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงินประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 379, 381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้

        สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน

        เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกัน แต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้าเมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหายที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดกรณีเดียว

        ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัท ป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่าในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222 ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่านั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ด้วยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก

        แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 377 เพราะมิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้ จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้ว หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย โจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหักออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาล 089 227 1177 เวปไซต์ www.ทนายใกล้ศาล.com

***************************************************


4. เรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ จอดรถไม่ให้สัญญานเตือนภัย ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด  

แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291

ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตามแต่ผู้ขับรถที่จะถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78

มีคดีที่มีอัตราโทษสูง ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์ www.สู้คดี.com

***************************************************


5. เรื่องคดีนิติบุคคลอาคารชุด  

ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ขอฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นข้อกฎหมายที่โจทก์จะยกอายุความสิทธิเรียกร้องมาบังคับให้จำเลยที่ 1 รับชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะส่วนที่ไม่ขาดอายุความ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แม้นิติบุคคลอาคารชุดจะมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชำระหนี้อันเกิดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 แต่เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอายุความ 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิขอชำระเพียงหนี้ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ถือเป็นการกล่าวชัดแจ้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

 ค่าใช้จ่ายส่วนกลางซึ่งเจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด แม้ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 บัญญัติขึ้นภายหลัง ป.พ.พ. และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมของเจ้าของร่วมก็ตาม แต่เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องสำหรับเงินดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เมื่อตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นรายเดือน แต่ไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ได้บัญญัติไว้แล้ว ค่าปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงมีอายุความ 5 ปี เช่นเดียวกับหนี้ประธาน มิใช่เป็นกรณีที่ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้อันจะต้องนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแต่อย่างใด

 ในการใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นบทบังคับเจ้าหนี้ที่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะไม่เช่นนั้นลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10 และที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/29 บัญญัติว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ มิได้มีความหมายเพียงว่าเจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียก่อน ลูกหนี้จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้เท่านั้น หากแต่การที่ลูกหนี้ฟ้องคดีเพื่อขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยจะขอชำระหนี้ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าหนี้เท่าที่มีอยู่ภายใต้กำหนดระยะเวลาแห่งอายุความ ย่อมเท่ากับเป็นการปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้โดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว เพราะมีผลทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ส่วนที่ล่วงพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับการต่อสู้คดีในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง ศาลจึงยกอายุความขึ้นมาวินิจฉัยได้โดยชอบ

 โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อทรัพย์มิใช่ลูกหนี้ผู้ซึ่งค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่การที่โจทก์มีภาระหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้สินค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18, 29 และ 41 ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการขายทอดตลาดตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีและตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 นั่นเอง ชอบที่โจทก์จะยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 เมื่อหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินค้างจ่าย มีอายุความ 5 ปี และโจทก์ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว โจทก์จึงคงรับผิดรับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี สำหรับค่าปรับและเงินเพิ่มซึ่งโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาในลักษณะอย่างไร แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 ได้ ไม่เป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดค่าปรับไว้อัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ ก็ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคหนึ่ง ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง

มีคดีที่มีอัตราโทษสูง ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์
www.สู้คดี.com

**************************************************


6. เรื่อง    กดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มถือเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว  

การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดงจึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com

**************************************************

7. เรื่อง    มรดก
คดีมรดกเรื่อง อะไรคือทรัพย อะไรคือมรดกทรัพย์สิน เงิน ทอง เป็นของนอกกายก็จริง ในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เราเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น เราก็มีสิทธิที่จะใช้ หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้กับใครๆก็ได้ แต่ถ้าก่อนตาย ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมครับ แต่ถ้าไม่ทำพินัยกรรม เมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์ถึงจะตกเป็นของทายาท ศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน สัญญา ข้อตกลงกันไว้ดังนี้ครับ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่งการที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
***************************  

8. เรื่อง    คดีที่ดิน
คดีที่ดินเรื่อง ที่ดินงอก ครอบครองปรปักษ์เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนนเมื่อ 4 ถึง 5 ปี มานี้ ดังนั้นก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกที่เชื่อมติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่งอกพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382  

ปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 089 226 8899 เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ.com

**************************************************

9. เรื่อง    ไม่มีกำหนดอายุความฟ้องคดี ในการติดตามเอาทรัพย์ที่ถูกลักไปหรือยักยอกไปคืน  

จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าเช่าซื้อรถจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยที่ 1 รับเงินตาม หน้าที่แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นทั้งละเมิดและปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตาม สัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิดหรือติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์ที่จำเลยเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงิน จึงเป็นการใช้ สิทธิติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่ง ไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้ สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูก จำกัดด้วย อายุความได้ สิทธิ ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ แม้จะเกิน 1 ปี จำเลยที่ 2ค้ำประกันจำเลยที่ 1 มูลหนี้ของจำเลยที่ 2 ก็เกิดจากสัญญา หาได้เกิดจากมูลละเมิดอันจะมีอายุความ 1 ปีไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

มีคดีที่มีอัตราโทษสูง ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ในคดี โทร. 081 803 4097 เวปไซต์ www.สู้คดี.com
**************************************************

10. เรื่อง    นิติบุคคลอาคารชุด
หมู่บ้านจัดสรรของจำเลยได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย แสดงว่ามีการจัดทำแผนผังโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินหรือประโยชน์เกี่ยวกับสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง มีหลักเกณฑ์และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว สิ่งก่อสร้าง ถนน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลใดจะทำให้เสื่อมค่าทำให้ขาดประโยชน์ หรือผิดแผกไปจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้

ปรึกษาทนายกรุงเทพ โทร. 02 114 7521 เวปไซต์ www.ทนายกรุงเทพ.com

***************************************  

 

 11. เรื่อง    บังคับคดี
ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเป็นประกันเงินกู้ไว้แก่โจทก์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินกันเป็นส่วนสัด กรณีต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสอง จำเลย และผู้ถือกรรมสิทธ์รวมคนอื่นได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาททุกส่วนทั้งแปลง แม้ภายหลังผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจะได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทกันเป็นส่วนสัดแล้วตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงภายในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเอง โดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การจำนองที่ดินพิพาทจึงยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิยึดที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิขอกันที่ดินเฉพาะส่วนของตนออกจากที่ดินพิพาทก่อนขายทอดตลาด

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ โทร. 099 464 4445
เวปไซต์ www.ทนายใกล้คุณ
**********************************  

นัดโทษต่อ I เจ้าหน้าที่ทุจริต I การแบ่งทรัพย์มรดก I สิทธิผู้รับจำนอง I การโอนหุ้นและสิทธิ์ I อันตรายสาหัส I สิทธิในการยื่นฟ้อง I

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร

กฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา เกี่ยวกับ การนับโทษต่อในคดีอาญา กรณีที่จำเลยถูกฟ้องในหลายคดีแต่เป็นการกระทำผิดเดียวกัน และการแสดงเจตนาของโจทก์ในภายหลังผ่านคำร้องขอให้นับโทษต่อ

2. หัวข้อเรื่อง

การนับโทษต่อในคดีอาญาเมื่อไม่ได้ระบุไว้ในคำฟ้อง

3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

แยกข้อเท็จจริง

โจทก์ฟ้องจำเลยในสองสำนวน โดยไม่ได้ขอให้นับโทษต่อกันไว้ในคำขอท้ายฟ้อง

ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้นับโทษต่อ โดยอ้างว่า จำเลยในสองคดีเป็นบุคคลเดียวกัน และกระทำความผิดเดียวกัน

จำเลยไม่ได้คัดค้านคำร้องนั้น และไม่ได้แถลงรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน

ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งใด ๆ ต่อคำร้องนั้นก่อนมีคำพิพากษา

แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล

ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้การขอให้นับโทษต่อจำต้องระบุไว้ในคำฟ้อง

โจทก์สามารถแสดงเจตนาโดยการยื่นคำร้องในภายหลังได้

แม้จำเลยไม่แถลงรับ แต่ข้อเท็จจริงในสองคดีเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ฟ้องโดยโจทก์เดียวกัน ศาลเดียวกัน และเวลาใกล้เคียงกัน

การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งยกคำร้องของโจทก์ ย่อมถือว่าอนุญาตโดยปริยายให้มีการนับโทษต่อได้

เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาอย่างชัดเจนในคำร้อง และข้อเท็จจริงยืนยันได้ว่าจำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งปฏิเสธคำร้อง ย่อมถือว่า "อนุญาตโดยปริยาย" ให้มีการนับโทษต่อในภายหลังได้ แม้จะมิได้ขอไว้ในคำฟ้องดั้งเดิมก็ตาม

📌 บทสรุป
การนับโทษต่อในคดีอาญาไม่จำเป็นต้องระบุในคำฟ้องตั้งแต่ต้น โจทก์สามารถยื่นคำร้องเพิ่มเติมภายหลังได้ หากข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน และการกระทำผิดเป็นเรื่องเดียวกัน การไม่คัดค้านของจำเลยและการไม่ปฏิเสธของศาลย่อมถือเป็นการอนุญาตโดยปริยายให้มีการนับโทษต่อ

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

****************************************

เจ้าหน้าที่ทุจริต

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818934097

1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร

กฎหมายอาญา – ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 147 และมาตรา 151

2. หัวข้อเรื่อง

การแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์โดยมิได้เอาทรัพย์ไป ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 151

3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ข้อเท็จจริง

จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล และมีอำนาจในการติดตั้ง ตรวจสอบ และเก็บค่าธรรมเนียมใช้น้ำประปา
ต่อมา จำเลยได้ดำเนินการติดตั้งการใช้น้ำให้แก่บุคคลภายนอก (คือ ส. กับพวก) โดยไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำตามระเบียบของเทศบาล
รวมถึงมีการออกเอกสารแจ้งจำนวนก๊อกน้ำน้อยกว่าความเป็นจริงเพื่อเก็บเงินจาก ส. กับพวก มากกว่าที่ควรต้องจ่ายตามระเบียบ
โดยจำเลยมิได้นำเงินที่เก็บได้ดังกล่าวส่งเข้าเทศบาล แต่เบียดบังไว้เป็นของตนรวมเป็นเงิน 3,955 บาท

ข้อกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ซึ่งตนมีหน้าที่จัดการหรือรักษาไว้เป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ต้องระวางโทษ...”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้...” โดยเน้นว่า ไม่ต้องเอาทรัพย์ไปเอง แต่ใช้ตำแหน่งหาประโยชน์

ดุลพินิจของศาล

ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะที่เจาะจงว่าจำเลย “เบียดบังยักยอกเอาเงิน” ซึ่งเป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 147 โดยตรง เพราะจำเลยรับเงินมาแล้วไม่ส่งคืนเทศบาล แต่เก็บไว้เป็นของตนเอง
ส่วนมาตรา 151 นั้น ศาลเห็นว่า การกระทำที่เข้าข่ายต้องเป็น “การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์” จากทรัพย์ โดย “มิได้เอาทรัพย์ไป”
แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลย “เบียดบังเอาทรัพย์ไปเป็นของตน” แล้ว จึงไม่เข้าข่ายมาตรา 151

เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย

เพราะมาตรา 151 มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจในตำแหน่งเพื่อหาผลประโยชน์จากทรัพย์ โดยที่ตนไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์นั้นโดยตรงหรือไม่ได้นำทรัพย์ไปเอง
แต่จำเลยในคดีนี้ กลับเป็นผู้รับเงินจากผู้ใช้น้ำ แล้วไม่ส่งคืนให้เทศบาลโดยทุจริต เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบของมาตรา 147 เท่านั้น

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

****************************************
การแบ่งทรัพย์มรดก

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

1. กฎหมายเกี่ยวกับอะไร

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งทรัพย์มรดก
อาศัยหลักตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ 172

2. หัวข้อเรื่อง

การแบ่งทรัพย์มรดกและกรรมสิทธิ์รวมโดยวิธีตามกฎหมาย มาตรา 1364

3. วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ✅ ข้อเท็จจริง

โจทก์และจำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกของ อ. โดยต่างฝ่ายต่างครอบครองทรัพย์บางส่วนมาแล้ว

โจทก์ขอฟ้องศาลให้บังคับแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินมรดก

โจทก์และจำเลยมีการตกลงแบ่งครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทและใช้ประโยชน์แยกกันมาเป็นเวลานาน เช่น ทำสัญญาเช่าเก็บค่าเช่าเอง

จำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามข้อตกลง แต่กล่าวหาโจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนด

✅ ข้อกฎหมาย

มาตรา 1364 ป.พ.พ. กำหนดวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้ทำได้โดยการแบ่งทรัพย์กันเอง หรือถ้าแบ่งไม่ได้ให้ขายทอดตลาด

มาตรา 172 วรรคสอง ป.วิ.พ. ระบุถึงหลักการบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม

มาตรา 142 ป.วิ.พ. ว่าด้วยการไม่ขัดกันของคำขอในคำฟ้องกับคำพิพากษา

✅ ดุลพินิจของศาลและเหตุผล

ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และได้บรรยายสิทธิของตนชัดเจนตามกฎหมาย

การที่จำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่แบ่งทรัพย์ตามข้อตกลง ย่อมทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์บางรายการ เช่น ตึกแถว ได้มีการแบ่งครอบครองและใช้ประโยชน์แยกกันมาเป็นเวลานาน ถือเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์ในทางพฤตินัยแล้ว

ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมรวมถึงทางเท้าด้านหน้าและหลังตึกแถว ถือว่า สอดคล้องกับสภาพแห่งทรัพย์สิน และไม่ขัดต่อกฎหมาย

การให้แบ่งกันเองก่อน หากไม่ได้ให้ขายทอดตลาด สอดคล้องกับมาตรา 1364 โดยตรง

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

************************************
สิทธิผู้รับจำนอง

หัวข้อ: สิทธิของผู้รับจำนองในการขอกันเงินจากการขายทอดตลาด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 378/2559

แยกข้อเท็จจริง
ผู้ร้องในคดีนี้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจำนองห้องชุดพิพาท ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ โจทก์ในคดีหลักได้ยึดทรัพย์ (ห้องชุด) ของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยื่นคำร้องขอให้ศาลกันเงินส่วนหนึ่งจากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น โดยอ้างสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง

แยกข้อกฎหมาย

ป.วิ.พ. มาตรา 287: กำหนดให้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นในทรัพย์ที่ถูกยึด สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้กันเงินจากการขายทอดตลาดไว้ได้

ป.วิ.พ. มาตรา 288 และ 289: บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์หรือบังคับชำระหนี้ตามสิทธิของตนก่อนเจ้าหนี้รายอื่น (เช่น ผู้รับจำนองเมื่อหนี้ถึงกำหนด)

ดุลพินิจของศาลและเหตุผล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

ผู้ร้องใช้สิทธิตาม มาตรา 287 ไม่ใช่ มาตรา 289 เพราะหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนด จึงยังไม่สามารถฟ้องบังคับจำนองได้

อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีของโจทก์ที่นำห้องชุดออกขายทอดตลาดจะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนอง (บุริมสิทธิ)

ผู้ร้องมีสิทธิเสนอให้ศาล "กันเงิน" จากการขายทอดตลาดไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิตามสัญญาจำนอง

คำร้องขอกันเงินนี้ เป็นคำร้องขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ศาลจึงกำหนดให้เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตาม ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (2)(ก)

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

คำพิพากษานี้เป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้เจ้าหนี้จำนองเข้าใจว่า
แม้ยังไม่สามารถฟ้องบังคับจำนองได้เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ก็สามารถใช้สิทธิตาม มาตรา 287 ขอให้ศาล “กันเงิน” ไว้จากการขายทอดตลาดโดยโจทก์รายอื่น เพื่อไม่ให้ตนเสียประโยชน์จากสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง

ศาลย้ำหลักว่า สิทธิของผู้รับจำนองเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง แม้ยังไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีตามมาตรา 289 ได้ก็ตาม แต่การกันเงินไว้จะทำให้เจ้าหนี้จำนองสามารถได้รับการชำระหนี้ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมตามลำดับบุริมสิทธิ

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
📌 เว็บไซต์: www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

******************************************
การโอนหุ้นและสิทธิ์

หัวข้อ: สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและการโอนหุ้นระบุชื่อที่ยังไม่จดทะเบียน

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 1253/2537
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

🔍 ข้อเท็จจริง

โจทก์ทั้งสองได้โอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำเลยให้แก่กัน แต่ยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ต่อมาบริษัทจำเลยได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ซึ่งมีมติที่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติดังกล่าว โดยอ้างสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น

⚖ ข้อกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม
ว่าด้วยการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ จะมีผลต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเมื่อได้จดแจ้งชื่อผู้รับโอนและที่อยู่ลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว

มาตรา 1176
กำหนดให้เฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงมติในที่ประชุมใหญ่

มาตรา 1171
กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง และอนุญาตให้มีการจัดประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องเร่งด่วน

🧠 ดุลพินิจของศาล

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้จดแจ้งการโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท จำเลย จึงยังไม่ถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบ

ไม่มีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมหรือใช้อำนาจออกเสียง รวมถึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุม

มติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่มีการ “ปิดสมุดพักการโอนหุ้น” เพื่อความชัดเจนในการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและสิทธิออกเสียงในการประชุมวิสามัญ จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย

📌 สรุป

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อจะมีผลทางกฎหมายต่อบริษัทต่อเมื่อมีการจดแจ้งลงทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้วเท่านั้น หากยังไม่จดทะเบียน ผู้โอนหรือผู้รับโอนไม่มีสิทธิเข้าประชุม ออกเสียง หรือฟ้องขัดมติของที่ประชุมกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

****************************************
อันตรายสาหัส

หัวข้อ: ข้อพิจารณาเรื่องอันตรายสาหัสและเจตนาในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ - ศาลฎีกาที่ 575/2548

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา ข้อเท็จจริง

โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ โดยระบุว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสและปล้นทรัพย์ แต่จากการพิจารณาหลักฐานพบว่า:

ผู้เสียหายมีบาดแผลที่แพทย์เห็นว่าต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน

ผู้เสียหายเบิกความว่าอาการหายภายใน 21 วัน

ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้เสียหายป่วยทุกขเวทนาเกิน 20 วัน หรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้เกิน 20 วัน

ไม่มีพฤติการณ์ชัดเจนว่าโจทก์มีเจตนาปล้นทรัพย์

ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล

เรื่องอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8):
ศาลฎีกาเห็นว่าการที่กระดูกโหนกแก้มขวาหัก และมีบาดแผลที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วันนั้น ยังไม่อาจถือว่าเป็น “อันตรายสาหัส” ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้แสดงว่าผู้เสียหายป่วยทุกขเวทนาเกิน 20 วัน หรือไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เกิน 20 วัน

อำนาจของศาลในการพิจารณาแม้ไม่มีการยกอุทธรณ์:
แม้ประเด็นดังกล่าวจะไม่ได้ถูกยกขึ้นอุทธรณ์โดยจำเลย แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

เรื่องเจตนาในการปล้นทรัพย์:
พยานหลักฐานมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ไม่ใช่ปล้นทรัพย์

การเปลี่ยนบทลงโทษ:
ศาลฎีกาจึงเปลี่ยนบทลงโทษจำเลยเป็นฐาน “ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย” ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 83 โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

การเพิ่มโทษ:
แม้โจทก์ฟ้องขอเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ข้อเท็จจริงไม่เข้าหลักฐานในความผิดซ้ำฐานเดิม (ปล้นทรัพย์) และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอเพิ่มโทษตาม มาตรา 92 ไว้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเข้าข่ายเพิ่มโทษตาม มาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้

วิเคราะห์โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

คำพิพากษาฎีกานี้ชี้ให้เห็นถึงหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับ “อันตรายสาหัส” ว่าต้องมีหลักฐานแสดงชัดเจนถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้เสียหาย มิใช่เพียงการฟังแพทย์ว่าต้องรักษานานเกิน 21 วัน อีกทั้งแสดงถึงหลัก “ยกประโยชน์แห่งความสงสัย” ว่าศาลต้องวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลยหากหลักฐานไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเจตนากระทำผิด โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ซึ่งเจตนาเป็นหัวใจของการวินิจฉัยผิดฐานปล้น

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

*************************************
สิทธิการยื่นฟ้อง

หัวข้อ: สิทธิในการยื่นฟ้องของผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2974/2545

แยกข้อเท็จจริง

ที่ดินพิพาทมีโฉนดเป็นชื่อของจำเลย

โจทก์อ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลโดยอ้างสิทธิครอบครอง

โจทก์อ้างบทบัญญัติมาตรา 1369 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนสิทธิของตน

ไม่มีพฤติการณ์ที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท

แยกข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กำหนดให้ผู้ที่จะยื่นฟ้องต่อศาลได้ ต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิ หรือหน้าที่ตามกฎหมายที่ถูกโต้แย้ง หรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1369
เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าผู้ครอบครองทรัพย์ถือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเท่านั้น มิได้เป็นหลักฐานเด็ดขาดว่าผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือเจ้าของกรรมสิทธิ์

ดุลพินิจของศาลฎีกา
ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแล้ว และไม่มีพฤติการณ์ใดที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การที่โจทก์อ้างสิทธิครอบครองเพียงลำพังโดยไม่มีมูลสิทธิอื่นรองรับ ไม่อยู่ในข่ายที่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลตามมาตรา 55 ได้ เพราะไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างคู่ความ

ให้เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี

ศาลเห็นว่า โจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นฟ้องในกรณีนี้ เนื่องจาก

จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนด

โจทก์ไม่มีสิทธิใดในที่ดินนอกจากการครอบครอง ซึ่งไม่มีกฎหมายให้การรับรองว่าเหนือกว่ากรรมสิทธิ์

ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าเกิดข้อพิพาทหรือโต้แย้งสิทธิระหว่างคู่ความ

การอ้างมาตรา 1369 เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่หลักฐานที่แสดงสิทธิทางศาล

จึงวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลได้

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
📌 www.สู้คดี.com
📌 www.ทนายภูวงษ์.com

*****************************************




นิติกรรมอำพราง I ความรับผิดของโรงพยาบาล I ลักทรัพย์หรือยักยอก I อำนาจฟ้องคดีอาญา I เปลี่ยนป้ายราคาเป็นฉ้อโกง I ฯลฯ

  • นิติกรรมอำพราง
  • ความรับผิดของโรงพยาบาล
  • ลักทรัพย์หรือยักยอก
  • อำนาจฟ้องคดีอาญา
  • เปลี่ยนป้ายราคาเป็นฉ้อโกง
  • การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ
  • นิติกรรมเช่าซื้อทองคำหรือนิติกรรมอำพราง
  • ประมาททางแยก
  • เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล  
  • เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย  
  • คำสั่งคณะรัฐประหารเป็นกฎหมายหรือไม่



  •   

หัวข้อ: สัญญาเช่าซื้อที่แท้คือการกู้ยืมเงิน และความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 14839/2556

โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

✅ ข้อเท็จจริง

บริษัท จ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำกับบุคคล 2 คน ได้แก่

บ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำราคา 16,500 บาท และขายทองในวันเดียวกัน ได้เงิน 11,437 บาท

ส. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำราคา 16,603 บาท และขายในวันเดียวกัน ได้เงิน 10,000 บาท

ทั้งสองต้องผ่อนชำระเงินคืนบริษัทวันละ 95 บาท เป็นเวลา 174 และ 175 วันตามลำดับ

✅ ข้อกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 การกู้ยืมเงินต้องมีเจตนาให้ใช้เงิน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเพื่อครอบครอง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 654 และ 656 ว่าด้วยการกู้ยืมเงินและการคิดดอกเบี้ยเกินกฎหมาย

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 กำหนดดอกเบี้ยไม่เกิน ร้อยละ 15 ต่อปี

✅ ดุลพินิจของศาล

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

การที่ บ. และ ส. ขายทองคำในวันเดียวกันทันที แสดงเจตนาไม่ได้ต้องการเช่าซื้อทองคำจริง

แต่ต้องการเงินสดจากบริษัท จ. เท่านั้น

การทำสัญญาเช่าซื้อจึงเป็น นิติกรรมอำพราง

แท้จริงคือ การกู้ยืมเงิน

เมื่อคำนวณจากจำนวนเงินที่ได้จริงเทียบกับจำนวนที่ต้องชำระคืน คิดเป็นดอกเบี้ยมากกว่า ร้อยละ 80 ต่อปี ซึ่ง เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

✅ ผลของคดี

บริษัท จ. (จำเลย) มีความผิดฐาน ให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา

ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา

แม้ทำสัญญาในรูปแบบ “เช่าซื้อทองคำ” ก็ไม่อาจปัดความรับผิดได้

🔚 สรุป

การทำสัญญาเช่าซื้อที่มีลักษณะให้ทรัพย์แล้วรับเงินกลับมาในทันทีโดยผู้รับต้องผ่อนจ่ายคืนตามจำนวนเงินสูงกว่ามูลค่าทรัพย์มาก ถือเป็น นิติกรรมอำพราง เจตนาแท้จริงคือการ ให้กู้ยืมเงิน และหากเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ย่อมมีความผิดตามกฎหมายอาญา

📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

*********************************** 
ความรับผิดของโรงพยาบาล

หัวข้อ: ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล กรณีลูกจ้างปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

ข้อเท็จจริง

จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนแผงเหล็กกั้นทาง และอยู่ในสภาพมีอาการบาดเจ็บที่ไม่ปรากฏภายนอกแต่มีภาวะบอบช้ำของสมองและมีเลือดออกในสมอง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

พยาบาลเวร (ลูกจ้างของจำเลย) กลับให้ผู้ช่วยพยาบาลค้นหาบัตรประกันสุขภาพต่าง ๆ ก่อน และเมื่อไม่พบหลักฐานว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จึงปฏิเสธการรับรักษา และแนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ ส่งผลให้บุตรของโจทก์เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ข้อกฎหมาย

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 บัญญัติให้สถานพยาบาลต้องมีหน้าที่ในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างทันท่วงที เพื่อให้พ้นจากอันตราย ตามมาตรฐานวิชาชีพ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 กำหนดความรับผิดของนายจ้างจากการที่ลูกจ้างกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่

ดุลพินิจของศาลและเหตุผล

ศาลเห็นว่า

การที่พยาบาลเวรของจำเลยปฏิเสธการรับรักษาบุตรของโจทก์ในขณะอยู่ในสภาพอันตราย โดยอ้างเรื่องหลักฐานการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทั้งที่ตามหน้าที่วิชาชีพทางการแพทย์ต้องให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นอันดับแรก เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อหน้าที่โดยตรง

พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย

จำเลยในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง ซึ่งจำเลยกลับละเลยไม่ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อันทำให้ต้องรับผิดตามกฎหมาย

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

คดีนี้ตอกย้ำหน้าที่สำคัญของสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในการให้การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยกเหตุเรื่องค่าใช้จ่ายมาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธการรักษา เพราะการชะลอการรักษาอาจส่งผลถึงชีวิตและเป็นความรับผิดทางแพ่งของผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

******************************************

ลักทรัพย์หรือยักยอก

หัวข้อ: พนักงานธนาคารทุจริตถอนเงินลูกค้าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 1104/2545

ข้อเท็จจริง:
จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ดำรงตำแหน่งพนักงานธนากร มีหน้าที่รับฝากและถอนเงินของลูกค้าธนาคาร โดยในคดีนี้จำเลยใช้วิธีการปลอมเอกสารใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าในแต่ละครั้ง แล้วทุจริตนำเงินออกไปจากธนาคาร จนสำเร็จในหลายวาระ

ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:
ประเด็นสำคัญในคดีนี้คือการวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็น "ความผิดฐานลักทรัพย์" หรือ "ยักยอกทรัพย์"

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินที่ลูกค้านำฝากกับธนาคาร แม้จะฝากเข้าบัญชีของลูกค้า แต่ยังคงเป็นเงินของธนาคารในฐานะผู้ครอบครอง จำเลยในฐานะพนักงานของธนาคารเพียงมีหน้าที่ปฏิบัติงาน แต่ ไม่มีสิทธิครอบครองเงินนั้นเป็นส่วนตัว

ดังนั้น การที่จำเลย ใช้กลวิธีทุจริตถอนเงินออกไปจากธนาคาร ถือเป็น การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ซึ่งเข้าองค์ประกอบของ ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

การวินิจฉัยฎีกา:

จำเลยยื่นฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ ซึ่งเป็น ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับฎีกาในข้อนี้

แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายข้ออื่นแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาด้วยว่า โทษที่ศาลอุทธรณ์ลงไว้นั้นเหมาะสมหรือไม่ และจะรอการลงโทษให้หรือไม่

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-893-4097

กรณีนี้ชี้ให้เห็นถึงการแบ่งแยก "ลักทรัพย์" กับ "ยักยอกทรัพย์" อย่างชัดเจน กล่าวคือ หากทรัพย์ยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของหรือบุคคลที่ควบคุมตามกฎหมาย การนำออกไปโดยทุจริตคือ “ลักทรัพย์” แต่หากอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำแล้วนำไปโดยมิชอบ จึงเป็น “ยักยอก”
ในกรณีของพนักงานธนาคาร แม้จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเบิกถอนเงิน แต่ตัวเงินนั้นยังอยู่ในความครอบครองของธนาคาร ไม่ใช่ของจำเลย จึงถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่สามารถอ้างเรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่หรือการรับมอบเพื่อใช้เป็นช่องทางการยักยอกได้

📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com

******************************************
อำนาจฟ้องคดีอาญา

หัวข้อ: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจ ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

คำพิพากษาฎีกาที่ 11858/2557
วิเคราะห์โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

✅ ข้อเท็จจริง

โจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่บุคคลภายนอก โดยอ้างว่าเหตุเกิดที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

ต่อมาในชั้นพิจารณากลับได้ความจากคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่า การจำนำรถยนต์เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม

อย่างไรก็ตาม คดีนี้กลับมีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ซึ่งไม่ได้มีเขตอำนาจสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนด

✅ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล 1. อำนาจในการฟ้องคดีอาญา

ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 ระบุว่า พนักงานอัยการ และ ผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้

แต่หากเป็น พนักงานอัยการ ฟ้องคดี ต้องมีการสอบสวนมาก่อนอย่างถูกต้องตาม มาตรา 120

2. เขตอำนาจการสอบสวน

การสอบสวนคดีอาญาต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจตาม มาตรา 18 และ มาตรา 19

การสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีเขตอำนาจ ไม่ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนั้น

3. ความผิดฐานยักยอก

เป็น ความผิดกรรมเดียว สำเร็จเมื่อมีการเบียดบังทรัพย์ไปโดยทุจริต ไม่ใช่ความผิดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายพื้นที่ จึงไม่เข้าเงื่อนไขให้พนักงานสอบสวนต่างพื้นที่รับผิดชอบสอบสวนได้

✅ เหตุผลของศาล

ศาลวินิจฉัยว่า การที่พนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยทำการสอบสวน ทั้งที่เหตุเกิดในพื้นที่ของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม และไม่มีกรณีจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกตามที่ มาตรา 18 วรรคสาม กำหนด จึงถือเป็นการสอบสวนที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อไม่มีการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ตาม มาตรา 120 ส่งผลให้ ผู้เสียหายก็ไม่อาจขอเป็นโจทก์ร่วมได้ ด้วยเช่นกัน

📌 สรุป

การฟ้องคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ ต้องมีการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น หากพนักงานสอบสวนที่ไม่มีเขตอำนาจเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ถือว่าคดีไม่มีการสอบสวน ส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง และผู้เสียหายไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมได้

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

*************************************

เปลี่ยนป้ายราคาสินค้าถือเป็นการฉ้อโกง

หัวข้อ: การเปลี่ยนป้ายราคาเพื่อชำระเงินต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542

ข้อเท็จจริง:
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้กระทำการเปลี่ยนป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะจากราคาจริง 1,785 บาท ไปเป็น 134 บาท แล้วให้พวกของจำเลยนำไปชำระเงินในราคาที่ถูกกว่าความจริง พนักงานเก็บเงินหลงเชื่อและรับเงินเพียง 134 บาท ก่อนมอบโคมไฟให้จำเลยไปโดยความยินยอม

ข้อกฎหมาย:
การลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 กำหนดว่า ผู้กระทำต้อง "เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต" หมายความว่า การกระทำต้องเป็นการนำทรัพย์ไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
ในขณะที่การฉ้อโกงตามมาตรา 341 เป็นการ "แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริง" เพื่อให้บุคคลหลงเชื่อและยินยอมมอบทรัพย์ให้ ซึ่งแม้เจ้าของจะยินยอมให้โดยความเข้าใจผิด ก็ยังถือเป็นความผิด

ดุลพินิจของศาล:
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายลักทรัพย์ เพราะไม่ได้เอาทรัพย์โดยพลการหรือโดยไม่ยินยอม แต่เป็นการใช้กลอุบายหลอกลวงเจ้าหน้าที่เก็บเงินของผู้เสียหายให้หลงเชื่อว่าราคาโคมไฟมีเพียง 134 บาท ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้เจ้าหน้าที่มอบของกลางให้โดยสมัครใจแต่โดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเรื่องราคา

จึงถือว่าเป็น การฉ้อโกง ไม่ใช่ การลักทรัพย์ เพราะการได้มาซึ่งทรัพย์นั้นเกิดจากการยินยอมของผู้เสียหายโดยการหลอกลวงให้เข้าใจผิด

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 0818934097

คำพิพากษานี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์กับฉ้อโกง กล่าวคือ หากการได้มาซึ่งทรัพย์นั้นเกิดจาก "การหลอกลวงให้เจ้าของยินยอม" แม้จะดูคล้ายกับการแอบเอาทรัพย์ไป แต่ก็ไม่ใช่การลักทรัพย์ เพราะเจ้าของหรือผู้ครอบครองยินยอมโดยหลงเชื่อจากข้อความเท็จ ความผิดย่อมเป็นฉ้อโกงตามมาตรา 341

คดีนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีที่มีการใช้กลอุบาย เช่น การเปลี่ยนป้ายราคา ตบตาเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจผิดในมูลค่าทรัพย์สิน หรือพฤติการณ์อื่นที่ได้ทรัพย์โดยที่ผู้ให้เข้าใจผิด

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ คำถามที่ปรึกษาบ่อยในเวปไซต์ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

**************************************

การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ

หัวข้อ: การเลิกบริษัทและอำนาจของกรรมการบริษัทหลังเลิกกิจการ

วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10821/2556
โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

🧾 ข้อเท็จจริง

บริษัท ส. ได้มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทตามกฎหมาย โดยตั้งจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 และ มาตรา 1252 ขณะเดียวกัน จำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริษัท ได้กระทำการในนามของบริษัทโดยไม่มีอำนาจ เช่น ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่างานก่อสร้างให้แก่โจทก์โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชำระบัญชี (จำเลยที่ 1)

⚖️ ข้อกฎหมาย

ป.พ.พ. มาตรา 1254
การเลิกบริษัทจำกัดมีผลเมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว และต้องยื่นขอจดทะเบียนการเลิกภายใน 14 วัน

ป.พ.พ. มาตรา 1252
หลังจากบริษัทเลิกกิจการแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการแทนบริษัทคือ “ผู้ชำระบัญชี” ไม่ใช่กรรมการอีกต่อไป เว้นแต่กรรมการได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชีด้วย

ป.พ.พ. มาตรา 1250
หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือการสะสางงาน ตัดหนี้ และจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท มิได้รวมถึงการรับผิดส่วนตัวต่อหนี้บริษัท

ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกเป็นประเด็นฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

🧠 ดุลพินิจของศาลและเหตุผล

ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อบริษัท ส. ได้จดทะเบียนเลิกกิจการแล้ว และจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบ กรรมการบริษัทเดิม (จำเลยที่ 2) ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทอีก

การที่จำเลยที่ 2 โอนสิทธิเรียกร้องในนามบริษัทให้โจทก์โดยลำพัง จึง ไม่มีผลผูกพันบริษัท และไม่ถือว่าบริษัทได้โอนสิทธิเรียกร้องนั้น

โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมจากจำเลยที่ 3 ได้ในฐานะผู้รับโอนสิทธิ

นอกจากนี้ ผู้ชำระบัญชี (จำเลยที่ 1) ก็ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดแทนบริษัทต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินบริษัท

แม้คู่ความมิได้ยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นฎีกา แต่ศาลเห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จึงมีอำนาจวินิจฉัยได้เอง

✅ สรุปข้อกฎหมาย

เมื่อมีการเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทเดิมย่อมสิ้นสุด

การกระทำของกรรมการที่ไม่มีอำนาจหลังการเลิกบริษัท ย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท

โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในการฟ้องเรียกเงินจากบุคคลภายนอกแทนบริษัทได้

ผู้ชำระบัญชีไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในหนี้สินของบริษัท เว้นแต่มีกรณีพิเศษที่กฎหมายกำหนด

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com
🌐 www.ทนายภูวงษ์.com

**************************************

การตีความนิติกรรมเช่าซื้อทองคำกับข้อกล่าวหาเรื่องนิติกรรมอำพรางเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย  

หัวข้อ: การตีความนิติกรรมเช่าซื้อทองคำกับข้อกล่าวหาเรื่องนิติกรรมอำพรางเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมาย

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา 5585/2557

ข้อเท็จจริง:

ส. และ ว. มีความประสงค์เดิมต้องการกู้ยืมเงิน

ต่อมาได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท จ. เพื่อรับสร้อยคอทองคำรูปพรรณมา โดยต่างนำไปขายได้เงินไม่เท่ากัน

มีข้อกล่าวหาว่าการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นการอำพรางการกู้ยืมเงินเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล:

ประเด็นทางกฎหมายที่พิจารณา: ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการทำ นิติกรรมอำพราง เพื่อให้กู้ยืมเงินในลักษณะที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 หรือไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า:

แม้ความประสงค์เดิมของ ส. และ ว. จะเป็นการกู้ยืมเงิน แต่เมื่อทั้งสองตกลงทำสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ ย่อมแสดงถึงการ “เปลี่ยนเจตนา” เป็นการยอมรับข้อตกลงเช่าซื้อ

การที่ ส. และ ว. นำสร้อยไปขายได้เงินไม่เท่ากันแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ตกลงเงินกู้เป็นจำนวนที่แน่นอน

หากเป็นการให้กู้ยืมจริง จำเลยควรทราบจำนวนเงินที่แน่นอนและสามารถให้เงินได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ไปขาย

การที่จำเลยใช้วิธีส่งมอบทองคำแทนการมอบเงินสด แสดงถึงความเป็น “ธุรกรรมเช่าซื้อจริง” ไม่ใช่การอำพราง

เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยในคดี:

พฤติการณ์โดยรวม ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการทำ นิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านดอกเบี้ยตามกฎหมาย

จำเลยกระทำการภายใต้รูปแบบธุรกิจการค้าเช่าซื้อที่ชอบด้วยกฎหมาย

ไม่มีพฤติการณ์หลอกลวงหรือปกปิดเพื่อให้เกิดผลทางกฎหมายที่ผิดจากความเป็นจริงตามนิติกรรม

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

คำพิพากษานี้มีสาระสำคัญว่า แม้บุคคลจะมีความประสงค์กู้ยืมเงินในตอนต้น แต่หากตกลงทำสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ โดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่าจำนวนเงินเป็นที่ตกลงกันแน่นอนและไม่มีพฤติการณ์บีบบังคับ ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนเจตนาและนิติกรรมเช่าซื้อย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย การกล่าวหาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางจึงต้องพิจารณาเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาและพฤติการณ์แวดล้อมอย่างรอบคอบ หากไม่มีหลักฐานชัดเจน ศาลจะไม่รับฟังว่าเป็นความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
📞 ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
🔎 ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

**************************************

ความรับผิดของผู้ขับขี่เมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง  

หัวข้อ: ความรับผิดของผู้ขับขี่เมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2531
วิเคราะห์โดย ทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

🧾 ข้อเท็จจริง

จำเลยที่ 1 ขับรถผ่านทางร่วมทางแยกด้วยความเร็วสูง โดยไม่ลดความเร็วตามสมควรเพื่อระวังอันตราย ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถมาจากอีกทางหนึ่ง ส่งผลให้รถของจำเลยที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์นั้น

⚖️ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล

ประเด็นทางกฎหมาย
กฎหมายจราจรทางบกและหลักสากลในการใช้ทางร่วมทางแยก กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวัง ลดความเร็วเมื่อเข้าใกล้ทางแยก เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ

หลักการในคำพิพากษา

การที่ทางใดจะเป็น "ทางเอก" หรือ "ทางโท" ไม่ใช่เหตุให้ผู้ขับขี่ในทางเอกมีสิทธิเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูงโดยไม่รั้งรอ

ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ขับขี่ในทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเอกหรือทางโท ต่างมี "หน้าที่ต้องลดความเร็ว" เมื่อเข้าสู่ทางร่วมทางแยก

การที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงในจุดที่ควรใช้ความระมัดระวัง เป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดเหตุชนกัน จึงต้องร่วมรับผิดในเหตุการณ์

💡 เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย

ศาลเห็นว่าพฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยกโดยใช้ความเร็วสูง ทั้งที่สามารถคาดหมายได้ว่าอาจมีรถจากทางอื่นมาในเวลาเดียวกัน เป็นการละเลยหน้าที่ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควร

ความประมาทของจำเลยที่ 1 เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุชนกัน อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

จึงถือว่าเหตุเกิดขึ้น "เป็นผลจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ด้วย"

📌 สรุป:
ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน ไม่ว่าขับมาทางเอกหรือทางโท ต้องลดความเร็วเมื่อเข้าสู่ทางร่วมทางแยก การขับด้วยความเร็วสูงโดยไม่รั้งรอถือเป็นความประมาท หากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องร่วมรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะขับมาในทางเอกก็ตาม

หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้
ติดต่อ ทนายภูวงษ์ โทร. 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

*****************************************

การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล

หัวข้อ: การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล – ฎีกาที่ 4682/2541

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-803-4097

✅ ข้อเท็จจริง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ศ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้ง ผู้ร้อง เป็นผู้อนุบาล

ต่อมา ผู้คัดค้านทั้งสาม ยื่นคำร้องคัดค้านขอเพิกถอนคำสั่งนั้น โดยอ้างว่าผู้ร้องกระทำโดยไม่สุจริต และปิดบังพินัยกรรมของบิดา ซึ่งระบุให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.

คดีก่อนหน้านั้นมีการพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์ให้ ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. อยู่ก่อน

ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล โดยไม่ได้อ้างเหตุถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/8

✅ ข้อกฎหมายและดุลพินิจของศาล

มาตรา 28 วรรคสอง และ มาตรา 1598/18 วรรคสอง ให้ใช้บทบัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองโดยอนุโลมในการแต่งตั้งผู้อนุบาล

หากปรากฏว่าผู้ที่ศาลตั้งเป็นผู้อนุบาลนั้นขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 1587 หรือเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาล ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตาม มาตรา 1588

แม้จะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์มาก่อน โดยศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องคัดค้านการเป็นผู้อนุบาลของผู้ร้องได้ เพราะมิใช่คดีร้องซ้อน

ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ไต่สวนใหม่

✅ เหตุผลที่ศาลวินิจฉัย

คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสาม ไม่ใช่การร้องซ้อน และ ไม่ใช่คำร้องที่ยื่นพ้นกำหนดเวลา

เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดียังไม่มีการไต่สวนพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายครบถ้วน และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ร้องที่อาจขัดต่อมาตรา 1587

จึงจำเป็นต้องไต่สวนใหม่ให้ครบถ้วนก่อน เพื่อวินิจฉัยว่าจะเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลหรือไม่

การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

📌 สรุป:
การเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล สามารถกระทำได้แม้หลังจากมีคำสั่งตั้งแล้ว หากภายหลังปรากฏว่าผู้อนุบาลขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือเฉพาะเหตุในมาตรา 1598/8 เท่านั้น ศาลอาจพิจารณาเพิกถอนคำสั่งโดยอาศัยมาตรา 1588 ได้ การยื่นคำร้องของผู้คัดค้านจึงไม่ใช่การร้องซ้อน และศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยชอบ

📞 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่
🌐 www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

***********************************

ทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ทางพิพาท

หัวข้อ: ทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ทางพิพาท

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 4723/2538

แยกข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และดุลพินิจของศาล

ข้อเท็จจริง:

ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในซอยพานิชอนันต์ ซึ่งประชาชนใช้เป็นทางผ่านมายาวนานกว่า 10 ปี

ลักษณะของถนนซอยนี้เชื่อมโยงกับทางสาธารณะอื่น ๆ โดยรอบ

ไม่มีการหวงห้ามหรือจำกัดสิทธิในการใช้ทางจากเจ้าของที่ดินเดิม

โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวหาว่าใช้ทางพิพาทเป็นการละเมิด และเรียกค่าเสียหาย พร้อมทั้งขอให้ห้ามใช้ทาง

ข้อกฎหมาย:

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาและหลักกฎหมายทั่วไป "ทางสาธารณะ" อาจมีได้สองลักษณะ

ทางที่เจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นสาธารณะ

ทางที่ประชาชนใช้สอยโดยไม่มีการหวงห้ามเป็นระยะเวลายาวนาน จนเข้า "ลักษณะทางสาธารณะโดยปริยาย"

หากทางพิพาทถือเป็นทางสาธารณะแล้ว ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเข้าใช้ได้

ดุลพินิจของศาล:

ศาลวินิจฉัยว่าทางพิพาทนี้ ได้ถูกใช้โดยประชาชนทั่วไปมาอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 10 ปี และไม่มีการหวงห้ามจากเจ้าของ จึงถือว่าเป็น "ทางสาธารณะโดยปริยาย"

เมื่อถือว่าเป็นทางสาธารณะแล้ว จำเลยในฐานะประชาชนทั่วไป มีสิทธิใช้ทางโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทได้

วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา โดยทนายภูวงษ์ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ โทร. 081-893-4097

คดีนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้เจ้าของที่ดินจะไม่เคยอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะอย่างชัดเจน แต่หากประชาชนใช้ทางนั้นโดยเปิดเผยต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีการห้ามจากเจ้าของ ก็อาจเกิดสิทธิในการใช้ทางสาธารณะโดยปริยายได้ ซึ่งศาลให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าวแก่ประชาชน และปฏิเสธการฟ้องของเจ้าของเดิมที่พยายามจำกัดการใช้ทางดังกล่าว

📌 หากท่านหรือบุคคลที่ท่านรู้จักประสบปัญหาในลักษณะนี้ ติดต่อ ทนายภูวงษ์ 081-803-4097 เพื่อขอคำปรึกษากฎหมายและคดีความ
ค้นหาโพสต์ทั้งหมดได้ที่ www.สู้คดี.com และ www.ทนายภูวงษ์.com

************************************











การตั้งค่าคุกกี้
X
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)